ในช่วงเทศกาลทำบุญต่างๆ การห่อข้าวต้มมัด ทำกันทั้งหมู่บ้าน เพื่อนำไปทำบุญ ที่วัด ข้าวต้มมัด จะห่อกันในช่วงเย็น ก่อนวันงาน เมื่อถึงรุ่งเช้า ก็นำไปใส่บาตร ที่วัดไปกันทุกบ้าน ไปทำบุญที่วัดกันพร้อมหน้า เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประเพณีบุญเผวด หรือบุญมหาชาติ เป็นต้น
ในงานที่นิยมห่อข้าวต้มมัด ก็คืองานบุญแจกข้าว ซึ่งเป็นงานที่ลูก หลานทำบุญอุทิศ ส่วนกุศล ให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ โดยการห่อข้าวต้มจะเชิญ ผู้สูงวัย และญาติสนิท มาทำการห่อข้าวต้มมัด โดยแต่ละคนจะนำข้าวสาร(ข้าวเหนียวมาคนละเล็ก ละน้อย นำมารวมกัน ถ้ามีกล้วยน้ำหว้าสุกก็จะนำมา ด้วย (หรือบางงานเจ้าภาพจะเกตรียมกล้วยน้ำหว้าสุกไว้)
การทำข้าวต้มมัดนั้น มีขั้นตอนการทำ คือ ตัดใบตองมาวางทิ้งไว้ ประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง แล้วนำใบตองมาเจียน เป็นสี่เหลี่ยมตามยาว นำข้าวสาร(ข้าวหนียว)มา ปลอกกล้วยสุก เมื่อเตรียมอุปกรณ์เสร็จแล้ว ก็นำมาห่อ แล้วนำมาประกบกันเป็นข้าวต้มมัด โดยใช้ตอกที่ทำจากไม้ไผ่ เส้นเล็กๆ ที่จัก (จัก เป็นภาษาไทยอีสาน หมายถึง ใช้มีดผ่าไม้ไผ่ และเกลาให้เรียบ) จากลำไผ่ เป็นเส้นเล็กๆ สำหรับมัดข้าวต้ม ข้าวต้มมัดของชาวอีสานไม่นิยมใส่กะทิ และจะใช้วิธีต้ม มากกว่าวิธีนึ่งการห่อข้าวต้ม ด้วยหวังว่ากิจกรรมห่อข้าวต้มมัดนั้น จะเชื่อมโยงให้คนหลากวัยได้เรียนรู้กันและกันอย่างเป็นมิตร มีการถ่ายโยงภูมิปัญญาต่างๆ จากผู้ใหญ่ให้เด็กๆ มีการเสวนาพาทีถึงสาระทุกข์สุขดิบของชีวิต