สิ่งที่เคารพนับถือของชาวสุราษฎร์ธานีและคนที่มาอยู่อาศัยที่นี่นั้นคือศาล หลักเมืองนั้นเอง ศาลหลักเมืองใหม่นี้เพิ่งสร้างเมื่อไม่นาน คือวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ซึ่งศาลหลักเมืองนี้มีสถาปัตยกรรมศรีวิชัย ที่สวยงาม ที่นี่มีร่อยรอยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันยาวนาน และอาจจะเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ตอนบนในยุคโบราณอีกด้วย ถ้าผ่านมาในช่วงกลางคืนจะสังเกตพบว่าสีสันของตัวศาลหลักเมืองจะเปลี่ยนไปสี ประจำวันนั้นๆ ด้วย ไม่เชื่อก็ต้องแวะไปดูกันแล้วละครับ ศาลหลักเมือง ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานีกับสถาปัตยกรรมศรีวิชัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยมีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน และ มีแนวโน้มว่าในอนาคตดินแดนแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจในบริเวณภาคใต้ตอนบน การก่อสร้างศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชสักการะและเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และเพื่อความเป็นศิริมงคล เป็นหลักชัยละมิ่งขวัญรวมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะช่างจากกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง ตามศิลปกรรมศรีวิชัยด้วยการเน้นรูปลักษณ์ที่เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเดิมที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ลังกา ชวา และ เขมรสมกลมกลืนกัน เพื่อแสดงถึงความแข็งแรงมั่นคงและเป็นปึกแผ่น องค์หลักเมืองประกอบด้วยยอดเสาหลักเมืองบรรจงแกะสลักจากไม้ราชพฤกษ์ เป็นพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสี่หน้า หันพระพักตร์ไปทั้งสี่ทิศเหมือนการแกะสลักพระพรหมสี่หน้าไว้ตามยอดหลักเมืองทั่วๆไป และตรงมวยมวยพระเกศาสลักเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ พร้อมกับลงรักปิดทองอย่างวิจิตรสวยงาม ส่วนตัวเสาหลักเมืองเกาะสลักจากไม้ราชพฤกษ์เช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นเสากลมโตมีลักษณะสูง 108 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้ว สำหรับรูปทรงของศาลนั้นได้สร้างเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรมุขย่อมุม มณฑปสร้างเป็นเจดีย์องค์ประธาน มียอดฉัตร 5 ชั้น ถัดลงมาเป็นหลังคาซ้อนเป็นชั้นมณฑปลดหลั่นลงมาจำนวน 4 ชั้น แต่ละชั้นมีเจดีย์องค์บริวาร หลังคามีฐานสี่เหลี่ยมขนาดสูง 5.10 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นแบบศรีวิชัย ทาสีทอง ปั้นก่อบัวลวดลายบนกลีบขนุนทั้ง 4 ด้าน และได้อัญเชิญเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ฉลองราชสมบัติครบ 50 พรรษา ประดับไว้ทั้ง 4 ด้าน 1. ร่องรอยแห่งประวัติศาสตร์ศรีวิชัย ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี ซึ่งได้ทรงศึกษาเรื่องทิศทางของลมในจดหมายเหตุจีนและสภาพภูมิศาสตร์ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วนำไปเปรียบเทียบกับบันทึกการเดินทางไปสืบพุทธศาสนาตามบันทึกการเดินทางของภิกษุ อี้จิง แล้วทรงสรุปว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยควรจะอยู่ที่เมืองโบราณไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย 2. สถาปัตยกรรมศรีวิชัย วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร พระบรมธาตุเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองชาวสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเวียง ห่างจากอำเภอไชยา 1 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าสร้างตั้งแต่สมัยทวารวดี ระหว่าง พ.ศ. 1000-1200 ยอดบริวารสี่มุมคือสัญลักษณ์อริยสัจสี่ ยอดบริวารมีสามรอบ รอบละแปดยอด คือ สัญลักษณ์มรรคมีองค์แปด ยอดพระบรมธาตุหุ้มทองคำ คือ สัญลักษณ์ “นิพานธรรม” 3. นิพพานธรรมในศิลปากรรมศรีวิชัย นายชัยวัฒน์ วรรณานนท์ อาจารย์พิเศษภาควิชาศิลปศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฎสุราษฎร์ธานี กล่าวถึง สถาปัตยกรรมศรีวิชัยว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดจากคติธรรมความเชื่อทางพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ที่เคยเจริญรุ่งเรืองในดินแดนอาณาจักรแห่งนี้มาก่อน การก่อสร้างองค์เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และ พระสารีริกธาตุ อย่างเช่น พระบรมธาตุไชยา จะประกอบด้วยองค์เจดีย์ประธาน และแวดล้อมด้วยองค์เจดีย์บริวารน้อยใหญ่ ลดหลั่งลงมา อันหมายถึงการแสดงความเครารพบูชาต่อองค์พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ รวมทั้งองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่กำลังรอการปรินิพพานเป็นองค์สุดท้ายหลังจากที่ได้ใช้ความเพียรพยายามและความเมตตาโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ให้หลุดพ้นความทุกข์ทั้งปวงจนหมดสิ้นแล้ว ภายในยอดเจดีย์ แต่ละองค์จะออกแบบก่อสร้างให้โปร่ง สูง เรียง จากฐานจนถึงยอดสุดที่จะต่อเชื่อเป็นฉัตร 5 ชั้น จะไม่ใช้วัตถุใดๆ มาปิดทับเป็นเพดานตรงบริเวณภายในยอดเจดีย์ อันหมายถึงความเพียรพยายามที่จะปฎิบัติธรรม เพื่อบรรลุถึงซึ่งนิพพานธรรม 4. พรหมวิหาร 4 ธรรมแห่งการครองเมือง เจดีย์บริวาร 4 องค์ ที่ก่อสร้างจากฐานสุดจะหมายถึงพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ในความหมายทางลัทธิศาสนาพราหมณ์ จะหมายถึงพระพรหม ที่นำมาออกแบบเป็นประติมากรรมสลักไว้บริเวณยอดเสาหลักเมืองทั้ง 4 ทิศ ประวัติความเป็นมาไม้มงคลหลักเมือง ความเป็นมา เมืองประมาณปี พ.ศ. 2400 นายแสง พิมลศรี ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านท่าทองใหม่ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นปู่ทวดของนางชม รำเพย ได้มาบุกเบิกป่าใหญ่ชายคลองพุมดวง บริเวณบ้านหาดหอยคล้า ปัจจุบันตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ทำกินพร้อมทั้งนำต้นราชพฤษ์มาปลูกในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ต่อมานายแสง พิมลศรี ซึ่งมีบุตรจำนวน 6 คน ได้มอบที่ดินแปลงนี้อยู่ในความรู้แลของนายช้วย พิมลศรี บุตรชาย ซึ่งต่อมาย้ายครอบครัวไปอยู่ที่อื่นและนายเอม ( ไม่ทราบนามสกุล ) ซึ่งเป็นหลานของนายแสง พิมลศรี ได้เข้ามาจับจองที่ดินแปลงนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2450 ต่อมานายเอมได้ขายที่ดินแปลงนี้ แก่นายหวาน – นางเหมือน รำเพย บ้านเดิมอยู่ บ้านพรุสยาม ( ปัจจุบันอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลพรุไทย อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็นเงินจำนวน 10 บาท นายหวาน – นางเหมือน รำเพย มีบุตร 3 คน คือ นายเคว็ด รำเพย นายเพิง รำเพย และ นางเมื้อง รำเพย และต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2469 ได้แงที่ดินให้อยู่ในการดูแลของนายเพิง – นางชม รำเพย บุตรชาย ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านยาสมุนไพรได้ดูแลต้นราชพฤษ์นี้ไว้เพื่ออนำฝักราชพฤษ์ มาสกัดเป็นยาสมุนไพรขนานต่างๆ ตลอดมา ปี พ.ศ. 2537 ผู้ใหญ่พูนศรี รำเพย ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งป็นบุตรนายเพิง รำเพย ได้มีโอกาสต้อนรับคณะผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ออกตรวจราชการ โดยมีนายประยูร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายธีระ โรจนพรพันธุ์ ปลัดจังหวัด และนายธนพล อันติมานนท์ จ่าจังหวัด ณ ศาลาประชาคม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธนพล อันติมานนท์ ได้สอบถามผู้ใหญ่พูนศรี รำเพย เกี่ยวกับต้นราชพฤษ์ที่ลักษณะถูกต้องสำหรับนำไปทำเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ซึ่งนายพูนศรี รำเพย ได้แนะนำต้นราชพฤษ์ของนายเพิง รำเพย บ้านหาดหอยคล้า บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลเขาวง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายประยูร พรหมพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรการฝ่ายจัดหาเสาหลักเมืองฯ โดยมี นายโสภณ สวัสดิโภชา รองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ และ นายณรงค์ ขำหิรัญ ป่าไม้จังหวัดแล้ว นายประยูร พรหมพันธุ์ นายธีระ โรจนพรพันธุ์ นายธนพล อันติมานนท์ และคณะได้ไปตรวจดูความ สมบูรณ์ ของต้นราชพฤษ์ดังกล่าวเห็นว่าเป็นต้นไม้ที่มีคุณลักษณะถูกต้องตามธรรมเนียมนิยมที่จะนำไม้มาทำเสาหลักเมืองสุราษฎร์ธานี วันที่ 30 มกราคม 2539 ทางจังหวัดได้ทำพิธีบวงสรวงต้น และราชพฤษ์ และทำพิธีตัดโค่นในวันดังกล่าวและนำไปแกะสลักที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยนายพรชัย วัฒนวิกย์กิจ ช่างผู้เชี่ยวชาญการแกะสลักของท้องถิ่น การดำเนินการจัดทำเสาหลักเมืองครั้งนี้สร้างความปิติยินดีแก่ครอบครัวและญาติพี่น้องของ นายเพิง – นางชม รำเพย ตลอดจนข้าราชการและประชาชนอำเภอบ้านตาขุนเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการจัดตั้งศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ตัวองค์ศาลฯ เป็นสถาปัตยกรรมศรีวิชัย โดยนำเค้าโครงของเจดีย์วัดพระบรมธาตุไชยา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางศิลปกรรมมาเป็นแม่แบบขององค์ศาลฯ โดยประกอบด้วยเจดีย์ประธาน เป็นรูปทรงระฆังคว่ำ และ เจดีย์บริวารทรงระฆังคว่ำขนาดเล็ก 4 มุมลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ อีก 2 ชั้น มุมฐานเจดีย์ทั้ง 4 มุม ตกแต่งด้วนลวดลายปูนปั้นพญานาค ถัดลงมาเป็นตัวองค์ศาลฯ มีขนาดภายใน กว้าง 6.00 x 6.00เมตร ทางเข้าองค์ศาลฯ ทำเป็นซุ้มจตุรมุข หลังคาซุ้มจตุรมุข ลวดลายปูนปั้นเป็นรูปราหูอมจันทร์ประดับพื้นกระจกเล็กๆ ทำให้เกิดความระยิบระยับขึ้นกับตัวองค์ศาลฯ เมื่อกระทบกับแสงส่วนหน้าบันย่อยที่อยู่บนชั้นถัดขึ้นไปและใบระกาตกแต่งด้วนลวดลายปูนปั้นทั้งหมดโดยบรรจุตราเฉลิมพระชนมพรรษาครบรอบ 72 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้เพื่อเป็นศิริมงคลกับองค์ศาลหลักเมือง โดยรวมแล้วตัวองค์ศาลฯ ตกแต่งด้วยปูนปั้นฉาบปูนเรียบทั้งองค์ฯ ฐานปัทม์ล่างทาด้วยสีน้ำตาล รายละเอียดการตกแต่งภายในองค์ศาลหลักเมือง ภายในองค์ศาล ตกแต่งผนัง และ พื้นด้วยหินอ่อนสีครีม ฝ้าเพดานภายในเป็นไม้สักประกอบ คิ้วบัว ลงรักปิดทองออกแบบเป็น 2 ชั้น ส่วนฝ้าเพดานซุ้มประตูทางเข้าก็เป็นไม้สักประกอบดด้วยคิ้วบัวลงรักปิดทอง เช่นกัน ภายในประดับด้วยโคมไฟระย้าตรงกลาง และ โครงไฟเพดารโดยรอบ เสาหลักเมือง แกะสลักด้วยไม้ราชพฤกษ์ ซึ้งเป็นไม้มงคล ส่วนยอดเป็นรูปสลักพรหมสี่หน้า ลงรักปิดทองล้อมรอบด้วยเสาหลักเมืองจำลอง 4 เสา ตั้งอยู่บนฐานแกรนิตสีดำ รับเสาหลักเมืองโดยปั้นลวดลายชั้นแรกบนฐาน 8 เหลี่ยม เป็นรูปช้างอยู่ในซุ้ม ขนาด 8 ตัว ลงรักปิดทอง ชั้นที่ 2 ปั้นลวดลายเป็นรูปบัวเล็บช้างลงรักปิดทองประตูทางเข้าภายในองค์ศาลฯ เป็นบานคู่ทำด้วยกระจกสลักเป็นลวดลายรูปยักษี กับยักษา ยืนเฝ้าหน้าประตู เข้า – ออก ด้วยสีสันที่สดใสทีเดียว อีกทั้งช่องแสงรอบองค์ศาลฯ กระจกสลักลวดลาย และ สีสันที่ดูสดใสเช่นกัน สภาพภูมิทัศน์โดยรอบศาลหลักเมือง องค์ศาลหลักเมืองจะมีความโดดเด่นมาก เพราะตั้งอยู่ใจกลางของสนามหญ้าที่เขียวขจี และ หมู่ไม้ประดับตกแต่งโดยรอบ เหมือนวางอยู่บนพื้นพรม บนเนื้อที่ 7 ไร่ มีถนนรอบบริเวณถึง 4 ด้านสามารถมองเห็นองค์ศาลฯ ได้สวยงามทุกด้าน พื้นที่โดยรอบขององค์ศาลฯ ทำเป็นพื้นลาน 2 ระดับ ก่อนที่จะเข้าสู่องค์ศาลหลักเมืองจากระดับพื้นทางเดินชั้นล่างโดยรอบ ( ระดับ 0.45 ) ทำเป็นกำแพงกันดินลาดเอียงผิวบุด้วยหินแกรนิตสีเทา ขึ้นสู่พื้นลาน ชั้นแรก ( ระดับ +1.45 ) ถูกจัดตกแต่งให้เป็นสนามหญ้าทั้งหมด เหลือเป็นทางเดินขึ้นสู่พื้นลาน ชั้นที่ 2 ( ระดับ+2.45 ) ซึ่งปูพื้นลานด้วยกระเบื้องแกรมนิตสีขาวครีม ล้อมรอบพื้นลานด้วยกะบะปลูกต้นไม้ ขอบแต่งด้วยบัว โคมไฟสนามรูปหงส์สีทอง