ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 42' 18"
15.7050000
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 8' 15"
100.1375000
เลขที่ : 127627
ตำนานการละเล่น เอ็งกอ – พะบู้
เสนอโดย sompong2506 วันที่ 18 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย นครสวรรค์ วันที่ 26 เมษายน 2555
จังหวัด : นครสวรรค์
4 7011
รายละเอียด

เอ็งกอเป็นผู้กล้าแห่งเหลียงซันโป๋ ๑๐๘ คน มีเรื่องราวตำนานที่เล่าขานกันมานานของชาวจีน เกิดในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง รัชกาลซ่งฮุยจงฮ่องเต้(ค.ศ. ๑๑๐๐-๑๑๒๕) เป็นเรื่องราวของชุมโจรเหลียงซันโป๋ มณฑลซานตง ในเมืองนี้มีเขาเหลียงซันเป็นเขาที่มีหน้าผาเป็นภูมิประเทศที่ง่ายต่อการ ตั้งรับและยากต่อการบุกโจมตี เวลากล่าวถึงเอ็งกอ จึงเรียกกันติดปากว่าผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซัน
โจรเหลียนซันโป๋ ๑๐๘ คนมีอาชีพและฐานะทางสังคมต่างกัน มีทั้งชาวนา ชาวประมง คนรากรถ พ่อค้า นายพราน นายช่าง หมอ สัตวแพทย์ ครู นักบวช เศรษฐี ข้าราชการชั้นผู้น้อยทหาร และเชื้อพระวงศ์ โจรเหล่านี้รักใคร่สามัคคีกันดุจพี่น้อง สร้างพลังที่จะต่อจ้านความอยุติธรรมที่เกิดในสังคมยุคนั้น เรียกว่าเป็นโจรคุณธรรมปล้นคนโกงชาติโกงแผ่นดินเอารัดเอาเปรียบประชาชน ได้ทรัพย์สินมาก็แบ่งให้คนยากจน เวลาออกทำการโจรทั้ง ๑๐๘ คนจะเขียนหน้าต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของใครของมัน นี่คือความพิเศษที่โดดเด่นของเอ็งกอ
ในงานเทศกาลประเพณีแห่เจ้าของชาวตลาดปากน้ำโพได้นำเอาเรื่องราวของเอ็งกอมาแสดงเรียกว่า เอ็งกอ-พะบู๊ คือ มีการแสดงถึงการต่อสู้รบด้วยวิธีที่แต่ละคนถนัด จากการบอกเล่าของนายพินิจ ชอบทางศิลป์ (เฮ่งต็กคู) อายุ ๗๗ ปี(พ.ศ. ๒๕๔๙) เคยเป็นผู้แสดงในคณะเอ็งกอรุ่นแรก และเป็นผู้ช่วยสอนเอ็งกอ ของปากน้ำโพเล่าว่า 'การเล่นเอ็งกอในปากน้ำโพเริ่มต้นมาในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ปีเดียวกับการเกิดกบฏแมนฮัตตันที่กรุงเทพฯ เริ่มมาจากนายคอซัว แซ่เตีย คนจีนที่มาจากหมู่บ้านโถ่วเกา อำเภอโผวเล้ง จังหวัดแต้จิ๋ว ประเทศจีน นายคอชัว เคยเล่นเอ็งกอที่หมู่บ้านในเมืองจีนมาก่อน เมื่อมาอยู่ปากน้ำโพ ท่านทำงานอยู่ที่เรือส่งสินค้า ส่วนผมทำงานอยู่ในโรงย้อมผ้าเฮ่งช่วงหลี ที่ตลาดลาว นายคอซัวและเพื่อน ๆ มาชวนผมให้ไปเล่น แรก ๆ ผมไม่ไปแต่พี่ชายผมคือรายเฮ่งเต็กเม้ย ปัจจุบันคือนายสุกิจ ชอบทางศิลป์ โรงน้ำแข็งกิจเจริญ ไปเล่น ตอนหลังพี่ชายผมก็มาชวนผมไปเล่นด้วย ในยุคแรกเถ่าแก่เอ็งเช่งหมง โรงไม้เอ็งเช่งหมง (บิดาของคุณสุมนา อาชาไนย ที่สร้างศาลเจ้าแม่หน้าผาเป็นอาคารไม้หลังแรก) ได้ช่วยสนับสนุนตั้งคณะและทำไม้พลองให้ พร้อมทั้งให้ที่พักแก่นายคอซัว แซ่เตียที่มาจากเมื่องจีนใหม่ ๆ
เอ็งกอปีแรกของปากน้ำโพมี "จับหลักทุ้ยจับหลักโก้ว" คือมีผู้เล่นไม้พลอง ๑๖ คน ผู้ตีกลองขนาดเล็ก ๑๖ คน นอกนั้นเป็นผู้เล่นดนตรีมีกลอง ล้อ(ล่อ) แฉ(ดาบ) และมีการเล่นพะบู๊ต่อท้าย การแต่งกายเอ้งกอในยุคเริ่มแรก ใส่เสื้อคอกลมขาว เขียนชื่อผู้สนับสนุน มีผ้าโพกหัวเว้นครูฝึก ขอยืมหมวกและหนวดจากโรงงิ้วมาใช้ มีผ้าผูกคอเหมือนลูกเสือ นุ่งกางเกงแพรสีน้ำเงินมีแถบข้างขา ๓ แถบ มีผ้าผูกเอว สวมรองเท้าหุ้มข้อยี่ห้อนันยางและมีผ้าพันแข้ง การเขียนหน้าคณะงิ้วจะเขียนให้เฉพาะตัวเอก ๕ ตัวคือหลีคุ้ย บู๋ซ้ง โล้วจุ้งหงี เตียสุงเป็นต้น และก่อนการแสดงทุกครั้งจะมีพิธีไหว้ครูไหว้เจ้าที่ ไหว้เหล่าเอี๊ยผู้เป็นใหญ่ในสถานที่นั้นทุกครั้ง ชาวเอ็งกอจะไหว้ฉั่งซือเอี้ยก่อน เพื่อสาบานเป็นพี่น้องกัน และเชือดไก่เอาเลือดผสมเหล้าให้ทุกคนดื่ม "
การแสดงเอ็งกอถือเป็นจุดเด่นคณะหนึ่งในขบวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่เฉลิมฉลอง เทศกาลตรุษจีนของชาวปากน้ำโพ มีการพัฒนาและรักษาการแสดงจากอดีตสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ซึ่งจะหาชมได้เฉพาะในงานเทศกาลประเพณีแห่เจ้าของชาวปากน้ำโพเท่านั้น

สถานที่ตั้ง
ศาลเจ้าพ่อหน้าผา เมืองปากน้ำโพ
หมู่ที่/หมู่บ้าน ชุมชนหน้าผา
จังหวัด นครสวรรค์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สัมภาษณ์ประธานเถ่านั๊ง/www.google.com
บุคคลอ้างอิง คณะกรรมการเถ่านั๊ง
จังหวัด นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่