ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 28' 5.0066"
16.4680574
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 33' 34.9405"
100.5597057
เลขที่ : 131714
ตะกร้าเชือกปอเฮ
เสนอโดย วัฒนธรรมอำเภอสากเหล็ก วันที่ 20 เมษายน 2555
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 23 เมษายน 2555
จังหวัด : พิจิตร
0 2469
รายละเอียด

ชื่อ ตะกร้าเชือกปอเฮ

ชื่อผู้ผลิต นางสังวรย์ บุญรอดดิษฐ์...

ประเภทเป็นผลิตภัณฑ์ สำหรับใช้เป็นเครื่องประดับสตรี เช่น กระเป๋าสะพาย กำไลข้อมือ รองเท้าสานใส่อยู่บ้านฯและใช้เป็นตะกร้าใส่สิ่งของหรือนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาออกแบบเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ แจกัน โคมไฟฯ

ความเป็นมา เชือกปอเฮคือเชือกที่ทำจากเชือกที่ใช้มัดฟางหรือหญ้าแห้งซึ่งถนอมไว้เป็นอาหารสัตว์เชือกมัดฟางมีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์(ไนลอน) กับปอมีความเหนียวแข็งแรง ทนทานไม่เปื่อยยุ่ยไม่ขึ้นรา สามารถทำความสะอาดด้วยการซักปัจจุบันสามารถจัดหาซื้อได้จากบริษัทผู้ผลิตเชือกปอเฮจากกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัด

ลวดลายที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น ลายไทยสามชั้น ลายผีเสื้อ ลายใบไม้ เป็นต้น

วัสดุที่ใช้ เชือกที่ทำจากเชือกที่ใช้มัดฟางหรือหญ้าแห้งซึ่งถนอมไว้เป็นอาหารสัตว์เชือกมัดฟางมีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์(ไนลอน)

ขั้นตอนการผลิต

๑. หลังจากนำลวดซีลายมาเชื่อมติดเป็นโครงในรูปแบบที่ต้องการเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ดึงเชือกปอเฮออกจากม้วนเชือก โดยไม่ต้องแกะถุงพลาสติกที่หุ้มเชือกออก ทั้งนี้เชือกที่ยังไม่ได้ถักจะได้ไม่สกปรกหรือเปื้อนฝุ่น นำเชือกปอเฮดึง ออกมาจากม้วนพอประมาณนั้น ตัดด้วยกรรไกรแล้วนำมาพันและถักเข้ากับโครงลวดซีลายโดยพันจำนวน ๑ รอบโครงลวกซีลาย ทั้งนี้ ต้องถักเชือกปอเฮพันให้ครบโครงลวดทุกเส้น

๒. เมื่อพันโครงลวดต้นแบบครบเรียบร้อยแล้ว ให้ดึงเชือกปอเฮออกจากม้วนให้ยาวประมาณ ๙๐เซนติเมตร แล้วนำมา ถักพันขึ้นเป็นลายธรรมดาที่ก้นตะกร้าก่อนในอันดับแรก

๓. เมื่อถักลวดลายที่ก้นตะกร้าเสร็จเรียบร้อย ให้นำเชือกปอเฮออกมาตัดใหม่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดความสูงของตะกร้า ในแต่ละใบ ดังนี้คือ เช่น ถ้าตะกร้ามีความสูงประมาณ ๗ นิ้ว จะต้องใช้เชือกปอเฮที่มีความยาวในแต่ละเส้น ประมาณ ๑๑๐ เซนติเมตร และถ้าตะกร้า มีความสูง ๖ นิ้ว ความยาวของเชือกปอเฮที่ใช้ถักประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร แล้วนำเหล็กตะขอเกี่ยวมาร้อยเชือกปอเฮเพื่อดึงเชือกปอเฮเข้าไปในช่องของเชือกปอเฮที่พันไว้รอบ ปากตะกร้าเพื่อถักให้เป็นลวดลายตามแบบที่ต้องการ ซึ่งในแต่ละลวดลายนั้นระยะห่างในการนับช่องที่ใช้เหล็ก ตะขอเกี่ยวเชือกร้อยเข้าช่องนั้นจะไม่เท่ากัน

๔. การถักลวดลายเชือกปอเฮให้เป็นตะกร้า/กระเป๋านั้น เมื่อถากบริเวณก้นตะกร้าเรียบร้อยแล้วจะเริ่มถักจากปาก ขอบตะกร้าด้านบน แล้วถักลวดลายหมุนวนรอบโครงรูปตะกร้าลงสู่ก้นตะกร้าด้านล่างตามลวดลายที่ต้องการ

๕. เมื่อถักเชือกปอเฮเป็นลวดลายจากขอบบนปากตะกร้าจนถึงก้นตะกร้าแล้ว นำเหล็กตะขอเกี่ยวมาร้อยเชือกปอเฮเข้าในช่องเชือกปอที่พันไว้ก้นตะกร้าเพื่อเชื่อมลายระหว่างตัวตะกร้ากับก้นตะกร้าให้เป็นลายเดียวกัน

๖. เมื่อเชื่อมลายระหว่างตัวตะกร้ากับก้นตะกร้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าลูกค้าสั่งให้กลุ่มแม่บ้านได้ถักตัวหนอนเพิ่มบริเวณที่ก้นตะกร้า เสริมจากเชือกปอเฮที่ได้มีการพันไว้แล้วจำนวน ๑ รอบ ในครั้งแรก กลุ่มแม่บ้านก็จะถักตัวหนอนด้วยเชือกปอเฮวนรอบก้นตะกร้าอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อความสวยงามและความคงทนแข็งแรง

หมายเหตุ : จากการสอบถามและการสาธิตของช่าง ทำให้รู้ความแตกต่างของลวดลายที่เกิดจากการนับช่องคือถ้ามีลายขนาดใหญ่ระยะห่างของช่องที่นับก็จะมีจำนวนมากขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นเลขคู่ ดังนี้

ลายไทยสามชั้น ระยะห่างของช่องนับได้ ๑๒ ช่อง จึงลงตะขอเหล็กเกี่ยว ๑ ครั้ง

ลายผีเสื้อ ระยะห่างของช่องนับได้ ๖ ช่อง จึงลงตะขอเหล็กเกี่ยว ๑ ครั้ง

ลายใบไม้ ระยะห่างของช่องนับได้ ๘ ช่อง จึงลงตะขอเหล็กเกี่ยว ๑ ครั้ง เป็นต้น

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่ 4 บ้านหนองคล้า ตำบลวังทับไทร อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่4 บ้านหนองคล้า
ตำบล วังทับไทร อำเภอ สากเหล็ก จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลวังทับไทร
บุคคลอ้างอิง นางสุรีย์พร ผดุงฉัตร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
เลขที่ 240/5 หมู่ที่/หมู่บ้าน มานุวงศ์
ตำบล คลองคะเชนทร์ อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร
โทรศัพท์ 056-612675
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
พิจิตร 23 เมษายน 2555 เวลา 22:30
ขอให้เป็นตัวอย่างการจัดเก็บหมวดนี้นะคะ



พิจิตร 23 เมษายน 2555 เวลา 22:29
ท่านวัฒนธรรมอำเภอสามกเหล็กข้อมูลเยี่ยมทั้งเนื้อหาและภาพประกอบค่ะ
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่