ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 7° 28' 29.604"
7.47489
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 26' 19.932"
100.43887
เลขที่ : 123369
วัดจะทิ้งพระ
เสนอโดย สงขลา วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2555
จังหวัด : สงขลา
0 1449
รายละเอียด

วัดจะทิ้งพระ

ประวัติความเป็นมา

วัดจะทิ้งพระ เป็นวัดคู่เมืองสทิงพระมาแต่โบราณ เดิมเรียกว่า “วัดสทิงพระ” ต่อมาได้มีการเรียกเพี้ยนเป็น “วัดจะทิ้งพระ” ตามตำนานนางพระยาเลือดขาวกล่าวว่าเจ้าพระยากรุงทองเจ้าเมืองสทิงพาราณสีเป็นผู้สร้างขึ้น

โบราณสถานที่สำคัญได้แก่ เจดีย์พระมหาธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐดินและอิฐปะการังสอดิน, เจดีย์องค์เล็ก, วิหารพระพุทธไสยยาสน์ชาวบ้านเรียกว่า “วิหารพ่อเฒ่านอน” เข้าใจว่าวิหารนี้สร้างในสมัยอยุธยาหนาบันวิหารมีลวดลายปูนปั้น ด้านหน้าปั้นเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตอนล่างมีรูปยักษ์แบก รูปเทวดาและลายไทยรูปใบไม้ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยยาสน์ก่อด้วยอิฐถือปูน 1 องค์ ที่ผนังวิหารเป็นภาพจิตรกรรมภาพเรื่องพุทธประวัติฝีมือช่างท้องถิ่น

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โบราณคดีวัฒนธรรม

รูปแบบสถาปัตยกรรมวัดจะทิ้งพระเป็นประจักษ์พยานการได้รับถ่ายแบบเจดีย์ทรงลังกา แต่ครั้งที่พระอโนมทัสสีไปนำเอารูปแบบเจดีย์ลังกาเพื่อมาสร้างสรรค์ขึ้นในคาบสมุทรสทิงพระในด้านพุทธศตวรรษที่ 21 ไสยาสน์มีพุทธลักษณะงดงาม มีฝีมือช่างพื้นบ้านภาคใต้ จิตรกรรมในวิหารแห่งนี้แสดงภาพชีวิตชาวบ้านในคาบสมุทรสทิงพระตลอดจนศรัทธาและความเชื่อทางศาสนา

สิ่งสำคัญที่ขึ้นทะเบียน

1. พระเจดีย์ฐานไม้สิบสอง

2. วิหารพระพุทธไสยยาสย์

3. พระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม

4. หอระฆัง

5. กำแพง

อายุสมัย

พุทธศตวรรษที่ 21-23

ประวัติการดำเนินการ

กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 92 ตอนที่ 136 วันที่ 21 กรกฎาคม 2518 หน้า 20 (ฉบับพิเศษ)

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดจะทิ้งพระ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล จะทิ้งพระ อำเภอ สทิงพระ จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา
บุคคลอ้างอิง กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน/กลุ่มโบราณคดี
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล พะวง อำเภอ เมืองสงขลา จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90100
โทรศัพท์ 074-330255-56 โทรสาร 074-334087
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่