ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 0' 12.2087"
14.0033913
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 39' 52.9564"
100.6647101
เลขที่ : 128774
ประเพณีลอยกระทง
เสนอโดย ปทุมธานี วันที่ 25 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย ปทุมธานี วันที่ 25 มีนาคม 2555
จังหวัด : ปทุมธานี
0 3620
รายละเอียด

ลอยกระทง อาจจะยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าลอยกระทงเริ่มเมื่อไหร่ แต่เมื่อ ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว ก่อนรับศาสนาพุทธ –พราหมณ์จากอินเดีย กลุ่มชนบริเวณสุวรรณภูมิ พิธีกรรมเกี่ยวกับ “ผี”

เมื่อ ๒,๐๐๐ปี มาแล้ว ราชสำนักในสุวรรณภูมิได้รับพิธีกรรมเกี่ยวกับ “ผี”เพื่อขอขมาน้ำและดินให้เข้ากับศาสนาใหม่ จึงทำให้ความหมายเดิมเปลี่ยนไป กลายเป็นลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าและเทวดา โดยมีหลักฐานพยานเก่าแก่ที่สุด คือ รูปสลักพิธีกรรมทางน้ำคล้ายลอยกระทงที่ปราสาทหินบายนในนครทม เอกสารของลาลูแบร์ ที่บันทึกพิธีกรรมของชาวบ้านในกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์

ต่อมารัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดฟื้นฟูประเพณีพิธีกรรมที่สำคัญเพื่อความอุดมสมบูรณ์ จึงมีพระราชนิพนธ์หนังสือ ตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาส โดยสมมติให้ฉากของเรื่องเกิดขึ้นในยุคพระร่วงเจ้า แห่งกรุงสุโขทัย เป็นเหตุให้เกิดกระทงทำด้วยใบตองแล้วนิยมใช้สืบมามาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีลอยกระทงจะลอยกระทงในช่วงน้ำขึ้นสูงสุด คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ กลางเดือนสิบสอง

กระทงของภาคกลางมี ๒ ประเภทด้วยกัน คือ

กระทงแบบพุทธ

เป็นกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบกระบือ ก้านพลับพลึง ใบโกศล หรือวัสดุธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่นและประดับด้วยดอกไม้สดต่างๆภายในกระทงจะตั้งพุ่มทองน้อย ถ้ากระทงใหญ่จะใช้ ๓ พุ่ม กระทงเล็กใช้พุ่มเดียวและธูปไม้ระกำ ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม

กระทงแบบพราหมณ์

วิธีการทำเช่นเดียวกับการทำกระทงแบบพุทธ จะแตกต่างกันคือไม่มีเครื่องทองน้อย บางท้องถิ่นจะมีการใสหมากพลู เงินเหรียญ หรือตัดเส้นผมเล็บมือ เล็บเท้า เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปในตัว

๓.๓ ความมุ่งหมายของประเพณี

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของไทย ที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา นิยมทำกันในวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยมีความมุ่งหมายหลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น

๑. เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

๒. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่ริมฝั่งน้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

๓. เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า

๔. เพื่อบูชาพระอุปคตตเถระที่บำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระมหาเถรรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้

๕. เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธ์อยู่ในมหาสมุทร

๖. เพื่อบูชาท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ชั้นพรหมโลก

๗. เพื่อแสดงความสำนึกบุญคุณของน้ำที่ได้นำมากินมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง ขอขมาลาโทษในการทำให้แหล่งน้ำนั้นๆไม่สะอาด

๘. เพื่อลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

๙. เพื่ออธิษฐานขอในสิ่งที่ตนปรารถนา

๑๐. เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

๓.๔ ขั้นตอนปฏิบัติงานหรือพิธีกรรม

๑. การทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง ทั้งก่อนและหลังเสร็จงานลอยกระทง

๒. การทำบุญทำทาน การฟังเทศน์ การปฏิบัติธรรม ตามประเพณีของแต่ละท้องถิ่น

๓. การประดิษฐ์กระทงใหญ่ กระทงเล็กด้วยวัสดุในท้องถิ่น

๔. การจัดขบวนแห่กระทงจากหมู่บ้าน โรงเรียน หรือชุมชนต่างๆ

๕. การจัดกิจกรรมประกวดต่างๆ เช่น การประกวดกระทง ประกวดโคมลอย สำหรับประกวดนางนพมาศตามความนิยมในสังคมปัจจุบันนั้น สามารถปฏิบัติได้แต่ไม่สำคัญมากเกินไป

๖. การนำกระทงไปลอยในแม่น้ำลำคลอง

๓.๕ ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง

ความกตัญญูเป็นค่านิยมสำคัญที่คนไทยทุกกลุ่มนิยมยึดถือ คนไทยโบราณเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการขอขมาน้ำหรือแม่คงคา ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตและ อำนวยประโยชน์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นน้ำดื่ม น้ำอาบ น้ำใช้ หรือน้ำที่หล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหารด้วยความสำนึกในบุญคุณของน้ำ จึงได้กำหนดวันเพื่อแสดงความกตัญญูขึ้นปีละครั้ง

นอกจากนี้คนไทยบางกลุ่มยังมีความเชื่อที่ต่างกันออกไป เช่นเชื่อว่า การลอยกระทง เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า บางกลุ่มก็เชื่อว่าเป็นการลอยเพื่อบูชาบรรพบุรุษ แต่ไม่ว่าแต่ละกลุ่มจะมีความเชื่อเช่นไร ความหมายรวมของประเพณีนี้ ก็คือความกตัญญู ซึ่งเป็นคุณธรรมที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของคนไทยโดยแท้

๓.๖ คุณค่าของประเพณี

๑. คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกันเช่น การประดิษฐ์กระทง แล้วนำไปลอยน้ำเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อน้ำที่ให้ประโยชน์ และจะลอยเพื่อแสดงการรำลึกถึงบรรพบุรุษ

๒. คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ร่วมกันคิดประดิษฐ์กระทง เป็นการส่งเสริมและสืบทอดศิลปกรรมด้านช่างฝีมือ และยังเป็นการพบปะสังสรรค์สนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจร่วมกัน

๓. คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื้อาทรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลอง

๔. คุณค่าต่อศาสนา ถือเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

๓.๗ การสืบทอดประเพณี

๑. เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

๒. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ประทับรอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่ริมฝั่งน้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย

๓. เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า

๔. เพื่อบูชาพระอุปคตตเถระที่บำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระมหาเถรรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้

๕. เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธ์อยู่ในมหาสมุทร

๖. เพื่อบูชาท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ชั้นพรหมโลก

๗. เพื่อแสดงความสำนึกบุญคุณของน้ำที่ได้นำมากินมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง ขอขมาลาโทษในการทำให้แหล่งน้ำนั้นๆไม่สะอาด

๘. เพื่อลอยเคราะห์หรือสะเดาะเคราะห์ คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

๙. เพื่ออธิษฐานขอในสิ่งที่ตนปรารถนา

๑๐. เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

๓.๘ สถานที่จัด

วัดบัวแก้วเกษร ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

๔. อื่นๆที่เกี่ยวข้อง (ภาพถ่ายประเพณีลอยกระทง จำนวน ๓-๕ รูป)

สถานที่ตั้ง
จังหวัปทุมธานี
จังหวัด ปทุมธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
บุคคลอ้างอิง ลัษมา
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี
ถนน เทศปทุม
ตำบล บางปรอก จังหวัด ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
โทรศัพท์ 0-2593-4270 โทรสาร 0-2593-4406
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่