ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 4' 35.9933"
8.0766648
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 56' 23.4784"
98.9398551
เลขที่ : 126068
นายสมบูรณ์ หมั่นค้า
เสนอโดย preeyak วันที่ 8 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย กระบี่ วันที่ 20 มีนาคม 2555
จังหวัด : กระบี่
2 1833
รายละเอียด

นายสมบูรณ์ หมั่นค้า เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๐๔ อยู่บ้านเลขที่ ๒๗ หมู่ ๑ บ้านเกาะกลาง ตำบล คลองประสงค์ อำเภอเมืองฯ จังหวัด กระบี่ ได้รับการถ่ายทอดความรู้การทำเรือหัวโทงจำลองมาจาก นายหมาดตาบ หมั่นค้า บิดาซึ่งเป็นช่างต่อเรือชาวเกาะกลาง ผู้เชี่ยวชาญการต่อเรือหัวโทงมากว่า ๕๐ ปี ที่ต้องการให้นักท่องเที่ยวได้รู้วิถีชีวิตชาวบ้านซึ่งใช้เรือหัวโทงในการประกอบอาชีพ มีของฝากติดมือกลับไป และสร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงมีความคิดที่จะต่อเรือหัวโทงจำลองขึ้นมาเพื่อเป็นของที่ระลึกจำหน่ายให้ กับนักท่องเที่ยว และต้องการให้เรือหัวโทงจำลองเป็น“เอกลักษณ์ของจังหวัดกระบี่” เพราะมีแหล่งกำเนิดที่กระบี่

เทคนิคและเคล็ดลับในการประกอบเรือหัวโทงจำลอง

ไม้ที่ใช้ควรจะเป็นไม้เนื้ออ่อนเพื่อง่ายในการตัดแต่งเช่นไม้พญาสัตตบรรณหรือไม้ตีนเป็ด ไม้ทองหลางซึ่งทางกลุ่มหาจากต้นไม้ที่เจ้าของมีการตัดเพื่อแต่งต้นไม้ให้สวยงามหรือต้นไม้ที่เกะกะสายไฟฟ้าแรงสูง

วัตถุดิบและส่วนประกอบในการทำ

๑.ไม้ ใช้ในการต่อเรือสรรหาได้ตามพื้นที่จังหวัดกระบี่และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ไม้ที่นำมาต่อเรือต้องคัดเลือกไม้เนื้อแข็งไม้เบญจพรรณ ได้แก่ ไม้พะยอม ไม้เต็ง ไม้ตะเคียน ไม้เคี่ยม ในความเชื่อของคนในหมู่บ้านไม้ที่จะทำเรือจะคัดเลือกไม้ที่มีรังนกอยู่บน ต้นไม้เพราะเชื่อว่าเป็นการให้ชีวิตใหม่และเป็นสิริมงคล ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการต่อเรือและประกอบอาชีพ

๒.ตะปู สำหรับเป็นตัวยึดไม้ให้ไม้แต่ละชิ้นติดกัน

๓.เชือกด้ายใช้สำหรับอุดรอยต่อระหว่างแผ่นไม้กระดานเพื่อกันน้ำเข้าเรือ

๔.น้ำมันชัน ประกอบด้วยน้ำมันยางปูนขาว หรือปูนกินหมาก สีและสารเร่งสี(เสน) สำหรับใช้อุดปิดทับเชือกด้ายที่อยู่ระหว่างรอยต่อของไม้ป้องกันไม่ให้น้ำซึม เข้าเรือ

๕.น้ำมันเคลือบเงาสำหรับเคลือบทับน้ำมันชัน ให้พื้นผิวไม้เรียบเป็นเนื้อเดียวกันเพื่อความสวยงามและป้องกันน้ำเข้าเรือ

๖.กระดาษทรายสำหรับขัดไม้ด้วยมือในซอกมุมและแผ่นกระดานให้ผิวเรียบ

๗.ดินสอ สำหรับขีดเขียนกำหนดตำแหน่งที่ได้วัดระยะไว้แล้วบนเนื้อไม้

๘.กบไฟฟ้า เป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำให้ผิวไม้เรียบได้อย่างรวดเร็ว

๙.กบไสไม้ด้วยมือ ใช้สำหรับตกแต่งเนื้อไม้ให้เรียบและให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ ในงานที่ต้องการความประณีต

๑๐.ค้อน ใช้ในการตอกตะปูฝังในเนื้อเพื่อให้ไม้ยึดติดกัน

๑๑.สิ่ว สำหรับตกแต่งไม้ให้เป็นมุมเป็นรู ในกรณีที่ไม่สามารถใช้เครื่องมืออื่นทำได้ ใช้กับงานที่ต้องการความประณีต

๑๒.สว่าน ใช้เจาะไม้ให้เป็นรูเพื่อประกอบเข้ากับชิ้นส่วนอื่น

๑๓.ขวาน ใช้สำหรับตกแต่งและถากเนื้อไม้ให้ได้รูปตามต้องการ

๑๔.เครื่องกลึงไม้ ใช้สำหรับตกแต่งไม้ให้กลมหรือให้โค้งงอน

๑๕.แม่แรง เป็นเครื่องทุ่นแรงให้ไม้ยึดติดกันให้แน่นหรือใช้ในการดัดไม้ให้โค้งงอ

๑๖.ตลับเมตร วัดความกว้างยาวของไม้ตามต้องการ

๑๗.เครื่องตีเส้น ใช้แทนดินสอสำหรับทำเครื่องหมายในกรณีที่ต้องการตีเส้นในการวัดระยะความยาวและกว้างของไม้

๑๘.ขวานปึง ตกแต่งและถากเนื้อไม้ให้โค้งมน

๑๙.เหล็กฉาก ใช้สำหรับวัดและตกแต่งทำให้ไม้เป็นมุมต่าง ๆ

๒๐.เลื่อย ใช้เลื่อยด้วยมือเพื่อตัดและแต่งไม้ในขั้นตอนที่ต้องการความละเอียดและประณีต

๒๑.เลื่อนไฟฟ้า ใช้ตัดและตกแต่งไม้ที่เกินกำลังคนและเพื่อความรวดเร็วในการผลิตชิ้นส่วนของเรือ

ขั้นตอนการทำ มีดังนี้

๑.ทำกระดูกงูหรือ หมาด และหน้านางหัวท้าย

๒.ขึ้นกระดาน

๓.ใส่กง

๔.ติดเส้นตาพร้อมกระดานปูเรือ

๕.ปิดฝาถ้วยหรือปิดหัวกง

๖.ใส่หัวและท้าย

๗.ติดไม้คิว

๘.ราทู

๙.ติดกระดานปิดหัวปิดท้าย

๑๐.ติดแจว

๑๑.ติดฐานตั้งเรือ

หมวดหมู่
ปราชญ์ชาวบ้าน
สถานที่ตั้ง
เลขที่ ๒๗ หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน -
ตำบล คลองประสงค์ อำเภอ เมืองกระบี่ จังหวัด กระบี่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง จ.อ.พิรพร อุลิตผล อีเมล์ po1shell@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สวจ.กระบี่ อีเมล์ po1shell@hotmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน เจ้าคุณ
ตำบล ปากน้ำ อำเภอ เมืองกระบี่ จังหวัด กระบี่ รหัสไปรษณีย์ 81000
โทรศัพท์ ๐๗๕๖๒๓๙๖๖ โทรสาร ๐๗๕๖๒๓๙๗๗
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่