ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 17' 53.6874"
16.2982465
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 40' 40.548"
102.6779300
เลขที่ : 134617
ผ้าไหมมัดหมี่ลายเอกลักษณ์บ้านชาด
เสนอโดย Narin.Ch วันที่ 10 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 10 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 900
รายละเอียด

ผ้าไหมที่นิยมผลิตและจำหน่ายมากที่สุดในจังหวัดขอนแก่น คือผ้าไหมมัดหมี่อันเป็นการผลิตผ้าไหมที่มีกรรมวิธีการผลิตเฉพาะ ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษสืบสานภูมิปัญญามาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ผ้าไหมมัดหมี่ลายเอกลักษณ์บ้านชาด หมู่ที่ 9 ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น นับว่าเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่มีการสืบทอดการทำลวดลายมาจากบรรพบุรุษสืบต่อกันมาจนเป็นลายมัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนและเป็นแหล่งผ้าทอพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ลายผ้าไหมทอโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านชาด มีจำนวน 2 ลาย คือ ลายนาคน้อย และลายขอกระบวย

สำหรับลายที่เป็นลายโบราณ และนำมาประยุกต์ตกแต่งให้ดูสมสมัยและลวดลายเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านในการทำลายผ้าไหมมัดหมี่ที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ลายผ้าสมัยใหม่อีกลายหนึ่งคือ ลายไก่ต๊อก และปรับปรุงตกแต่งเชิงผ้าด้วยลายโคม 5 ซึ่งเป็นลายโบราณอีกลายหนึ่งจนมีความสวยงาม ตามแบบช่างพื้นบ้านที่ยังคงเอกลักษณ์ลายผ้าไหมมัดหมี่ของชุมชนไว้

แหล่งผลิตและเจ้าของภูมิปัญญา คือ นางบุญชู วงษ์ชมภู เป็นประธานกลุ่มทอผ้าไหมทอมือลายโบราณบ้านชาด ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 171 บ้านชาด หมู่ที่ 9 ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น หมายเลขโทรศัพท์ 083-7451848
ผลงานได้รับรางวัล OTOP ระดับ 4 ดาว เมื่อปี พ.ศ. 2549 สำหรับราคาจำหน่าย ประมาณชิ้นละ 1,500 - 3,000 บาท หรือขึ้นอยู่กับลวดลายและความยากของการมัดย้อม

สถานที่ตั้ง
กลุ่มทองผ้าไหมบ้านชาด
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านชาด
ตำบล ขามป้อม อำเภอ พระยืน จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
การสัมภาษณ์ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านชาด เลขที่ 171 หมู่ 9 ตำบลขามป้อม อำเภอพระยืน
บุคคลอ้างอิง นางประวาน โสภา
ชื่อที่ทำงาน ที่ทำการกำนันตำบลขามป้อม
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านชาด
ตำบล ขามป้อม อำเภอ พระยืน จังหวัด ขอนแก่น
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่