นายไสว เทียนยิ้ม อายุ ๔๘ ปี เชื้อชาติ ไทย สัญชาติ ไทย เกิดเมื่อ
พุทธศักราช ๒๔๙๒ ที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของ
นายทองใบ และ นางแก้ว เทียนยิ้ม อาชีพ รับจ้าง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา
เดียวกัน ๗ คน สมรสกับนางจำเรียง เทียนยิ้ม มีบุตร ๑ คน คือ นายศราวุธ เทียนยิ้ม
นายไสว เทียนยิ้ม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หลังจากนั้นได้ประกอบ
อาชีพรับจ้างเกี่ยวกับการก่อสร้าง ได้เริ่มศึกษาดนตรีกับครูคนแรก คือ
อาจารย์นเรศ จิตรท้วม แห่ง วงพิมพ์ปฏิภาณ เริ่มเรียนแอคโคเดียนก่อน
แล้วจึงเริ่มเรียนออร์แกน ใน ขณะนั้นยังคงทำงานก่อสร้างไปด้วย เมื่อสามารถ
เล่นดนตรีได้ดีแล้ว จึงเข้าสู่วงการ ดนตรี ในวงดาราน้อย (รำวง) ด้วยการเล่น
แอคโคเดียนและคีย์บอร์ด เพลงแรกที่บรรเลง คือ เพลงโปรดเถิดดวงใจ
ซึ่งขณะนั้นอายุ ๒๐ ปี ต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับวงพรนารายณ์ ซึ่งเป็นวงที่มี
ชื่อเสียงในขณะนั้น และที่นี่ นายไสว ทำหน้าที่ตั้งแต่นักดนตรี ประพันธ์ เพลง
เรียบเรียงเสียงประสาน ดูแลนักร้อง และอำนวยเพลงไปด้วย จึงเป็นสาเหตุที่
ทำให้ นายไสว ต้องศึกษาวิชาการดนตรีเพิ่มเติม จึงไปสมัครเรียนที่สยามกลการ
กับ อาจารย์ตรอง ทิพย์วัตร์ อาจารย์วิรัช อยู่ถาวร และอาจารย์ประสิทธิ์ พยอมยงค์
โดยเป็นศิษย์รุ่นสุดท้ายของท่าน แต่เป็นศิษย์รุ่นที่ ๑๘ ของสยามกลการ นายไสว
จบหลัก สูตรการเรียบเรียงเสียงประสานชั้นสูง (หลักสูตรสยามกลการนี้ เป็นหลักสูตร
ที่อาจารย์ แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นำมาจากต่างประเทศ มาใช้เป็นหลักสูตรของ
สยามกลการ โดย เริ่มเรียนจากทฤษฎีดนตรีพื้นฐาน โครงสร้างดนตรี ฯ และหลักสูตร
สุดท้าย คือ การ เรียบเรียงเสียงประสานชั้นสูง) และจากการเรียนที่สยามกลการนี้เอง
จึงทำให้นายไสว จำเป็นต้องเรียนภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย ต่อมาได้ย้ายไปอยู่
วงศรชัย เมฆวิเชียร และ วงเพลิน พรหมแดน หลังจากนั้นได้แยกเป็นศิลปินเดี่ยว
เล่นดนตรีตามร้านอาหาร แต่ง เพลง เรียบเรียงเสียงประสาน ฝึกซ้อมนักร้อง นักดนตรี
โดยใช้ความเป็นครูในการฝึก สอนมาโดยตลอด มีผลงานมากมายจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
ผลงานดีเด่น/และเกียรติคุณที่เคยได้รับ
นายไสว เทียนยิ้ม ได้รับยกย่องเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ระดับ จังหวัด และ
ระดับเขตการศึกษา ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๘ และยังได้รับโล่เกียรติ ยศ จาก
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ โรงเรียนสมุทรปราการ เนื่องในโอกาสจัดทำ
แถบบันทึกเสียงเพลง คิดถึงสมุทรปราการ นอกจากนี้ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๙
ได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินรางวัล”พระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ ๑