ที่มาของอาหาร
หยวกกล้วยหรือต้นกล้วย คือใจกลางต้นกล้วยที่ยังอ่อนอยู่ คนโบราณมักนำหยวกกล้วยมาประกอบอาหารด้วยการแกง โดยเห็นความสำคัญของหยวกกล้วย เพราะเชื่อว่าน่าจะรับประทานได้ นับแต่นั้นมา แกงหยวกกล้วยจึงเป็นที่นิยมและทำาตามงานต่างๆ เช่น งานบุญ งานบวช หรือเทศกาลต่าง ๆ แต่มีข้อยกเว้นคือไม่นิยมทำงานศพ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วยังคงมีเยื่อใยต่อกัน เหมือนใยของหยวกกล้วย และจะทำให้ญาติที่ยังมีชีวิตเสียชีวิตต่อๆ กัน
เครื่องปรุง/ส่วนผสม
๑. หยวกกล้วย
๒. พริกแห้ง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด
๓. กะปิ
๔. กะทิ
๕. ชะอม
๖. หอยแมลงภู่ตากแห้ง หรือหมูย่าง
๗. น้ำปลา
ขั้นตอน/วิธีทำ
๑. หั่นหยวกกล้วยเป็นชิ้นเล็ก ๆ พอคำ
๒. ปั่นหยวกกล้วยที่หั่นแล้วด้วยไม้ที่มีปลายคล้ายไม้กางเขน เพื่อเอาใยกล้วยออก
๓. ล้างหยวกกล้วย
๔. ตำาพริกแห้ง กระเทียม ข่า ตะไคร้ กะปิ ผิวมะกรูด ให้ละเอียด
๕. เคี่ยวกะทิ
๖. ใส่เครื่องแกงที่ตำไว้
๗. เคี่ยวกะทิกับเครื่องแกงพอประมาณแล้วใส่หยวกกล้วย
๘. ใส่หอยแมลงภู่แห้งหรือหมูย่าง
๙. ปรุงรสด้วยน้ำปลา
๑๐.ใส่ชะอม