ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 29' 1.2271"
19.48367419465855
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 52' 21.4665"
100.87262957464043
เลขที่ : 110359
บ้านห้วยสะแตง หมู่ที่ ๒ ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน
เสนอโดย สนง.วธจ.น่าน(ทุ่งช้าง) วันที่ 27 สิงหาคม 2554
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 28 มีนาคม 2555
จังหวัด : น่าน
0 756
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

ประวัติหมู่บ้าน ความเป็นมาของหมู่บ้านห้วยสะแตงในอดีตอพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งข้ามฝั่งโขงมาอาศัยอยู่ที่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และได้แยกย้ายอพยพลงมาเรื่อยๆ ซึ่งมาด้วยกันหลายหมู่ เช่น บ้านน้ำปาน บ้านใหม่ชายแดน บ้านห้วยสะแตง ได้มาพบแหล่งที่อยู่อันอุดมสมบูรณ์ที่ขุนน้ำน่าน โดยการนำของแสนกันทะ ซึ่งปักหลักอยู่กี่ปียังไม่ทราบแน่ชัด เป็นเพียงแต่คำบอกเล่าโดยไม่ได้บันทึกไว้ เป็นหลักฐานเพราะในอดีตไม่รู้หนังสือ อาศัยการจำและการบอกเล่าต่อๆกันมา จากนั้นก็ได้อพยพต่อลงมาอีก โดยอพยพลงมาอยู่ที่บ้านห้วยไคร้ ทำไร่เลื่อนลอยลงมาเรื่อยๆจนมาอยู่ที่บ้านบวกหลวง(ปัจจุบันอยู่เหนือบ้านน้ำลาดเก่า)หลังจากนั้นก็แบ่งออกเป็น ๓ หมู่เหล่า ดังนี้

หมู่ที่ ๑ คือ หมู่บ้านน้ำน่านเหนือหรือบ้านสบห้วยสะนาว(ปัจจุบันอยู่เหนือบ้านปอน) โดยการนำของแสนไหม ต่อมาได้อพยพลงมาอยู่บ้านห้วยสวนเมี้ยงหรือบ้านห้วยส้มป่อย ต่อมาย้ายกลับไปอยู่บ้านน้ำปาง (ปัจจุบันอยู่บนบ้านน้ำเลียง ตำบลปอน) แล้วอพยพกลับมาอยู่บ้านห้วยสะแตง โดยการนำของแสนใจ ซึ่งปัจจุบัน คือ ตอนเหนือของหมู่บ้าน

หมู่ที่ ๒ คือ หมู่บ้านที่แตกจากบ้านบวกหลวง โดยการนำของแสนปัน โดยพาลูกบ้านมาอยู่ที่บ้านห้วยข้าวหลาม หรือห้วยเฮี้ย(อยู่ตอนเหนือของบ้านภูคำในปัจจุบัน) ต่อจากนั้นได้อพยพมาอยู่บ้านปลากั้ง(อบเลิน ปัจจุบันเป็นสวนส้มของชาวบ้าน) โดยการนำของแสนสุน แล้วอพยพย้ายลงมาก่อตั้งบ้านทีบริเวณโรงเรียนบ้านห้วยสะแตงในปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๙

หมู่ที่ ๓ คือ หมู่ที่แตกจากบ้านบวกหลวง ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านห้วยตาด(ปัจจุบันเป็นสวนส้มของนายคำปัน แปงคำใส) โดยการนำของแสนนาง (บิดานายตัก แปงคำใส) และได้ย้ายต่อไปอีกที่บ้านห้วยโป่ง หลังจากแสนนางได้เสียชีวิตลง ก็อพยพมาอยู่ที่ห้วยงูเหลือม โดยการนำของแสนแหว ซึ่งในอดีตหมู่คนจะไม่มีลูกบ้านเป็นหลักเป็นแหล่ง ชอบอพยพย้ายที่ไปเรื่อยๆ พอสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๑ หมดยุคของแสนแหวเสียชีวิตแสนเสย(ผู้ใหญ่เสย แปงคำใส) ได้ทำหน้าที่แทน จึงมีความคิดจะพยายามรวบรวมลูกหลานของชนเผ่าขมุ ทั้ง ๓ หมู่เหล่าเข้าด้วยกันแล้วย้ายหมู่บ้านจากบริเวณโรงเรียนปัจจุบันข้ามลำห้วยมาอยู่ หมู่บ้านในปัจจุบัน คือ จากขุนน้ำน่านเหนือ สันนิษฐานว่าคงเป็นต้นนามสกุลอยู่นาน ในปัจจุบัน จากบ้านห้วยส้มป่อยไปอยู่น้ำปางเหนือ โดยการนำของแสนใจ สันนิษฐานว่าคงเป็นต้นสกุล นาเพ็ญ ในปัจจุบัน จากบ้านห้วยตาดโดยการนำของแสนแหว สันนิษฐานว่าคงเป็นนามสกุล แปงคำใส ในปัจจุบัน

กลุ่มที่ ๑ นามสกุล อยู่นาน อยู่ทางด้านบนเนินของหมู่บ้านในปัจจุบัน

กลุ่มที่ ๒ นามสกุล นาเพ็ญ อยู่ตอนเหนือของหมู่บ้านปัจจุบัน

กลุ่มที่ ๓ นามสกุล แปงคำใส อยู่ตอนกลางและท้ายหมู่บ้าน ซึ่งมาจากบริเวณโรงเรียนและห้วยตาดมาสปัจจุบันคนจึงมากขึ้น ในอดีตเมื่อรวมหมู่เข้าด้วยกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้วโดยการนำของแสนเสย ได้มีการพัฒนาหมู่บ้านของตนเองตามนโยบายของรัฐตามมีตามเกิด ในสมัยอดีตที่ผ่านมาหมู่บ้านห้วยสะแตงเดิมมีความรัก ความสามัคคีกันมาก โดยการนำของแสนเสย ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ - ๒๕๑๖ เป็นระยะที่พัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบัน โดยการนำของผู้ใหญ่ชาย แปงคำใส ได้รับการพัฒนาจาก ส่วนราชการของรัฐบาล มีการจัดตั้งหมู่บ้าน โรงเรียนตามมาด้วย

เหตุผลที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านห้วยสะแตง ชื่อหมู่บ้านของชนเผ่าขมุส่วนมากจะเรียกว่า อมแตง เดิมจะเขียนเป็นภาษาไทยว่า แสตง บางคน อ่านว่า แส-ตง ตอนหลังคณะกรรมการโรงเรียน เห็นว่าสมควรเปลี่ยนให้เพิ่มสระอะไปด้วยเป็น สะแตง บ้านห้วยสะแตง ชาวบ้านปลูกไร่แตงเยอะ และแตงนี้กรอบอร่อย ชาวบ้านนำไปแลกเกลือ หรือข้าวของในอดีต ที่หมู่บ้านใกล้เคียง เช่นบ้านงอบ จึงทำให้ขนานนามหมู่บ้าน ว่า”บ้านสะแตง” อีกสาเหตุหนึ่งก็คือหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ ลำน้ำห้วย จึงเรียกว่า”บ้านห้วยสะแตง”

สภาพภูมิศาสตร์

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลปอน

ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านภูคำ

ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านงอบใต้และบ้านใต้ร่มโพธิ์ทอง

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประชากร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนาทำไร่ ทำสวน รับจ้าง และทำหัตถกรรมในครัวเรือน เช่น จักสารไม้ไผ่ เป็นชุมชนเผ่าขมุ มีโรงเรียนประถมศึกษา ๑ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านห้วยสะแตง

ามสกุลที่ใช้ในหมู่บ้าน ใช้กันมาก ได้แก่ ๑. แปงคำใส
๒. อยู่นาน ๓. นาเพ็ญ ๔. เทพจันตา ๕. อินทะรังษี

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
บ้านห้วยสะแตง
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล งอบ อำเภอ ทุ่งช้าง จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมตำบลงอบ
อำเภอ ทุ่งช้าง จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55130
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่