ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 10° 23' 56.4608"
10.3990169
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 16' 31.2092"
99.2753359
เลขที่ : 120811
เรือหลวงชุมพร
เสนอโดย Piyapong วันที่ 13 มกราคม 2555
อนุมัติโดย ชุมพร วันที่ 13 มกราคม 2555
จังหวัด : ชุมพร
0 725
รายละเอียด

 เรือหลวงชุมพร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลหาดทรายรี อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร

ประวัติเรือหลวงชุมพร
สมรรถนะและภารกิจของเรือหลวงชุมพร
ประเภท เรือตอร์ปิโด
ระวาง ระวางขับน้ำปกติ ๔๑๓ ตัน
ระวางขับน้ำเต็มที่ ๔๖๐ ตัน
ขนาด ความยาวตลอดลำ ๖๘ เมตร
ความกว้างสูงสุด ๖.๕๕ เมตร สูง ๔.๑ เมตร
กินน้าลึก กินน้ำลึก ๒.๘ เมตร
อาวุธ ตอร์ปิโด ๔๔ ซม. ๔ ท่อ ปืน ๗๕/๕๑ มม. ๒ กระบอก
ปืนแมดเสน ๒๐ มม. ๒ กระบอก ปืน ๔๐/๖๐ มม. ๑ กระบอก
เครื่องจักร เครื่องจักรชนิดกังหันไอน้ำแบบพาร์สัน (ไอเผา ๒ ครั้ง) จำนวน ๒ เครื่อง
ใบจักรคู่ จำนวนรอบจักรสูงสุด ๕๐๐ รอบ/นาที กำลัง ๘,๘๐๐ แรงม้า
ความเร็วสูง ความเร็วสูงสุด ๓๐ นอต ความเร็วมัธยัสถ์ ๑๒ นอต
รัศมีทำการ รัศมีทำการเมื่อความเร็วสูงสุด ๘๖๗ ไมล์
รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์ ๓,๕๓๐ ไมล์
ทหารประจำเรือ ๑๑๒ คน

เรือหลวงชุมพร สั่งต่อที่อู่กันติเอริ ริอูนิติ เดลลัดดริอาติโก ตำบลมองฟัลโกเน เมืองตริเอสเต ประเทศอิตาลี
๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ลงนามสัญญาจ้าง
๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ วางกระดูกงู
๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๙ เรือลงน้ำ
๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ขึ้นระวางประจำการ
๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ ปลดระวางประจำการ

ภารกิจของเรือหลวงชุมพร
เรือหลวงชุมพร นับตั้งแต่ได้ขึ้นระวางประจำการ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ เป็นต้นมาแล้ว เรือหลวงชุมพร ก็มีภารกิจ ที่รับใช้ประเทศชาติตลอดมาจนถึงปลดประจำการ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๘ รวมระยะเวลาประมาณ ๓๗ ปี มีภารกิจทั้งในยามปกติและยามสงคราม พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
๑. ในยามปกติ เรือหลวงชุมพร มีหน้าที่
- ลาดตระเวนคุ้มครองป้องกันอธิปไตยของประเทศทางด้านทะเล นับตั้งแต่ทางด้านจังหวัด ระยอง จันทบุรี และตราด สุดชายแดนตะวันออก เรื่อยมาจนถึงสุดชายแดนใต้ จังหวัดนราธิวาส รวมกับเรือหลวงลำอื่น ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นประจำตลอดมา
- ร่วมทำการเพื่อความพร้อมรบร่วม กับเรือหลวงลำอื่นๆ ตลอดจนเรือรบของต่างประเทศเป็นครั้งคราว
๒. ในยามสงครามหรือเมื่อมีเหตุการณ์ไม่สงบ มีหน้าที่
- ตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราว อาทิเช่น ในคราวเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๔๘๔ นั้นทางราชการได้มีประกาศบรมราชโอการจัดตั้งกองบัญชาการทางทหารสูงสุดขึ้น ตั้งผู้บัญชาทหารสูงสุด ตั้งแม่ทัพบก เรือ อากาศ ตลอดเสนาธิการทั้ง ๓ เหล่าทัพ สำหรับทางด้านกองทัพเรือ ได้มีคำสั่งตั้งกองเรือพิเศษขึ้นเป็นหน่วยทัพเรือ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๓ มีเรือต่าง ที่ใช้ ราชการได้รวมเป็นหน่วยทัพเรือ ซึ่งประกอบด้วยกำลังทางเรือ ๓ กองเรือ ซึ่งในจำนวนนี้มี เรือหลวงชุมพร ร่วมปฏิบัติการอยู่ด้วย ในสังกัดกองเรือที่ ๒ หมวด ๒

ภารกิจโดยย่อของเรือหลวงชุมพร ในกรณีพิพาทอินโดจีนมีดังนี้
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ เรือหลวงชุมพร พร้อมด้วย เรือหลวงแม่กลอง เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงระยอง ในความบังคับบัญชาของ น.อ. หลวงพลสินธวาณัติก์ ทำการคุ้มกัน เรือหลวงอ่างทอง ซึ่งเป็นเรือลำเลียงทหารนาวิกโยธินไปขึ้นบกที่ท่าแฉลบ ซึ่งทหารหน่วยนี้มีหน้าที่รักษาจังหวัดจันทบุรี
- วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ เรือหลวงชุมพร พร้อมด้วย เรือหลวงแม่กลอง เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงระยอง ในบังคับบัญชาของน.อ. หลวงพลสินธวาณัติกื เดินทางไปคลองใหญ่ เรือหน่วยนี้ทำการลาดตระเวนตรวจชายฝั่งด้านตะวันออก
- วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๘๓ เรือหลวงชุมพร พร้อมด้วย เรือหลวงท่าจีน เรือหลวงแม่กลอง เรือหลวงตราด เรือหลวงคลองใหญ่ เรือหลวงตากใบ เรือหลวงกันตัง เรือหลวงบางระจัน และ ร.ย.ฝ. ๓ ลำ ไปทำการลาดตระเวน และกวาดทุ่นระเบิด บริเวณเกาะกูด เกาะช้าง
- วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เรือหลวงชุมพร เป็นเรือคุ้มกัน เรือหลวงช้าง ไปส่งที่เกาะเสม็ด
- วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เรือหลวงชุมพรพร้อมด้วย เรือหลวงศรีอยุธยา เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงกันตัง เรือหลวงมัจฉาณุ ร.ย.ฝ. ๒ ลำ ออกเรือจากสัตหีบเวลา ๒๑.๐๐ น. ไปรวมกำลังที่เกาะจิก เพื่อทำการลาดตระเวนและป้องกันการโจมตีหรือการยกพลขึ้นบกจากฝ่ายข้าศึกในบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย





สถานที่ตั้ง
หาดทรายรี
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๑ บ้านหาดทรายรี
ตำบล หาดทรายรี อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร
ตำบล นาชะอัง อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000
โทรศัพท์ ๐๗๗-๕๐๗๗๕๓ โทรสาร ๐ ๗๗๕๐ ๗๗๗๖
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่