ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 9' 51.7108"
8.1643641
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 40' 48.7974"
99.6802215
เลขที่ : 118416
พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554
อนุมัติโดย mculture วันที่ 25 มีนาคม 2559
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 2473
รายละเอียด

ลักษณะของถ้ำตลอดหันหน้าไปทางทิศเหนือ และสามารถเดินทะลุได้ เมื่อเข้าไปภายในถ้ำ จะรู้สึกเย็น ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางไสยาสน์สวยงาม 1 องค์ ความยาว 11 เมตร หันเศียรไปทางทิศใต้ตามส่วนลึกของถ้ำ พระบาทหันไปทางปากถ้ำ ทั้งยังมีพระพุทธรูปเท่าองค์จริงประดิษฐานเรียงรายไปกับผนังถ้ำทางด้านทิศตะวันตกจนสุดถ้ำ ผนังถ้ำทั้งสองด้านเป็น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือของครูแนบ ทิชินพงศ์ ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมสาขาจิตรกรรม ประจำปี 2534 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกลางปากทางเข้าถ้ำมีสิงห์โตแกะสลักจากหินขนาดใหญ่ดูโดดเด่นสวยงาม ด้านข้างปากถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดต่าง ๆ และเจดีย์ ฯลฯ

บริเวณภายนอกถ้ำมีพระพุทธรูปเหมือน อันเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนภาคใต้ ได้แก่พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดธาตุน้อย, หลวงปู่คลิ้ง วัดถลุงทอง, พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง, หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ และหลวงปู่เขียว วัดหรงบน ประดิษฐานอยู่ทั่วบริเวณ

พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน วัดพระธาตุน้อย พระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย"ประวัติพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์เทวดาเมืองคอนวัตถุมงคลพ่อท่านคล้าย
พระครูพิศิษฐ์อรรถการหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์"นามตามสมณศักดิ์ท่านคือ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช
พ่อท่านคล้ายนามเดิมว่า "คล้าย สีนิล" เกิดตรงกับ วันที่27ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด จ.ศ.1238 ร.ศ.95 ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเหนี่ยว สีนิล มีพี่สาว 1 คน ชื่อนางเพ็งเป็นภรรยานายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ ไม่มีบุตรสืบสกุลแต่มีบุตรบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อนายครื้น เพ็ชรฤทธิ์

พ่อท่านคล้าย มีลักษณะนิสัย เป็นคนมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาทคำสั่งสอนของบิดามารดาและครูอาจารย์อย่างเคร่งครัด สุภาพ เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย นิสัยอ่อนโยนละมุนละไม จึงเป็นที่รักของบิดามารดา ครูอาจารย์และญาติมิตรเป็นอันมาก

เมื่ออายุ ๑๕ ปีหลวงพ่อคล้ายประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้า สามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว พ่อท่านคล้ายได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ

ขาของพ่อท่านคล้ายนั้นเสียข้างหนึ่ง คือ ขาด้านซ้ายขาดตั้งแต่ตาตุ่มลงไป (เสียตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดนต้นไม้ทับที่บ้านญาติของท่านที่ จ.กระบี่ ขาเป็นหนองเลยต้องตัดทิ้ง โดยท่านใช้มีดปาดตาลตัดเอง) ท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่แทน

พ่อท่านคล้าย ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2438 (อายุ 19 ปี) บรรพชาที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจันเจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และพ่อท่านสามารถท่อง พระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ

พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ พระเกจินครศรีธรรมราช
ครั้นอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.2439 ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) วัดวังม่วง โดยมีพระอาจารย์กราย คังคสุ วัณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สังข์ สิริรตโน เจ้าอาวาสวัดไม้เรียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ทอง ปทุมสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดวังม่วงเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และมีพระอาจารย์ล้อม ถิรโชโต เป็นผู้ให้สรณคมน์และศีล ได้รับฉายาว่าจันทสุวัณโณแล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี
การศึกษาเบื้องต้น พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้าน โดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม ต่อมาศึกษาต่อในสำนักนายขำ ที่วัดทุ่งปอน บ้านโคกทือ จนจบหลักสูตร ต่อมาได้ไปฝึกหัดเล่นหนังตะลุงกับนายทองสาก ประกอบกับพ่อท่านคล้ายมีหน้าตาดี น้ำเสียงไพเราะ จึงมีคนติดใจการเล่นหนังตะลุงของท่านมาก

ต่อมาปี พ.ศ.2441 พ่อท่านคล้าย ได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระครูกาแก้ว (ศรี) ณ วัดหน้าพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จบหลักสูตรมูล พอแปลบาลีได้ ศึกษาอยู่เป็นเวลา 2 พรรษา

ปี พ.ศ.2443 ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

ปี พ.ศ.2445 พ่อท่านคล้าย ได้กลับมาอยู่จำพรรษาวัดหาดสูง ใกล้ตลาดทานพอ ในสำนักพระครูกราย ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของพ่อท่าน เพื่อศึกษาวิปัสสนาและไสยศาสตร์ โดยเหตุที่พระครูกราย เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาและทรงวิชาคุณทางไสยศาสตร์ในสมัยนั้น

ปี พ.ศ.2447 พ่อท่านคล้าย ได้ไปจำพรรษาที่วัดมะขามเฒ่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาภาลีและอภิธรรมเพิ่มเติม

ปีพ.ศ.2448 พ่อท่านกลับจากวัดมะขามเฒ่า มาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน (จันดี) ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษา ณ ที่ใดก็ตาม ท่านได้ศึกษาค้นคว้าภาษา บาลี วิชาโหราศาสตร์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ติดต่อกันมาโดยมิได้ประมาท ด้านการก่อสร้างก็ได้สร้างใว้ตามวัดต่างๆพอสมควร

สมณศักดิ์พ่อท่านคล้าย
ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย
ตำแหน่ง
- ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณภาพ
- เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อย ใน พ.ศ.๒๕๐๐ เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ประชาชนได้ประชุมตกลงสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้พระครูพิศิษฐ์อรรถการ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว วัดนี้ก็เป็นที่ประดิษฐานสรีระของท่านไว้ในโลงแก้ว

ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนที่เคารพนับถือ ศรัทธาพ่อท่านคล้ายได้เชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย

คนที่ไปนมัสการ"พ่อท่านคล้าย"หวังที่จะได้วัตถุมงคลพระเครื่องบ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด

ประวัติโดยย่อของพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์

พระครูพิสิษฐ์อรรถการ(คล้าย จันทวัณโณ)อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขัน และวัดพระธาตุน้อย จ.นครศรีธรรมราช

พระครูพิสิษฐ์ อรรถการเป็นนามตามสมณศักดิ์ของท่าน หรือที่คนรู้จักกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์”

หลวงพ่อท่านคล้ายมีนามเดิมว่า “คล้าย สีนิล” เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2417 ตรงกับวันอังคารขึ้น 10 ค่ำ เดือน 4 ปี จอ ที่บ้าน โคกทือ หมู่ 10 ต.ช้างกลาง กิ่ง อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ และนางเหนียว สีนิล มีพี่สาวหนึ่งคน ชื่อ นางเพ็ง เป็นภรรยา ของนายซ้าย เพ็ชรฤทธิ์ ไม่มีบุตรสืบสกุล แต่มีบุตรบุญธรรมหนึ่งคน คือ นายครื้น เพ็ชรฤทธิ์ (อ้างอิง จากหนังสือตามรอยพ่อท่านคล้าย)

ลักษณะนิสัยส่วนตัว ตั้งแต่เล็ก เป็นคนมีมานะ อดทน ขยันหมั่นเพียร อยู่ในโอวาสของบิดา มารดา และครูบาอาจารย์ สุภาพอ่อนโยน และเป็นที่รักของคนทั่วไป จนเมื่ออายุได้ 15 ปีประสบอุบัติเหตุในการช่วยบิดาถางป่าทำไร่กระดูกปลายเท้าสามนิ้วแตกละเอียดรักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยวท่านได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตนเองและใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ ต่อมาท่านได้ไปอาศัยอยู่กับญาตที่ จ.กระบี่ และท่านก็ได้ประสบอุบัติเหตุอีกครั้งโดยขาด้านซ้ายถูกต้นไม้ล้มทับตั้งแต่ตาตุ่มลงไปและเป็นหนอง ด้วยความที่ใจเด็ดเดี่ยวของท่าน โดยตัดสินใจใช้มีดปาดตาลตัดขาตนเองเพื่อง่ายต่อการรักษา ต่อจากนั้นท่านเลยต้องใส่กระบอกไม้ไผ่เป็นขาเทียมแทน

เมื่ออายุ 19 ปี พ่อท่านคล้ายก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2438 ที่วัดจันดี ต.หลักช้าง โดยมีพระอาจารย์อธิการจัน เจ้าอาวาสวัดจันดี(วัดทุ่งปอน)เป็นผู้บวชให้ ในระหว่างที่บวชเป็นเณรอยู่ไม่นาน พ่อท่านคล้ายก็สามารถท่องพระปาฏิโมกข์ได้อย่างแม่นยำ และเมื่ออายุครบ 20ปี ท่านจึงได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ อุทกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จันทสุวัณโณ โดยมีพระครู กราย คงคสุวัณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูงเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษาอยู่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี

การศึกษาหลวงพ่อท่านคล้ายเริ่มการศึกษาเบื้องต้นที่บ้านโดยบิดาเป็นผู้สอนวิชาคำนวณและวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญ ทั้งหนังสือไทยและขอม ต่อมาศึกษาที่สำนักนายข่า วัดทุ่งปอน จนจบหลักสูตร แล้วก็ได้ฝึกเล่นหนังตลุงกับนายทองสาก และประกอบกับพ่อท่านคล้ายเป็นคนหน้าตาดีน้ำเสียงไพเราะจึงมีคนติดใจการเล่นของท่านมาก และเมื่อบวชเรียนแล้วท่านก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ภาษาบาลี(มูลกัจจายนะ) ณ สำนักหน้าวัดพระบรมธาตูฯ โดยมีพระกาแก้ว(ครั่ง) เป็นอาจารย์และต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฏฐานที่สำนักวัดสามพัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์ หนู เจ้าอาวาสเป็นผู้สอน

ตำแหน่ง และสมณศักดิ์

หลวงพ่อท่านคล้าย ได้รับพระครูสัญญบัตรชั้นตรีที่ พระครูพิสิษฐ์ อรรถการ ในปี พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษในนามสมณศักดิ์เดิม แต่ประชาชนทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงพ่อท่านคล้าย” เหมือนเดิม

ตำแหน่ง

หลวงพ่อท่านคล้ายได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขันต่อจากพระปลัดคง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกและเป็นศิษย์ของพระครูกรายเช่นกัน ที่ต่อมาลาสิขาบทไป พระครูกรายจึงได้เสนอให้หลวงพ่อท่านคล้ายเป็นเจ้าอาวาสแทนเมื่อปี พ.ศ. 2445 ตลอดมาจนถึงมรณภาพเป็นเวลา 65 ปี สาเหตุที่ชื่อวัดสวนขันเพราะว่าเมื่ออดีตเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท้วมวัดทุกปี ต่อมาชาวบ้านได้ ถวายที่ให้ พร้อมกับลงขันกันสร้างวัดขึ้นมาใหม่ อยู่ทางเหนือคลองคุดด้วน อ.ช้างกลาง จ.นครศรีฯ และหลวงพ่อท่านจึงให้ตั้งชื่อว่า “วัดสวนขัน” ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านอดีตนายก สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นั่นเอง

หลวงพ่อท่านคล้ายได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุน้อย และในปี พ.ศ. 2500 เนื่องจากมีถนนตัดผ่านวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ชาวบ้านแถบนั้นจึงได้ประชุมตกลงกันสร้างวัดใหม่ในเนื้อที่แยกออกไปเรียกว่าวัดพระธาตุน้อยและแต่งตั้งพระครูพิสิษฐ์ อรรถการเป็นเจ้าอาวาส จนเมื่อท่านมรณภาพไปเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2513 เป็นเวลา 13 ปี และเป็นปีที่วัดพระธาตุน้อยได้ก่อสร้าง สำเร็จ

งานด้านศาสนา

หลวงพ่อท่านคล้าย เคยแต่งกลอนกำดัดสอนนาคไว้ฟังว่า

“ ศีลสิบโดยตั้ง รักษาโดยหวัง

องค์ศีลทั่วผอง สองร้อยยี่สิบเจ็ด

สิ้นเสร็จควรตรอง ศีลสิบหม่นหมอง สองร้อยมรณา”

หลวงพ่อท่านคล้ายเป็นผู้นำในการสร้างพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฎิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก เช่น วัดมะปรางงาม ต.ละอาย อ.ฉวาง ต่อมา ปี 2500 ทายาท จึงค่ายท่าย ถวายที่ดินให้ท่าน และสร้างวัดพระธาตุน้อย หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า วัดพ่อท่านคล้าย พ่อท่านคล้ายได้สร้างเจดีย์ไว้หลายองค์ เช่น เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ต.นาแว อ.ฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อ.พิปูน เจดีย์วัดวัดสวนขัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ฯ เจดีย์วัดหน้าถ้ำขมิ้นบนภูเขา อ.นาสาร เป็นต้น

หลวงพ่อท่านคล้ายนับว่าเป็นพระนักพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ ทำงานโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยเดินทางไปพัฒนาในที่ต่างๆสร้างถนน สร้างสะพานมากมายด้วยเมตตาบารมีและความเคารพศรัทธาของศิษย์และประชาชน เช่น

1.สร้างถนนเข้าวัดจันดี

2.ถนนจากตำบลละอายไปอำเภอพิปูน

3.ถนนจากวัดสวนขันไปยังสถานีรถไฟคลองจันดี

4.ถนนระหว่างหมู่บ้านในตำบลละอาย

5.ถนนจากตำบลละอายไปนาแว

6.สะพานข้ามแม่น้ำตาปีจากตลาดทานพอไปนาแว

7.สะพานข้ามคลองเสหลาหน้าวัดมะปรางงาม และสะพานข้ามคลองจันดีเป็นต้น

ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์

ศิษย์ยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปที่เคารพศรัทธาพ่อท่านคล้าย ต่างเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ของวาจาท่าน ท่านพูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น พ่อท่านคล้ายพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา และท่านมักจะพูดให้พรกับทุกคนที่มาหาท่านว่า”ขอให้เป็นสุขเป็นสุข” ดังนั้นผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิของท่าน เพราะพวกที่ถูกตำหนิทุกท่านล้วนแต่พบกับความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพรจากท่านเพราะคำเหล่านั้นล้วนเป็นคำพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดี และเสื่อมเสีย จึงเป็นเหตุของที่มาของนามต่อท้ายว่า “วาจาสิทธิ์”

สถานที่ตั้ง
พุทธสถานถ้ำตลอด เทศบาลทุ่งสง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ราชบริพาร
ตำบล ปากแพรก อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
-
บุคคลอ้างอิง -
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลเมืองทุ่งสง
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ปากแพรก อำเภอ ทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80110
โทรศัพท์ - โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่