ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 15' 55.8594"
16.2655165
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 44' 25.9962"
103.7405545
เลขที่ : 131371
อีเอ็ม (EM) น้ำหมักชีวภาพ
เสนอโดย opas วันที่ 19 เมษายน 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 21 มีนาคม 2559
จังหวัด : กาฬสินธุ์
5 492
รายละเอียด

อีเอ็ม (EM) คืออะไร

-บ้านสองห้อง หมู่ 11 ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์รหัสไปรษณีย์ 46210 โทรศัพท์ 0857545321

- EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ศึกษาแนวคิดเรื่อง " ดินมีชีวิต" ของท่านโมกิจิ โอกะดะ (พ.ศ.2425-2498) บิดาเกษตรธรรมชาติของโลกจากนั้น ดร.ฮิงะ เริ่มค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี พ.ศ 2510และค้นพบ EM เมื่อ พ.ศ. 2526ท่านอุทิศทุ่มเททำการวิจัยผลว่ากลุ่มจุลินทรีย์นี้ใช้ได้ผลจริง หลังจากนั้นศาสนาจารย์วาคุกามิ ได้นำมาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยท่านเป็นประธานมูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา หรือ คิวเซ (คิวเซ แปลว่า ช่วยเหลือโลก) ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

-จากการค้นคว้าพบความจริงเกี่ยวกับจุลินทรีย์ว่ามี 3กลุ่ม คือ

1. กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพ มีประมาณ 10 %

2. กลุ่มทำลาย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นโทษ ทำให้เกิดโรค มีประมาณ 10 %

3. กลุ่มเป็นกลาง มีประมาณ 80 % จุลินทรีย์กลุ่มนี้หากกลุ่มใด มีจำนวนมากกว่ากลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย

- ดังนั้น การเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพลงในดิน ก็เพื่อให้กลุ่มสร้างสรรค์มีจำนวนมากกว่า ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้กลับมีพลังขึ้นมา อีกหลังจากที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป

-จุลินทรีย์มี 2ประเภท

1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria)

2. ประเภทไม่ต้องการอากาศ (Anaerobic Bacteria)

- จุลินทรีย์ทั้ง 2กลุ่มนี้ ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และสามารถอยู่ร่วมกันได้

- จากการค้นคว้าดังกล่าว ได้มีการนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรรอย่างดีจากธรรมชาติ ที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5กลุ่ม (Families) 10จีนัส (Genues) 80ชนิด (Spicies) ได้แก่

-กลุ่มที่ 1เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย (Filamentous fungi) ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

-กลุ่มที่ 2เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง (Photosynthetic microorganisms) ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน (N2) กรดอะมิโน (Amino acids) น้ำตาล (Sugar) วิตามิน (Vitamins) ออร์โมน (Hormones) และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

-กลุ่มที่ 3เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก (Zynogumic or Fermented microorganisms) ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค (Diseases resistant) ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการ พังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้

-กลุ่มที่ 4เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน (Nitrogen fixing microorganisms) มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน (Protein) กรดอินทรีย์ (Organic acids) กรดไขมัน (Fatty acids) แป้ง (Starch or Carbohydrates) ฮอร์โมน(Hormones) วิตามิน (Vitamins) ฯลฯ

-กลุ่มที่ 5เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก (Lactic acids) มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อย หรือดินก่อโรคให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือให้หมดไป นอกจากนี้ยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

-ลักษณะทั่วไปของ EM

- EM เป็นจุลินทรีย์ กลุ่มสร้างสรรค์ เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ หรือ เรียกว่ากลุ่มธรรมะ ดังนั้น เวลาจะใช้ EM ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอว่า EM เป็น สิ่งมีชีวิต EM มีลักษณะดังนี้

- ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ

- ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

- เป็นจุลินทรีย์จากธรรมชาติ ไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมีและ ยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้

- เป็นตัวเอื้อประโยชน์แก่พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล

- EM จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้นควรใช้ช่วงเย็นของวัน

เป็นตัวทำลายความสกปรกทั้งหลาย

-การดูแลเก็บรักษา

- หัวเชื้อ EM สามารถเก็บได้นานประมาณ 1ปี โดยปิดฝา ให้สนิท

-อย่า ทิ้ง EM ไว้กลางแดด และ อย่าเก็บไว้ในตู้เย็น เก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิปกติ ทุกครั้งที่แบ่งไปใช้ต้องรีบปิดฝาให้สนิท เพื่อไม่ให้เชื้อโรค หรือจุลินทรีย์ในอากาศที่เป็นโทษ เข้าไปปะปน

- การนำ EM ไปขยายต่อ ควรใช้ภาชนะที่สะอาด และใช้ให้หมดในระยะเวลาที่เหมาะสม

-ข้อสังเกตพิเศษ

- หาก EM เปลี่ยนเป็นสีดำ มีกลิ่นเหม็นเน่า ถือว่า EM ตาย ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อีก ให้นำ EM ที่เสียผสมน้ำรดกำจัดหญ้าและวัชพืชที่ไม่ต้องการได้

- กรณีเก็บไว้นานๆ จะมีฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่า EM พักตัว เมื่อเขย่าภาชนะ ฝ้าสีขาวจะสลายตัว กลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิมนำไปใช้ได้

-เมื่อ นำไปขยายเชื้อในน้ำและกากน้ำตาล จะมีกลิ่นหอมและ เป็นฟองขาวๆ ภายใน 2-3วัน ถ้าไม่มีฟอง น้ำนิ่งสนิทแสดงว่าการหมักขยายเชื้อยังไม่ได้ผล

- การทำน้ำหมักชีวภาพ EM

- ก่อนที่จะลงมือทำ เราควรทราบหลักการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพกันก่อนคือ ประเด็นแรกคือ ความสะอาด ไม่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ประเภททำลายหรือทำให้เกิดการบูดเน่า ซึ่งการใช้ภาชนะที่สะอาดและมีฝาดปิดมิดชิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรละเลย ประการต่อมาคือ ขณะหมักจะต้องวางถังหมักไว้ในที่ร่มไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ตายและแสงแดดยังสลายสารอาหารที่เป็น ประโยชน์ด้วย ประการต่อมาคือ ต้องให้เวลาในการหมักนานประมาณ 3เดือนเพื่อให้กระบวนการย่อยสลายมีความสมบูรณ์ จึงสามารถนำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งานหรือทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับ ยางพาราหรือพืชทั่ว ๆ ไป และประการสุดท้าย หากต้องการขยายหัวเชื้อ จะต้องทำการละลายน้ำตาลกับน้ำสะอาดก่อนที่จะใส่หัวเชื้อน้ำหมัก

-วัสดุและอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพในถังขนาด 60ลิตร

1. ผลไม้สุก 12 กิโลกรัม เช่น ฟักทอง(เอาทั้งเมล็ด), กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, สับปะรด(เอาทั้งเปลือก) ให้ทำการสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามภาพ

2. น้ำตาล ธรรมชาติ เช่น น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนดที่ไม่ผ่านการฟอกสีหรือเจือปนด้วยน้ำยากันเสีย หรือใช้กากน้ำตาล จำนวน 4กิโลกรัม

3. น้ำสะอาด 40ลิตร ควรเป็นน้ำฝน หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็ควรใส่ตุ่มตากแดดเพื่อไล่คลอรีนให้หมดก่อน

4. ภาชนะ หมัก ควรเป็นภาชนะชนิดทึบแสงและมีฝาปิดสนิท ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดและถ้าตากแดดก่อนใช้ก็ยิ่งดี ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเนื่องจากเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะถูกกัดจนทะลุได้

5. ไม้พาย ควรเตรียมไว้ โดยล้างให้สะอาดพร้อมตากแดดก่อนใช้

ร่วมแรงร่วมใจกันสับผลไม้ สับผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดพอเหมาะ

-วิธีทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ

1. ใส่น้ำสะอาด 40ลิตร ลงในถังหมักขนาด 60ลิตร

2. น้ำหมักชีวภาพใส่กากน้ำตาล จำนวน 4กิโลกรัม ลงในถังหมัก แล้วใช้ไม้พายกวนให้เข้ากัน

3. ใส่ผลไม้สุก 12 กิโลกรัม ลงในถังหมัก กวนให้พอเข้ากัน (หลักการผสมคือ ผลไม้สุก 3กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1กิโลกรัม : น้ำ 10ลิตร)

4. หลัง จากใส่ส่วนผสมทั้งหมดแล้วควรมีพื้นที่ว่างเพื่อให้มีอากาศอยู่ประมาณ หนึ่งในห้า ของภาชนะ ทำการปิดฝาให้สนิท เขียนป้ายบอกวันที่ผลิต และถังหมักควรอยู่ในที่ร่ม

5. เมื่อ ครบ 7วันให้เปิดฝาถังหมักดู ถ้ามีราขาวเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับมีกลิ่นส้มฉุน แสดงว่าการหมักของเราได้ผลดี แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นบูด และน้ำเป็นสีดำ ให้ทำการเพิ่มน้ำตาลหรือกากน้ำตาลลงไปอีก แล้วปิดฝา (ถ้ามีหนอนเกิดขึ้น ก็ไม่เป็นไร เพราะอาจจะเกิดจากการปิดฝาไม่สนิท ต่อมาหนอนจะตายกลายเป็นอาหารพืชไปเอง)

6. เมื่อ ครบกำหนด 3เดือน ก็เป็นอันเสร็จ ให้กรองเอาเฉพาะน้ำใส ๆ ด้านบนหรือน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งาน โดยต้องผสมน้ำก่อน ตามอัตราส่วน ดังนี้

- น้ำหมัก : น้ำ 1: 200เมื่อนำไปใช้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

- น้ำหมัก : น้ำ 1: 200เมื่อนำไปใช้ฉีดพ่นหน้ากรีดหรือหน้ายางเพื่อเพิ่มน้ำยาง(1-2สัปดาห์ต่อครั้ง)

- น้ำหมัก : น้ำ 1: 500เมื่อนำไปใช้กับจำพวกไม้ยืนต้น

- น้ำหมัก : น้ำ 1:1000เมื่อนำไปใช้กับจำพวกพืชผัก

- น้ำหมัก : น้ำ 1:1หรือใช้น้ำหมักอย่างเดียว(ให้ทดลองว่าแบบใดได้ผลดีกว่า) เพื่อฉีดพ่นกำจัดวัชพืช

- นอกจากนี้ เมื่อหมักครบ 3เดือนแล้ว ก็สามารถนำไปขยายหัวเชื้อต่อ ได้อีก

7. นำกากที่เหลือไปทำปุ๋ย โดยเทรอบ ๆ โคนต้นในรัศมีพุ่มใบต้นไม้ หรือปล่อยกากที่เหลือไว้ก้นถังหมักเพื่อขยายหัวเชื้อต่อ

-หมายเหตุ: ระหว่างการหมัก หรือก่อนครบ 3เดือน ถ้าสังเกตุเห็นว่าถังบวม ให้รีบเปิดฝาเพื่อระบายอากาศออก แล้วรีบปิดฝาให้สนิททันทีเพื่อป้องกันเชื้ออื่นแทรกลงไป

-วิธีการขยายหัวเชื้อน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ

1. ผสมกากน้ำตาล 1ส่วนกับน้ำสะอาด 8-10ส่วน ในภาชนะที่จะใช้หมัก

2. ใส่น้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ 1ส่วน ลงไปในถังหมัก (ต้องทำข้อ 1ก่อนเสมอ)

3. หมักไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 1-2เดือน

4. เปิดฝา และสังเกตุดูว่าน้ำหมักที่ได้ ถ้ามีสีน้ำตาลอมเหลือง หรือมีฝ้าลอยอยู่บนผิว และมีกลิ่นส้มฉุน หรือกลิ่นส่าเหล้า แสดงว่านำไปใช้งานได้แล้ว หรือจะทำการขยายหัวเชื้อต่อไป ก็ได้

-หมายเหตุ: หากทำได้ ทุก 2เดือนเราควรขยายน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้กากน้ำตาลและน้ำตามขั้นตอนที่กล่าวมา น้ำจะเป็นบ้านหลังใหญ่ให้กับเหล่าจุลินทรีย์ทั้งหลาย กากน้ำตาลจะเป็นอาหารที่ทำให้เหล่าจุลินทรีย์มีพลังงานและแข็งแรง ผลิตลูกผลิตหลานให้มีจำนวนมากขึ้น ๆ พร้อม ๆ กับสร้างสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์และพลังงานที่เก็บอยู่ในรูปสารอาหาร

- การขยายน้ำหมักชีวภาพให้มีอายุมากขึ้น ๆ ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มปริมาณเหล่าจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์พร้อมสร้างสาร อาหารให้มากขึ้นและซับซ้อนยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น การนำน้ำหมักชีวภาพที่มีอายุน้อย ๆ เช่น 7วัน หรือ 15วัน มาใช้งาน ก็เปรียบเสมือนเด็กทารกที่มีพละกำลังน้อย เสบียงน้อย ฤา จะสู้กับน้ำหมักที่มีอายุยาวนาน 2ปีหรือมากกว่า ซึ่งจะเป็นจุลินทรีย์ที่มีพละกำลังและเสบียงมากกว่า ได้ นั่นคือ น้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์ที่มีอายุยาวนาน ตั้งแต่ 2ปีขึ้นไป เป็นเคล็ดลับ(ที่ไม่ลับ)สุดยอดที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการใช้งานด้านต่าง ๆ

- น้ำหมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์ที่มีอายุยาวนาน ตั้งแต่ 2ปีขึ้นไป เหมาะสำหรับใช้งานด้านการเกษตรและการซักล้าง

น้ำ หมักชีวภาพหรือจุลินทรีย์ที่มีอายุยาวนาน ตั้งแต่ 4ปีขึ้นไป เหมาะสำหรับใช้งานในการบำบัดน้ำเสีย, กำจัดกลิ่นเหม็น, สลายสารพิษหรือสารเคมีตกค้าง

- ดังนั้น จึงควรขยายน้ำหมักชีวภาพเสมอ ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ เพื่อให้ได้น้ำหมักชีวภาพที่เปี่ยมล้นด้วยคุณภาพ

-ข้อมูลจาก

- http://www.chivavithee.net

- http://www.live-rubber.com/

สถานที่ตั้ง
อีเอ็ม,(EM),น้ำหมักชีวภาพ
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านสองห้อง หมู่ 11 ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัด
ตำบล ร่องคำ อำเภอ ร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=201:-em&catid=52:2011-05-30-06-35-01&Itemid=159
บุคคลอ้างอิง นายโอภาส พลเยี่ยม
ชื่อที่ทำงาน นายโอภาส พลเยี่ยม
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านสองห้อง หมู่ 11 ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัด ถนน โพธิ์ชัย-ร้อยเอ็ด
ตำบล ร่องคำ อำเภอ ร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46210
โทรศัพท์ 0857545321
เว็บไซต์ http://km.rubber.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=201:-em&catid=52:2011-05-30-06-35-01&Itemid=159
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 20 เมษายน 2555 เวลา 14:36
น่าสนใจมากครับ ถ้ามีภาพท่านด้วยจะสุดยอดเลยครับ ภาพท่านอาจารย์นะครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่