ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 34' 12"
12.57000
ลองจิจูด (แวง) : E 099° 57' 28.584"
099.95794
เลขที่ : 114722
หลวงปู่นาค วัดหัวหิน
เสนอโดย - วันที่ 20 กันยายน 2554
อนุมัติโดย ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 11 มิถุนายน 2555
จังหวัด : ประจวบคีรีขันธ์
0 1253
รายละเอียด

พระครูวิริยาธิการี (บุญนาค) “ปุญญนาโค” หรือหลวงปู่นาค เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดหัวหิน เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เลื่องชื่อ องค์หนึ่งของไทย สิ่งที่สร้างชื่อให้หลวงปู่นาคมากที่สุด เรื่องวัตถุมงคล มีหลายชนิด เช่น เหรียญ ล็อกเกต ขี้ผึ้ง ตะกรุดสามกษัตริย์ ผ้าเช็ดหน้าสีขาว ผ้าประเจียดสีแดง ส่วนที่นิยมและแพร่หลายมากที่สุด คือ พระเนื้อผง ลักษณะผงน้ำมัน ที่นิยมเรียกขานว่า พระวัดมฤคทายวัน พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทางเมตตามหานิยม

เมื่อปี 2466 รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้สร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ที่หาดชายทะเล อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้หลวงปู่นาค สร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึก โดยนิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในแถบเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ มาร่วมพิธีอย่างคับคั่ง พระที่สร้างประกอบด้วย พิมพ์ปรกโพธิ์ นางกวัก พระพุทธชินราช สมเด็จ 7 ชั้น พระศรีอาริยเมตไตรย์ (ปางป่าเลไลยก์)

ประวัติของหลวงปู่นาค

เกิด วันอาทิตย์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง พ.ศ.2400 ณ บ้านลัดโพ อำเภอคลองกระแซง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของนายพ่วง นางสุ่ม

บรรพชา อายุ 19 ปี ณ วัดหลังป้อม

อุปสมบท ครั้งแรก อายุ 21 ปี พ.ศ.2421 ครั้งที่สอง พ.ศ.2435 ณ วัดโตนดหลวง

มรณภาพ วันที่ 4 กรกฎาคม 2472

รวมสิริอายุ 77 ปี 42 พรรษา

สถานที่ตั้ง
วัดหัวหิน
ถนน พูนสุข
ตำบล หัวหิน อำเภอ หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อที่ทำงาน กระทรวงวัฒนธรรม
เลขที่ 1 ถนน ถนนบรมราชชนนี
ตำบล บางบำหรุ อำเภอ เขตบางพลัด จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10700
โทรศัพท์ 1765
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่