ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 36' 0.3802"
17.6001056
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 3' 3.3905"
100.0509418
เลขที่ : 118157
ข้าวแคบหวาน
เสนอโดย นางนราพร ชื่นศรีสว่าง วันที่ 10 พฤศจิกายน 2554
อนุมัติโดย อุตรดิตถ์ วันที่ 2 เมษายน 2563
จังหวัด : อุตรดิตถ์
0 504
รายละเอียด

ข้าวแคบนั้นเรียกตามลักษณะของปากหม้อที่ทำข้าวแคบตอนไล้แป้งซึ่งมีลักษณะแคบ ลักษณะของทาง ทุ่งยั้งเป็นข้าวแคบงา” รสชาติออกเค็ม มีส่วนผสมแค่แป้ง เกลือ และงาดำเท่านั้น เวลาจะรับประทาน ข้าวแคบ จะนำไปปิ้งไฟข้าวแคบเป็นทั้งอาหารคาวและอาหารหวานของชาวล้านนาที่ทำจากแป้งนึ่งเป็น แผ่นบาง ๆ แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง เมื่อแห้งดีแล้วก็จะนำไปรับประทานด้วยการปิ้งหรือทอด

ข้าวแคบ เป็นอาหารพื้นเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยโบราณ ซึ่งมีมานานหลายชั่วอายุคน ในการถนอมอาหารให้สามารถเก็บไว้ได้นาน สมัยโบราณใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ พันด้วยข้าวแคบ ม้วนให้สะดวกกัดกินเป็นคำ เป็นอาหารหรือข้าวสำหรับพกพาไปทำไรไถ่นา สะดวกสบายในการนำติดตัวออกไปกินระหว่างวัน เมื่อต้องเดินทางไปนอกบ้านไกล ๆ และที่เรียกว่าข้าวแคบนั้นเรียกตามลักษณะของปากหม้อที่ทำข้าวแคบ ตอนไล้แป้งซึ่งมีลักษณะแคบ แต่เดิมนั้นข้าวแคบมี ๒ ลักษณะคือ “ข้าวแคบธรรมดาและ ข้าวแคบงา” รสชาติออกเค็ม มีส่วนผสมแค่แป้ง เกลือ และงาดำเท่านั้น

ปัจจุบันข้าวแคบมีทั้งแบบแผ่นแป้งเปล่า ๆ แบบรสเผ็ด รสไม่เผ็ด แบบใส่งาดำ แบบใส่พริกขี้หนูโขลก แบบหวานพริกสด และแบบพริกผสมกุ้ง ข้าวแคบสามารถนำไปทานได้หลากหลายแบบ ทั้งฉีกกินเปล่า ๆ จิ้มกับน้ำจิ้ม น้ำพริก หรือกินกับเส้นหมี่คลุกหรือเส้นหมี่ยำ ที่เรียกว่าหมี่พันลับแลนั่นเอง หมี่พันเป็นอาหารพื้นถิ่นอีกชนิดหนึ่งของคนลับแล ที่ต่อยอดมาจากข้าวแคบ โดยนำหมี่คลุกมาวางบนแผ่นข้าวแคบแล้วม้วนก็จะได้หมี่พัน

เมื่อเวลาผ่านไป การทำข้าวแคบ หรือ หมี่พัน ที่ทำกินกันเฉพาะในครัวเรือน ก็มีการต่อยอดเป็นการค้า ทำให้เกิดการดัดแปลงสูตรการทำข้าวแคบหรือหมี่พันธรรมดาให้มีรสชาติมากขึ้น

สถานที่ตั้ง
ซอย - ถนน -
ตำบล ศรีพนมมาศ อำเภอ ลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
ซอย - ถนน -
ตำบล ศรีพนมมาศ อำเภอ ลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่