ปี พ.ศ. 2540 จากการประกอบอาชีพเป็นรายครัวเรือนแต่ดั้งเดิมผู้ผลิตไม้กวาดเริ่มรวมตัวกัน โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มเกษตรไม้กวาดทองบุ่งหวาย”
-ต่อมาในปี พ.ศ.2542 กลุ่มไม้กวาดทองได้เข้าร่วมงาน กับ เครือข่ายลุ่มน้ำจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนเพื่อสังคม ( SIF ) เป็นเงินจำนวน 101,230 บาท
-ปัจจุบันได้ขยายเครือข่ายไม้กวาดทองเป็น 11 หมู่บ้าน มีสมาชิก 665 คนเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมพื้นถิ่น สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งกระบวนการประกอบไม้กวาดทางมะพร้าวจนเป็นไม้กวาดที่สมบูรณ์มีหลายขั้นตอน เด็กจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ก็สามารถทำได้
- การทำไม้กวาดทางมะพร้าว คือภูมิปัญญาอย่างหนึ่งที่คนไทยเรารู้จักคิดค้นหาวิธีประดิษฐ์ขึ้นจนสำเร็จและสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานต้นมะพร้าวเพียง 1 ต้น สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่างนอกจากจะนำน้ำมะพร้าวมาดื่ม เนื้อมะพร้าวมารับประทาน ทั้งรับประทานเนื้อสด ๆหรือนำมาคั้นเป็นกะทิใส่ในอาหารคาว หวาน ได้หลายอย่างแล้วกะลามะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์สิ่งของได้เช่นกัน อาทิ เครื่องประดับ เช่นสร้อยคอ สร้อยแขน แหวน กำไล เข็มขัด ของใช้ เช่น กะลาก๊อบแก๊บเปลือกของลูกมะพร้าวสามารถนำมาปลูกต้นไม้ได้ เช่น ปลูกต้นกล้วยไม้ยอดอ่อนของมะพร้าวก็สามารถนำมาทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงไก่ใส่ยอดมะพร้าวอ่อนยำยอดมะพร้าวอ่อน ยอดมะพร้าวอ่อนผัดกุ้ง ตำยอดมะพร้าวอ่อน เป็นต้นเยื่อหุ้มต้นมะพร้าวสามารถนำมาทำเป็นกระเป๋าได้ ลำต้นก็สามารถนำมาทำเก้าอี้ ทำรั้วใบมะพร้าวก็สามารถนำมาสานปลาตะเพียน ตั๊กแตน และเอามาห่อขนมได้ ส่วนทางมะพร้าวก็สามารถนำมาทำไม้กวาดปัดหยากไหย้ แจกัน ขันโตก ไม้กลัดห่อขนมหรือของต่างๆ
วัสดุที่ใช้ในการทำไม้กวาดทางมะพร้าว ประกอบด้วยวัสดุและอุปกณ์ ดังต่อไปนี้คือ ก้านมะพร้าวด้ามไม้ไผ่ หรือไม้รวก หรือไม้เนื้อแข็ง เชือกถัก ค้อน ตะปู ลวด ตะไบ คีม ขอนไม้ สีน้ำมัน สีน้ำหรือยาชันไม้
สำหรับการเลือกก้านมะพร้าวควรใช้ก้านมะพร้าวสวนหรือมะพร้าวทะเลเพราะก้านยาว เหนียวคงทนต่อการกวาด ถู มะพร้าวที่จะนำมาทำไม้กวาดทางมะพร้าว ต้องเป็นมะพร้าวก้านสูง ไม่แก่หรืออ่อนเกินไปไม่นิยมใช้ก้านมะพร้าวน้ำหอมเพราะก้านแกนสั้นไม่เหมาะแก่การทำไม้กวาดทางมะพร้าว
ขั้นตอนการทำไม้กวาดทางมะพร้าว
1. นำก้านมะพร้าวมาเหลาเอาใบออก ผึ่งแดดไว้ 2 วัน
2. นำก้านมะพร้าวที่แห้งดีแล้วมามัดเป็นกำๆละ 30 อัน จำนวน 12 มัด
3. นำมาถักเรียงกันเป็นรูปเฝือก มัดด้วยเชือกถักมาประกอบกับด้ามไม้ที่เตรียมไว้ มัดด้วย ลวดตอกตะปูให้แน่นกันเลื่อนขึ้น-ลง ของไม้กวาด
4. แบ่งถักด้วยเชือกถักเป็น 24 กำ (จากเดิม 12 กำ) ดึงให้แน่น
5. แซมด้วยก้านมะพร้าวอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ไม้กวาดแน่นหนาขึ้น
การตกแต่งและปรับปรุงไม้กวาดทางมะพร้าว
1. ทาสีน้ำมัน หรือยาชันที่โคนก้านมะพร้าวเพื่อกันหลุดจากด้าม
2. ขัดด้ามไม้กวาดด้วยตะไบ หรือกระดาษทรายเพื่อให้สวยงาม
คุณสมบัติ และ ประโยชน์:ทนทาน ใช้ทำความสะอาด