ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 32' 39.5358"
16.5443155
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 5' 58.5222"
102.0995895
เลขที่ : 129629
ประวัติอำเภอชุมแพ
เสนอโดย sukanda วันที่ 30 มีนาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 6 เมษายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
1 2976
รายละเอียด

อำเภอชุมแพ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ถนนมลิวรรณ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่ประมาณ 510 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 318,750 ไร่) ระยะทางห่างจากจังหวัดขอนแก่น ตามทางหลวงหมายเลข 12 (ถนนมลิวรรณ) ประมาณ 82 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 440 กิโลเมตร (เส้นทางชัยภูมิ - สีคิ้ว)

ประวัติความเป็นมา
ประมาณปี พ.ศ. 2400 พระครูหงส์ได้ชักชวนญาติพี่น้อง 8 ครอบครัวอพยพออกจากเมืองภูเวียง ครั้งสุดท้ายได้หยุดพักเกวียนที่บ้านกุดจอกน้อย แล้วแบ่งครอบครัวออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กุดแห่น้อย (บ้านแห่) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง นำโดยพระครูหงส์ ซึ่งมีบุตร 3 คน คือ นายโฮม (ต้นตระกูลโฮมหงส์) นายโชค และนายหลอด (ต้นตระกูลหงส์ชุมแพ) ได้เดินทางต่อมา และเลือกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านร้าง มีวัดร้างและกุดแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก วัดร้างนี้มีธาตุและต้นโพธิ์จึงตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์ธาตุ พร้อมกับตั้งชื่อว่าบ้านกุดธาตุ กุดธาตุมีน้ำลึกมาก มีจระเข้ และป่าทึบ ทำให้จับปลาได้ยาก ประกอบกับรอบ ๆ กุดธาตุมีกอไผ่ขึ้นหนาแน่น ชาวบ้านจึงตัดไม้ไผ่มามัดเป็นแพ ใช้ยืนหว่านแห แล้วตีวงล้อมเข้าหากัน นานเข้าจึงเรียกว่า "กุดชุมแพ" และ "บ้านชุมแพ"
ประมาณปี พ.ศ. 2470 เริ่มมีครอบครัวชาวจีนอพยพเข้ามาค้าขายในบริเวณถนนราษฎร์บำรุง ทิศเหนือของวัดโพธิ์ธาตุ การค้าได้ขยายตัวมากขึ้น ปี พ.ศ. 2485 กำนันเลี้ยง ดีบุญมี ได้บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนราษฎร์บำรุงให้ยาวขึ้นไปทางทิศเหนือ สร้างศูนย์ราชการและโรงเรียนชุมแพ นอกจากนี้ยังได้สร้างบ้านเรือนแถวไม้ชั้นเดียวบริเวณตลาดเหนือและตลาดใต้ให้เช่าทำการค้า ต่อมา กำนันจาก 4 ตำบลของอำเภอภูเวียง ได้แก่ ตำบลชุมแพ ตำบลโนนหัน ตำบลขัวเรียง และตำบลสีสุก (ศรีสุข) ได้ร่วมมือกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทยขอตั้งอำเภอชุมแพ พระยาสุนทรพิพิธ (ปลัดกระทรวงมหาดไทยขณะนั้น) ได้มาตรวจสถานที่ ช่วงนั้นอำเภอชนบทถูกไฟไหม้ กระทรวงมหาดไทยจึงอนุมัติให้ตั้ง อำเภอ ชุมแพ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 และยุบอำเภอชนบทไปเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบ้านไผ่

รายนามนายอำเภอชุมแพ จากอดีต - ปัจจุบัน
นายอำเภอชุมแพคนแรกคือ นายพิชญ์ พรหมนาท ตั้งแต่ 3 ส.ค.2486 - 4 ก.ย.2489 และ ปัจจุบันคือ นายปิยิน ตลับนาค ตั้งแต่ 25 ม.ค. 2553 แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองที่ พุทธศักราช 2457 เป็น 12 ตำบล 135 หมู่บ้าน ดังนี้.-
1. ตำบลชุมแพ 11 หมู่บ้าน 7. ตำบลหนองไผ่ 16 หมู่บ้าน
2. ตำบลนาเพียง 15 หมู่บ้าน 8. ตำบลขัวเรียง 12 หมู่บ้าน
3. ตำบลหนองเขียด 10 หมู่บ้าน 9. ตำบลโนนหัน 10 หมู่บ้าน
4. ตำบลโนนอุดม 11 หมู่บ้าน 10. ตำบลวังหินลาด 12 หมู่บ้าน
5. ตำบลนาหนองทุ่ม 13 หมู่บ้าน 11. ตำบลโนนสะอาด 9 หมู่บ้าน
6. ตำบลไชยสอ 6 หมู่บ้าน 12. ตำบลหนองเสาเล้า 10 หมู่บ้าน

ประชากรที่อาศัยในพื้นที่อำเภอชุมแพ ส่วนใหญ่ มีเชื้อชาติ / ชาติพันธุ์ ดังนี้
1 ไทย 2 จีน
อาชีพหลัก
1 เกษตรกรรม
2 รับจ้าง
3 ค้าขาย

สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของประชาชน ได้แก่ ข้าวเรียบฟักทอง/เผือก/มัน, ขนมจีนอบแห้ง,ผลิตข้าวหลาม,ผลิตภัณฑ์ผ้าทอสีธรรมชาติ

งานประเพณี/งานประจำปีของอำเภอชุมแพ "งานกาชาดประจำปี รวมของดีเมืองชุมแพ" ห้วงเดือนที่จัดงาน เดือน มีนาคม ของทุกปี อำเภอชุมแพ ถือเป็นเมืองผ่าน เป็นชุมทางคมนาคมขนส่ง เป็นศูนย์กลางการทำมาค้าขายที่ต่างอำเภอ และจังหวัดใกล้เคียง ได้มาซื้อขายพบปะแลกเปลี่ยนสินค้าตลอดจนผลผลิตต่าง ๆ อยู่เสมอนับจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ส่วนใหญ่จะมีพ่อค้าคนกลางมารับไปขายทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ ตลอดทั้งมีกลุ่มอาชีพ กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ตำบลโนนหัน ได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพ ทอผ้าด้วยกี่กระตุก ซึ่งมีลวดลายเป็นของตนเอง ตำบลหนองไผ่ มีกลุ่มอาชีพทำข้าวหลามจำหน่าย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวหลามที่มีรสชาติอร่อย และเก็บไว้ได้นาน ชาวบ้านยึดทำเป็นอาชีพทั้งหมู่บ้าน ตำบลไชยสอ ผลิตและแปรรูปข้าวกล้องออกจำหน่าย ตำบลโนนสะอาดผลิตหม่ำเนื้อ ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวอีสาน ตำบลขัวเรียง ผลิตพรมเช็ดเท้า และเสื่อกกที่หาวัสดุได้ภายในท้องถิ่น ตำบลวังหินลาด ผลิตไม้กวาดทางมะพร้าว เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีพืชผลทางการเกษตรอีกมากมาย สินค้าดังกล่าวนับเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับชาวอำเภอชุมแพมาช้านาน นอกจากนั้นยังมี มีศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน อาทิ เมืองโบราณโนนเมือง ที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 ชั้น ซึ่งเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดี(พุทธศตวรรษที่ 12-16) ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์(อายุประมาณ 2500-2000 ปี) ผาพระนอน(พระปางไสยาสน์) ตั้งอยู่บนยอดเขาภูเวียง ศิลปะสมัยทวาราวดี ดังนั้น ชาวอำเภอชุมแพ ส่วนราชการ หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน จึงรวมใจกันจัดงาน "กาชาดประจำปี รวมของดีเมืองชุมแพ" ขึ้น เป็นประจำทุกปี ติดต่อกัน
นอกจากนั้น ยังมีประเพณีท้องถิ่นที่ประชาชนได้ถือปฏิบัติเป็นประจำ ซึ่งเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "ฮีต 12 " หรือประเพณี 12 เดือน

สถานที่ท่องเที่ยว
1. เมืองโบราณโนนเมือง ตั้งอยู่บ้านโนนเมือง หมู่ที่ 4 ตำบลชุมแพ 2. ผาพระนอน (พระปางไสยาสน์) ตั้งอยู่บนยอดเขาภูเวียง บ้านโนนสะอาดหมู่ที่ 8 ตำบลหนองไผ่ 3. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ที่ตั้งที่ทำการอุทยานบ้านซำผักหนาม หมู่ที่ 12 ตำบลนาหนองทุ่ม ได้แก่ ถ้ำปู่หลุบ/ถ้ำผาพวง/ผานกเค้า

คำขวัญอำเภอชุมแพ
หลักเมืองเก่าชุมแพ แลผาพระนอนล้ำค่า
อารยธรรมโนนเมืองลือเลื่องเศรษฐกิจ ติดตาผานกเค้า เข้าชมถ้ำผาพวง
บวงสรวงปู่หลุบ

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ที่ว่าการอำเภอชุมแพ
หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.1 บ้านชุมแพ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น 40130 ซอย - ถนน มลิวรรณ
จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อำเภอชุมแพ
บุคคลอ้างอิง นางสุกานดา เดชวิชิตชัย อีเมล์ sukanda948@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอชุมแพ
หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.1 ที่ว่าการอำเภอชุมแพ ซอย - ถนน มลิวรรณ
จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40130
โทรศัพท์ 081-8746980 โทรสาร 043-311300
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่