ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 125886
ถ้ำดาวดึงส์
เสนอโดย กาญจนบุรี วันที่ 6 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 21 มีนาคม 2559
จังหวัด : กาญจนบุรี
1 1782
รายละเอียด

ประวัติถ้ำดาวดึงส์ เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดกาญจนบุรี คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินจังหวัดกาญจนบุรี มีเรื่องผูกพันกันมาในประวัติศาสตร์ ทั้งที่เล่าเรียนอยู่ในประวัติศาสตร์ ทั้งที่อยู่ในความทรงจำและที่ประทับอยู่ในความรู้สึก กาญจนบุรีนอกจากเป็นเมืองในประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เช่น สุสานสหประชาชาติ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เขื่อน น้ำตก และถ้ำ เป็นต้น การท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นการท่องเที่ยวที่เพิ่มพูนประสบการณ์ของคนทุกวัย นอกจากได้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โบราณคดี และสังคมมนุษย์แล้ว ยังทำให้เราได้สัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติ เช่น ป่าเขาที่สมบูรณ์ ด้วยพืชพันธุ์สวยงามนานาชนิด ทำให้ร่างกายสดชื่นและเพลิดเพลิน ทั้งเป็นการผ่อนคลายประสาทที่ได้ตรากตรำธุรกิจการงาน หรือการศึกษามาตลอดสัปดาห์ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติภารกิจหรือการศึกษาในวันต่อ ๆ ไปด้วยดี ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ได้ค้นพบถ้ำขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ถ้ำแห่งนี้เต็มไปด้วยความงดงามวิจิตรพิสดาร มีหินงอกย้อยมากมาย แต่ละแห่งก็มีรูปร่างแปลกประหลาดแตกต่างกันออกไป ถ้ำนี้มีชื่อว่า“ถ้ำดาวดึงส์”เป็นถ้ำที่มีความสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ห่างตัวจังหวัดประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร อยู่บนเชิงเขาเตี้ย ๆ ในหมู่บ้านแก่งมะเติงฝั่งขวาของแม่น้ำแควน้อย ตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

เมื่อก่อนหมู่บ้านแก่งมะเติงแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่เป็นป่ารกชัฏ ยังไม่มีการทำไร่มากนัก ผู้คนก็ยังไม่มาก การคมนาคมก็ไม่สะดวก มีผู้คนบากบั่นเข้าไปตัดได้และล่าสัตว์ หรือหาสมุนไพรของป่า จะต้องผจญกับสภาพทุรกันดารอย่างฉกรรจ์ทีเดียว มีสิงห์สาราสัตว์ที่ดุร้ายและไม่ร้าย อันเป็นเครื่องประดับป่ามากมาย เช่น ช้าง เสือ วัว กระทิง ควายป่า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี เก้ง กวาง เป็นต้น

ปัจจุบันหมู่บ้านแก่งมะเติงนี้ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “หมู่บ้านถ้ำดาวดึงส์”ซึ่ง นายเวย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ในสมัยนั้นเป็นผู้ตั้งชื่อ และผู้ค้นพบถ้ำดาวดึงส์ คือ นายสำลี คูหา ชาวบ้านแก่งมะเติง บ้านเลขที่ ๓๘ หมู่ที่ ๖ ตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี สภาพป่าขณะนั้นมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก แกเป็นพรานป่าสมัครเล่นออกไปล่าสัตว์ในเวลากลางวัน เมื่อปี ๒๕๑๕ พรานป่าผู้นี้เดินไปพบรอยกวาง ก็เดินตามรอยกวางไปเรื่อย ๆ เพื่อจะยิงกวางแต่ต่อมาก็หารอยกวางไม่พบ เพราะไม่รู้ว่ากวางเดินไปทางไหน แกเดินต่อไปอีกประมาณ ๕๐ เมตร ก็เห็นรอยเม่นเดินเป็นทางเข้าไปยังโพลงเล็กๆ นั้น ก็พอดีเม่นวิ่งมาจากข้างหลังเข้าโพลงนั้นพอดี แกก็ตั้งใจว่าเวลาเย็นจะมาเฝ้ายิงเม่นที่พบนี้ เพราะเม่นที่พบนี้จะออกมาหากินในเวลากลางคืน เย็นวันนั้นก็มาทำห้างเพื่อเฝ้ารอยิงเม่นจนเวลาล่วงเลยไปประมาณเวลา ๒๐.๐๐ น. ก็ได้ยินเสียงดังมาจากทางหลังเขาดังโครมคราม ๆลั่นป่าทีเดียว ก็เข้าใจว่าอาจจะเป็นเสียงช้าง หรือกวางเดินมา เสียงนั้นก็ใกล้เข้า ๆ ห่างไม่เกิน ๒๐ เมตร เสียงก็เงียบลง แกละความสนใจจากเม่นมายังเสียงนั้นด้วยสัญชาติญาณของนายพราน ก็เอาปืนประทับบ่าไฟฉายทาบกับปืนเพื่อเตรียมยิง พร้อมกันนี้ก็ฉายไฟส่องไปยังจุดของเสียงนั้น ถ้าว่าแสงไฟป่ากระทบกับตาของสัตว์เข้า ก็จะเห็นแสงแวววาวจะได้เหนี่ยวไกยิงทันที แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์มองไม่เห็นอะไรเลย ฉายไฟไปจนทั่วบริเวณนั้นก็ไม่พบอะไรอีกเช่นกัน แกก็เอาก้อนหิน ๒-๓ ก้อนโยนไปยังจุดนั้น ถ้ามีสัตว์อยู่ก็จะกระโจนหนีไปแต่ก็เงียบอีกตามเคย ในขณะนั้นจิตใจของแกกลัว ๆ กล้า ๆ สับสนวุ่นวายคิดไปต่าง ๆ นานา ใจหนึ่งก็คิดไปถึงอาจจะเป็นเจ้าป่าเจ้าเขาหรือเทวดาที่รักษาบริเวณนั้นก็ได้ ทั้ง ๆ ที่กลัว แต่ก็อยากจะพิสูจน์ให้เห็นข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จึงได้เดินไปยังจุดของเสียงนั้นเอาไฟฉายส่องดูจนทั่วและเดินตรวจบริเวณนั้นกว้าง ๆ ออกไป ก็เป็นที่น่าแปลกประหลาดใจเป็นอย่างมากที่ไม่พบอะไรเลย ต่อจากนั้นแกก็ผละจากที่นั้นมานั่งเฝ้ารอเม่นที่เดิม นั่งรอเม่นนานพอสมควรเม่นก็ยังไม่ออกสักทีเพียงแต่ไม่ได้ยินเสียงร้องเท่านั่นจึงได้เดินไปยังจุดนั้นเอาไฟฉายส่องดูจนทั่วและเดินตรวจบริเวณนั้นกว้างๆ เดินไปใกล้ปากโพงเห็นต้นไม้สั่นไหวและตามเม่นเข้าไปภายในโพลงปรากฏว่าเป็นถ้ำกว้างขวางมากยิ่งเดินเข้าไปภายในถ้ำพบความอัศจรรย์สวยงามมากตามเพดานและผนังมีหินงอก หินย้อย สวยงามมาก

คำสำคัญ
ถ้ำ ไทรโยค
สถานที่ตั้ง
บ้านดาวดึงส์
เลขที่ ๔๐ หมู่ที่/หมู่บ้าน ดางดึงส์ ถนน แสงชูโต
ตำบล ไทรโยค อำเภอ ไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางบุผา ประเคนคะชา
เลขที่ ๔๐ หมู่ที่/หมู่บ้าน ดาวดึงส์ ถนน แสงชูโต
ตำบล ไทรโยค อำเภอ ไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71150
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่