ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 33' 46.5973"
16.5629437
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 32' 59.9338"
100.5499816
เลขที่ : 131810
หอกปอกมะพร้าว
เสนอโดย วัฒนธรรมอำเภอสากเหล็ก วันที่ 21 เมษายน 2555
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 23 เมษายน 2555
จังหวัด : พิจิตร
1 666
รายละเอียด

ชื่อ หอกปอกมะพร้าว

ประเภท อุปกรณ์เครื่องใช้

ความเป็นมา มะพร้าวเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถให้ประโยชน์ได้มากมายเกือบทั้งต้นเช่นเดียวกับต้นกล้วย เช่น น้ำมะพร้าวเป้นเครื่องดื่มสมุนไพร ใช้ทำน้ำมัน กะลามะพร้าวใช้ประดิษฐ์เป็นภาชนะเครื่องใช้และเครื่องประดับ ขุยหรือใยมะพร้าวสามารถนำมายัดเป็นที่นอน ที่ดักฝุ่น เปลือกใยมะพร้าวนำมาปลูกกล้วยไม้ ต้นไม้ได้ แต่ทั้งนี้การแปรรูปจากผลมะพร้าวจะต้องผ่านการปอกเปลือกที่มีความแข็งและเหนียวออกเสียก่อน จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือชนิดนี้ขึ้นมา เนื่องจากสมัยก่อนจะใช้มีดพร้าคมๆ ในการปอกและต้องผู้ที่มีความชำนาญซึ่งการปอกนั้นมือ1ช้างจะต้องคองจับประคองลูกมะพร้าวและอีกมือหนึ่งต้องจับมีดที่แหลมคมเพื่อปอกเปลือก การปอกในแต่ละลูกจึงใช้เวลานานบางพื้นที่จะเรียกว่า "หลาว"

วัสดุที่ใช้ หอกปอกมะพร้าวทำมาจากแหนบรถยนต์โดยจะนำมาตีเหมือนการตีมีให้ส่วนบนแหลมคม คล้ายใบหอกหรือใบพายปลายชี้ขึ้นฟ้า ส่วนด้ามปลายที่ตั้งกับพื้นดินนั้นจะเชื่อม

ติดกับขาเหล็กสำหรับตั้งร่มกันแดด

ขั้นตอน วิธีการใช้เครื่องมือ มีดปอกมะพร้าวรูปใบหอก ปักแนวตั้ง แล้วจับลูกมะพร้าวอัดลงไปบนปลายใบหอก ปอกจนเสร็จ ....แล้วก้มลงเก็บลูกใหม่เพื่อ ปอกต่อ โดยไม่ต้องกังวัลในการจับลูกมะพร้าว กับถือมีด

ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับปอกมะพร้าวใน1วันสามารถปอกได้ถึง 100-150 ลูกต่อคน

สถานที่ตั้ง
ตำบลคลองทราย
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่1 ตำบลคลองทราย
ตำบล คลองทราย อำเภอ สากเหล็ก จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองทราย
บุคคลอ้างอิง นางสุรีย์พร ผดุงฉัตร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
เลขที่ 240/5 หมู่ที่/หมู่บ้าน มานุวงศ์
ตำบล คลองคะเชนทร์ อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่