ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 18' 39.6634"
16.3110176
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 16' 29.4359"
100.2748433
เลขที่ : 130652
พิธีพุทธาภิเษก
เสนอโดย ต๊อกก้า ล่าปลาเก๋า วันที่ 12 เมษายน 2555
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 25 เมษายน 2555
จังหวัด : พิจิตร
0 2745
รายละเอียด

พิธีพุทธาภิเษก คือ พิธีการปลุกเสกประจุพุทธคุณลงในวัตถุมงคล (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ หน้า ๗๙๕ และพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ ชุด “ คำวัด ” โดยพระธรรมกิตติวงศ์ หน้า ๗๐๐) โดยใช้พุทธคุณซึ่งมีอยู่ในบทพุทธปริตร หรือ บทพุทธมนต์ หรือโดยใช้สมาธิจิตที่เกิดจากปฏิบัติกรรมฐาน ประจุลงในวัตถุมงคล ต่าง ๆ เช่น การประจุพุทธคุณลงในรูปหล่อหลวงพ่อเงิน ณ วัดท่าบัวทอง และพระพุทธรูปจำลองในโบสถ์ มิได้หมายถึงพิธีการปลุกเสกเฉพาะพระพุทธรูป จำลองอย่างเดียวดังนั้นไม่ว่าจะปลุกเสกวัตถุมงคลประเภทใดเรียก ว่าพิธีพุทธาภิเษก เหมือนกันหมด และมีความเชื่อว่าวัตถุมงคลที่ผ่านพิธีพุทธา ภิเษกแล้วย่อมกลายเป็นวัตถุมงคลที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องกันภัยอันตรายและ ให้เกิดความ สวัสดีมีชัยได้
ปัจจุบันมีศัพท์เรียกพิธีกรรมดังกล่าวงอกขึ้นใหม่และนำมาเรียก ใช้กันทั่วไป เช่น พิธีมังคลาภิเษก พิธีเทวาภิเษก เป็นต้น โดยอาจมีความประสงค์ให้เรียกชื่อพิธีตรงตามวัตถุ มงคลนั้น ๆ ดังนี้
- พิธีพุทธาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระพุทธรูปจำลอง และรูปจำลองพระเกจิ อาจารย์ทั้งหลาย
- พิธีมังคลาภิเษก คือพิธีปลุกเสกพระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์
- พระราชวงศ์ เช่น สมเด็จพระปิยมหาราช พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นต้น
- พิธีเทวาภิเษก คือพิธีปลุกเสกรูปจำลองเทพเจ้าต่าง ๆ เช่น พระพรหม องค์ จตุคามรามเทพ พระพิฆเณศร์ เป็นต้น
บาง กรณีนำวัตถุมงคลต่าง ๆ มาปลุกเสกในคราวเดียวกันก็มักเรียกพิธีรวมกันก็มี เช่น พิธีพุทธมังคลาภิเษก พิธีพุทธเทวาภิเษก พิธีมังคลเทวาภิเษก เป็นต้น ศัพท์ที่ใช้เรียกพิธี ตามวัตถุมงคลต่าง ๆ ดังกล่าวแม้จะไม่ตรงกับคำเดิมที่ให้ใช้คำว่า พิธีพุทธาภิเษก แต่พิธีการ ปฏิบัติเหมือนกันทุกพิธี

พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลทุกประเภท มีหลักการปฏิบัติดังนี้
๑. เครื่องใช้ในพิธี
๑.๑ โต๊ะหมู่บูชา พร้อมดอกไม้ธูปเทียน
๑.๒ เครื่องใช้สำหรับพระสงฆ์
- เครื่องรับรองพระสงฆ์เช่นเดียวกับงานมงคลทั่วไป
- ตั่ง/ที่นั่งพระมหาเถระประธานฝ่ายสงฆ์
- อาสน์สงฆ์พระเจริญพระพุทธมนต์ ๙ รูป (พิธีหลวงหรือพิธีทาง ราชการ ๑๐ รูป)
- อาสน์สงฆ์พระสวดภาณวาร ๔ รูป
- ตั่ง / ที่นั่งพระเกจิอาจารย์ / พระเถระภาวนาจารย์ ๙ รูป (หรือตามความประสงค์) จัดให้นั่งรอบวัตถุมงคล
๑.๓ เครื่องประกอบพิธีพุทธาภิเษก
- เทียนวิปัสสี ไส้เกินอายุผู้จุด ๑ เล่ม
- เทียนมหามงคล หนัก ๘ บาท ๒ เล่ม
- เทียนนวหรคุณ หนัก ๑ บาท ๙ เล่ม

- เทียนเงินเทียนทอง ๒ เล่ม
- เทียนชัย ไส้ ๑๐๘ เส้น หนัก ๘๐ บาท สูงเท่ากับเจ้าของพิธี ๑ เล่ม (ปักในตู้เทียนชัย)
- เทียนพุทธาภิเษก หนัก ๓๒ บาท ๒ เล่ม
- เทียนที่เครื่องกระบะมุก ๑ ชุด
- ขันสาครใส่น้ำมนต์ ๒ ใบ (ปักเทียนพุทธาภิเษกไว้ตรงกลาง)
- สายสิญจน์รอบปริมณฑล ขึงเป็นตาข่ายห่างกัน ๑ ช่วงแขน
- ฉัตรขาว ๕ ชั้น ๖ ต้น ขนาดความสูงตามความเหมาะสม ปัก ๔ มุม และซุ้มประตูทางเข้า
- ราชวัติ ๔ มุม (๘ ข้าง ยาวข้างละ ๑ เมตร)
- โต๊ะวางวัตถุมงคลพร้อมปูผ้าขาว ขนาดโต๊ะสูงกว่าที่นั่งพระสงฆ์ตาม สมควร
- พลู ๗ ใบ ซ้อนกันสำหรับดับเทียนชัย
- บาตรใส่น้ำมนต์สำหรับพระเกจิอาจารย์/พระเถระภาวนาจารย์นั่งปรก ครบทุกรูป
๑.๔ เครื่องไทยธรรมถวายพระสงฆ์ในพิธีทั้งหมด

ข้อมูลจาก : http://www.baanmaha.com/community/thread19212.html

สถานที่ตั้ง
วัดท่าบัวทอง
ตำบล โพธิ์ประทับช้าง อำเภอ โพธิ์ประทับช้าง จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
เว็บไซต์บ้านมหาดอทคอม
บุคคลอ้างอิง นายภูวดล สังขพาลี อีเมล์ tockca-ja@hotmail.co.th
อีเมล์ tockca-ja@hotmail.co.th
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ 056612675
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่