ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 18° 10' 36"
18.1766666666667
Longitude : E 103° 45' 0"
103.75
No. : 121290
ภูทอก (วัดเจติยาคีรีวิหาร)
Proposed by. buengkan_admin Date 23 January 2012
Approved by. buengkan_admin Date 28 March 2020
Province : Bueng Kan
3 1909
Description

ภูทอก- เป็นที่ตั้งของวัดเจติยาศรีวิหาร คำว่า “ทอก” ในภาษาอีสาน แปลว่า งอกขึ้นมาแบบเดี่ยวๆ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “ภูทอก” ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่และภูทอกน้อย เดิมบริเวณนี้เป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก จนกระทั่งพระอาจารย์จวน กุลเฎโฐ ได้เข้ามาบุกเบิกเป็นสถานปฏิบัติธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ พระอาจารย์จวนเริ่มสร้างบันไดไม้และสะพานไม้ เพื่อให้ประชาชนที่ต้องการท่องเที่ยวและแสวงธรรมเดินทางขึ้นภูทอกสะดวกขึ้น ซึ่งสร้างทั้งหมด ๗ ชั้น ใช้เวลาในการสร้าง ๕ ปีเต็ม โดยบันไดชั้นที่ ๑ - ๒ เป็นบันไดทอดขึ้นสู่ภูทอก ชั้นที่ ๓ เริ่มเป็นสะพานไม้เวียนรอบเขา ผ่านป่ามืดครึ้ม มีโขดหินและลานหิน เมื่อสุดทางแยกของสะพานไม้ชั้น ๓ จะพบทางแยกสองทาง โดยทางซ้ายเป็นทางลัดขึ้นสู่ชั้นที่ ๕ แต่ลักษณะทางขึ้นไปนั้นมีความชันมากและต้องเดินผ่านซอกหินที่มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ ส่วนทางขวามือเป็นทางขึ้นชั้นที่ ๔ เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา เมื่อถึงบริเวณนี้สามารถมองเห็น “ดงชมพู” ลักษณะเป็นเนินเขาลูกเตี้ยสลับกัน ทิศตะวันตกของดงชมพูติดกับภูลังกา อำเภอเซกา มีสภาพเป็นป่าดิบ มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านและสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก โดยเฉพาะฝูงกา จึงเรียกว่า “ภูรังกา” แล้วออกเสียงเพี้ยนเป็น “ภูลังกา” ในปัจจุบัน เมื่อเดินทางถึงชั้นที่ ๔ ชั้นนี้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและที่พำนักของแม่ชี มีระยะทางโดยรอบชั้นประมาณ ๔๐๐ เมตร มีสถานที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะ ชั้นที่ ๕ หรือ ชั้นกลาง เป็นที่ตั้งศาลากลาง กุฏิพระสงฆ์ และสถานที่เก็บศพพระอาจารย์จวน กุลเฎโฐ บริเวณทางเดินมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ อาทิ ถ้ำเหล็กไหล ถ้ำแก้ว เป็นต้น ชั้นที่ ๖ มีลานกว้างสามารถพักระหว่างเดินทางได้ มีหน้าผาต่างๆ เช่น หน้าผาเทพนิมิต ผาหัวช้าง หากเดินทางไปทิศเหนือ สามารถเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่ “พุทธวิหาร”เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และแนวภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน สะพานไม้เวียนรอบเขาสิ้นสุดอยู่ที่ชั้นที่ ๖ เมื่อขึ้นสู่ชั้นที่ ๗ เป็นบันไดไม้ บริเวณชั้นที่ ๗ นี้เป็นป่าไม้ที่ความร่มเย็น

Category
Religious place
Location
ภูทอก (วัดเจติยาคีรีวิหาร)
Moo บ้านคำแคนพัฒนา
Amphoe Si Wilai Province Bueng Kan
Details of access
Website http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=22&Id=538979488
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่