ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 15' 55.8594"
16.2655165
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 44' 25.9962"
103.7405545
เลขที่ : 131459
กระถิน, ผักกะเสด
เสนอโดย opas วันที่ 19 เมษายน 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 21 มีนาคม 2559
จังหวัด : กาฬสินธุ์
17 1530
รายละเอียด

กระถิน, ผักกะเสด

-ที่ตั้ง 108 ม.8 บ.กุดลิง ต.ร่องคำ อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46210 โทรศัพท์ 08-7860-9032

-ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucaena glauca Benth.

-ชื่อภาษาอังกฤษ White popinac, Wild tamarind, Leadtree

-วงศ์ LEGUMINOSAE

-ชื่ออื่นๆ กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเขา สะตอเขา สะตอเทศ ผักก้านถิน ผักหนองบก กระถินไทย กระถินบ้าน

-ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

-กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา

1. ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว 12.5-25ซม. แกนกลางใบ ประกอบยาว 10-20ซม. มีขน แยกแขนง 2-10คู่ ยาว 5-10ซม.

-ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย 5-20คู่ เรียงตรงข้าม รูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถบ กว้าง 2-5มม. ยาว 0.6-2.1ซม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว

-ขอบมีขน ท้องใบมีนวล

2. ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ 1-3ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย

3. ผล เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาวประมาณ 4-5นิ้วฟุต เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝัก ตลอดฝัก

-การปลูก

-กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

-ประโยชน์ทางยา

-ส่วนที่ใช้เป็นยา ดอก ราก เมล็ด

-รสและสรรพคุณในตำรายาไทย

1. ดอก รสมัน บำรุงตับ แก้เกล็ดกระดี่ขึ้นตา

2. ราก รสเจื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ

3. เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)

-ขนาดและวิธีใช้

-ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม ผู้ใหญ่ใช้ครั้งละ 25-50กรัม เด็กใช้ 5-20กรัม ต่อวัน รับประทานตอนท้องว่างในตอนเช้าเป็นเวลา 3-5วัน

-ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

1. สารสกัดจากใบกระถินฉีดเข้าหลอดโลหิตสุนัข ทำให้ความดันโลหิตลดลง อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง กระตุ้นการหายใจ ฤทธิ์ลดความดันโลหิต

-สามารถต้านได้ด้วย atropine และยาต้านฮีสตามีน ซึ่งถ้าใช้ antropine และยาต้านฮีสตามีนร่วมกัน จะสามารถต้านฤทธิ์กระถินสมบูรณ์

-และเมื่อใช้น้ำยาสกัดกระถิน กับหัวใจที่แยกออกมาจากตัวกบและเต่า พบว่าอัตราการบีบของหัวใจลดลง

-และในระบบทางเดินอาหารทั้งการทดลองแบบ in vitro พบว่าน้ำสกัดทำให้แรงตึงตัวและแรงบีบตัวเพิ่มขึ้น เมื่อทดลอง in vivo

-การบีบของกระเพาะลำไส้ตามปกติลดลง

2. ผลเมล็ดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือดในหนูขาว แต่เมล็ดมีสาร leucenine ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับ mimosine

-ซึ่งจะทำให้เป็นหมันในสัตว์ได้

-การทดสอบความเป็นพิษ

-ไม่มีรายงานของความเป็นพิษเนื่องจากการกินกระถินเกิดขึ้นในคน

-ประโยชน์ทางอาหาร

-ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน และฝักอ่อน

-คุณค่าทางโภชนาการ

-ยอดอ่อนของกระถิน 100กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย62กิโลแคลอรี ประกอบด้วยน้ำ 80.7กรัม คาร์โบไฮเดรต 5กรัม โปรตีน 8.4กรัม ไขมัน

-0.9กรัม กาก 3.8กรัม แคลเซียม 137มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11มิลลิกรัม เหล็ก 9.2มิลลิกรัม วิตามินเอ 7883 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.33มิลลิกรัม

-วิตามินบีสอง 0.09มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7มิลลิกรัม วิตามินซี 8มิลลิกรัม

-ประโยชน์อื่น

-เมล็ดกระถินสามารถนำมาทำเป็นเครื่อง ประดับหลายชนิด เช่น สายสร้อย เข็มกลัด เข็มขัด เปลือกให้เส้นใยสั้นใช้ทำกระดาษได้ แต่คุณภาพไม่ดี

-ในชนบทนิยมปลูกกันเป็นแนวรั้วบ้าน ใบกระถินอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนและเกลือโพแทสเซียม นำมาหมักเป็นปุ๋ยได้ ใบ ยอด ฝักและเมล็ดอ่อน

-ใช้เป็นอาหารของ วัว ควาย แพะ แกะ ไก่ ฯลฯ

-http://www.the-than.com/samonpai/sa_32.html

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
กระถิน, ผักกะเสด
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.8 บ.กุดลิง ถนน โพธิ์ชัย-ร้อยเอ็ด
ตำบล ร่องคำ อำเภอ ร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.the-than.com/samonpai/sa_32.html
บุคคลอ้างอิง นายโอภาส พลเยี่ยม อีเมล์ opas2510@yahoo.co.th
ชื่อที่ทำงาน นายโอภาส พลเยี่ยม อีเมล์ opas2510@yahoo.co.th
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.8 บ.กุดลิง ถนน โพธิ์ชัย-ร้อยเอ็ด
ตำบล ร่องคำ อำเภอ ร่องคำ จังหวัด กาฬสินธุ์ รหัสไปรษณีย์ 46210
โทรศัพท์ 0878609032
เว็บไซต์ http://www.the-than.com/samonpai/sa_32.html
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ 20 เมษายน 2555 เวลา 14:28
ดีมากครับ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่