ตุงไทลื้อ วัดร้องแง ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ตุงเป็นภาษาถิ่นล้านนา อ่านออกเสียงว่า ตุง(ภาคกลางหมายถึง ธง) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประดับ
เช่น การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณีเกี่ยวกับชีวิต อาจทำด้วยผืนผ้า กระดาษ ไม้ โลหะหรือเส้นด้าย มีลักษณะเป็นผืนยาว ผืนแคบ สำหรับห้อยลงมา แต่อาจทำเป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือรูปทรงอื่น ๆ เช่น ทำเป็นพวงห้อยลงมา เป็นต้น
ชาวบ้านร้องแง ตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีความเชื่อแตกต่างกันไปตามพื้นฐานของความรู้ที่ได้รับจากบรรพบุรุษตน มีการนับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม โดยผสมผสานกับความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ การปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา จึงนิยมนำ “ตุง” มาประดับไว้ภายในบริเวณพระอุโบสถของวัดร้องแง ทั้งนี้เพื่อความเชื่อ 3ประการ ดังนี้
1. ความเชื่อทางพระพุทธศานา เช่น กฎแห่งกรรม บุพเพสันนิวาส การพลัดพราก อานิสงค์ผลบุญ
2. ความเชื่อทางไสยศาสตร์ เช่น การใช้เวทมนตร์คาถา ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับเสนียดจัญไร
3. ความเชื่อทางโหราศาสตร์ เช่น ในเรื่องฤกษ์ยาม โชคชะตา ความฝัน