ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 49' 47.7858"
14.8299405
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 13' 16.7214"
102.2213115
เลขที่ : 122675
เครื่องจักรสาน (สุ่ม)
เสนอโดย สมจิตต์ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย นครราชสีมา วันที่ 30 มกราคม 2560
จังหวัด : นครราชสีมา
1 3561
รายละเอียด

สุ่มไก่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับครอบไก่ขังไก่ จำกัดบริเวณของไก่ นิยมใช้ในการเลี้ยงไก่พื้นบ้านหรือไก่ชน ราคาของสุ่มแต่ละแห่งก็อาจแตกต่างกันไป จะมากจะน้อยเท่าไรนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น วัสดุที่ใช้ทำสุ่ม ขนาด ความปราณีตสวยงาม ความแข็งแรง ระยะทางในการขนส่ง และพ่อค้าคนกลาง เป็นต้น วัสดุที่นิยมนำมาทำสุ่ม ได้แก่ หวาย ไม้ไผ่รวก ไม้ไผ่ต่างๆ(ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่หก ฯ) และเหล็กเส้นกับตาข่าย แต่ในปัจจุบันเรามักพบเห็นสุ่มไก่ทำด้วยไม้ไผ่รวกและไม้ไผ่ต่างๆ มากกว่าวัสดุอย่างอื่น คงเป็นเพราะไม้ไผ่เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง บางแห่งก็ไม่ต้องซื้อ สามารถหาได้ตามป่าหรือเทือกเขา และบางคนก็ปลูกไว้ตามสวนไร่นาของตน เหล่านี้เป็นต้น อายุการใช้งานของสุ่มที่ทำด้วยไม้ไผ่ ระหว่างไม้ไผ่รวกกับไม้ไผ่ชนิดอื่นๆ เชื่อกันว่าสุ่มไม้ไผ่รวกจะไม่ค่อยทนทานนัก หากเปรียบเทียบกับสุ่มที่ทำด้วยไม้ไผ่ชนิดอื่น ตัวอย่างเช่นไม้ไผ่ป่า อย่างไรก็ตามสุ่มที่ดีนั้นหากรู้จักใช้และรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว(เช่น ไม่ปล่อยตากแดด ตากฝน ตากหมอก เป็นเวลานานๆ) ก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้นานประมาณ5-10 ปีเลยทีเดียว

เครื่องมือและอุปกรณ์

1. เลื่อยคันธนูใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่เสร็จแล้ว
2. มีดพร้าใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียวง่ายต่อการจักสาน
3. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป
4. ไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปอายุประมาณ 2 ปี

วิธีการจักสาน
1.การจักตอกไผ่
1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ
1.3 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่) ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3–1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม. ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ
1.4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่มขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
2. การสานสุ่มไก่
2.1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
2.2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ไว้ใน การสานขึ้นรูป
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม
2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น
2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

สถานที่ตั้ง
บ้านละลม
เลขที่ ๒๓ หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน -
ตำบล ละลมใหม่พัฒนา อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสา ปีกกระโทก
บุคคลอ้างอิง นางสาวสมจิตต์ เต็งตระกูล อีเมล์ somjittng@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักวัฒนธรรมอำเภอโชคชัย อีเมล์ somjittng@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน เสรีประชา
ตำบล โชคชัย อำเภอ โชคชัย จังหวัด นครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30190
โทรศัพท์ 082 6037383 โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่