ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 38' 25.9015"
15.6405282
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 28' 56.8855"
100.4824682
เลขที่ : 120290
ตำนานอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
เสนอโดย นครสวรรค์ วันที่ 28 ธันวาคม 2554
อนุมัติโดย นครสวรรค์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : นครสวรรค์
0 2007
รายละเอียด

เนื่องจากอำเภอท่าตะโก อยู่ในบริเวณเมืองโบราณสมัยทวาราวดี ชื่อ เมืองดอนคา ตำนานจึงเกี่ยวข้องกับเมืองดอนคา ซึ่งปรากฏในเรื่องตำนานการตั้งชื่อ “จำคานคร” ดังนี้

เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ในละแวกแถบนี้มีเมืองอยู่สามเมือง คือ

เมืองจำคานคร (ดอนคา) หรืออีกชื่อหนึ่งว่าจอมประสาท มีเจ้าชายปราสาททองเป็นเจ้าเมือง เมืองประคำ (อยู่ในเขตอำเภอไพศาลี) มีเจ้าชายจิตเกษมเป็นเจ้าเมือง เมืองไพศาลี (อำเภอไพศาลี) มีท้าวไพศาลเป็นเจ้าเมือง ท้าวไพศาลมีมเหสีชื่อนางสร้อยจำปาและมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่งชื่อสร้อยลัดดา

เจ้าชายประสาททองแห่งเมืองจำคานครและเจ้าชายจิตเกษมแห่งเมืองประคำมี

ความประสงค์ที่จะได้พระนางสร้อยลัดดามาเป็นพระชายา ทั้งคู่จึงส่งทูตไปสู่ขอพระนางสร้อยลัดดาต่อท้าวไพศาล ท้าวไพศาลตัดสินใจไม่ได้จะยกพระราชธิดาให้กับใครดี จึงให้ทั้งสองเมืองแข่งขันกันขุดอ่างน้ำ (บ้านตุ๊กแก) โดยใช้ทหาร จำนวน ๑,๐๐๐ คน

ถึงวันนัดหมายทหารเมืองจำคานครได้ขุดอ่างน้ำแข่งกับทหารเจ้าชายจิตเกษม ณ บริเวณนี้อยู่ห่างจากเมืองจำคานครประมาณ ๖ กิโลเมตรทางด้านตะวันออกของเขาตีคลี (ภูเขาที่บ้านตุ๊กแก) ไพศาลี ไม่เกี่ยวกับอำเภอท่าตะโก เป็นเพียงตำนานของบ้านดอนคาเท่านั้น แต่อำเภอท่าตะโก ก็ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองดอนคา ที่ชื่อว่าท่าตะโก นั้น เพราะที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บริเวณท่าน้ำริมคลองท่าตะโก

สถานที่ตั้ง
อำเภอท่าตะโก
จังหวัด นครสวรรค์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอท่าตะโก
บุคคลอ้างอิง นางอวยพร พัชรมงคลสกุล
ชื่อที่ทำงาน สวจ.นครสวรรค์
เลขที่ 89 หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
อำเภอ เมืองนครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่