กริซเป็นอาวุธที่มีความสวยงามวิจิตรพิสดาร แต่แฝงไว้ซึ่งความดุดันทรงอำนาจลึกลับ และน่ากลัว กริซเป็นอาวุธที่มีความสำคัญของดินแดน ตั้งแต่แหลมมลายูลงไปถึงหมู่เกาะน้อยใหญ่ของอินโดนีเซีย และดินแดนทางตอนใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปจนจดประเทศมาเลเซีย "กริซ" เป็นอาวุธยอดนิยมชนิดหนึ่งที่ใช้กันมาก ทั้งช่างไทยพุทธและไทยมุสลิม มีลักษณะเป็นมีดสั้นสองคม มีฝักและมีด้ามที่สวยงาม ซึ่งยังไม่มีประวัติความเป็นมาการกำเนิดที่แน่นอน จากหลักฐานที่ค้นพบกริซที่เก่าแก่ที่สุดจะพบที่เกาะชวาในอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่ากริซมีต้นกำเนิดจากอินโดนีเซีย เมืองปัตตานีในอดีต เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่อยู่ในเส้นทางการค้าทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย รวมถึงวัฒนธรรมการใช้กริซของชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาทำการค้าในแถบนี้ด้วย จะเห็นได้จากการพบกริซในรูปแบบอินโดนีเซียในแถบนี้ ถึงแม้ผู้คนในดินแดนทางตอนใต้ของไทยจะรับเอาวัฒนธรรมการใช้กริซมาจากอินโดนีเซียหรือชวาก็ตามแต่ก็ได้มีการพัฒนาจนเป็นรูปแบบเฉพาะของตน ไม่ว่าจะเป็นส่วนด้าม ฝัก และตากริซก็ตาม โดยเฉพาะกริซในรูปแบบปัตตานี เป็นกริซที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงามในสกุลช่างทำกริซสกุลหนึ่งทีเดียวกริชปัตตานี กริชในประเทศไทยได้ปรากฎการใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พบหลักฐานจากภาพเขียนลายก้นชามสังคโลก สมัยสุโขทัย เป็นรูปชาย 2 คนกำลังถืออาวุธมีดสั้นคนละด้าม ใบมีดสองคมคล้ายกริชแบบตาตรง แต่ที่ปรากฏหลักฐาน ชัดเจนคือสมัยอยุธยา ในแผ่นดินของพระนารายณ์มหาราชจากจดหมายเหตุของ ลาลูแบร์ (พ.ศ.2236) บันทึกไว้ว่า ทรง พระราชทานกริชให้ข้าราชการเหน็บที่สะเอว ด้านซ้ายเพื่อสะดวกในการใช้ และจากภาพเขียนซึ่งจิตรกร ของฝรั่งเศส วาดไว้เป็นรูปราชทูตไทยทุกคนเหน็บกริชที่สะเอวด้านซ้ายมือและเป็นกริชแบบชวาการเข้ามาของกริชในจังหวัดปัตตานี จะเป็นในลักษณะที่ชาวชวาเข้ามาทำการค้าขายกัน และชาวชวาบางส่วน จะอพยพหาแหล่งทำกิน ผ่านเข้ามาทางแหลมมลายู มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้เพราะเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ ทั้งยังเป็นจุด พักเรือที่เดินทางระหว่างอินเดียกับจีน จึงได้นำเอาวัฒนธรรมการใช้กริชที่ตนเชื่อถือเข้ามาด้วยรูปแบบของกริชปัตตานี หัวนกพังกะ กริชรูปแบบปัตตานี เป็นกริชที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นตากริช ฝักกริช และด้ามกริชสันนิษฐานว่าที่เมืองปัตตานีคงมีการตีกริชกันมาหลายร้อยปีแล้วกริชจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ 1. ตากริช (MATA) 2. ด้ามกริช (ULU KERIS) 3. ฝักกริช (SARONG KERIS) ตากริช จะมีทั้งแบบตาตรง และแบบตาคด มีลักษณะโคนโต ปลายเรียวแหลม ส่วนใบมีดข้างหนึ่งใกล้โคนจะ มีเงี่ยงยืนออกมาคล้ายงวงช้างเรียกว่าหู ส่วนอีกด้านหนึ่งทำเป็นรอยหยักคล้ายฟันปลาเรียกว่าเคลา ตากริชสกุลช่างปัตตานีมีลักษณะแตกต่างกับสกุลช่างอื่นคือตากริชจะมีสันนูนแหลม ตรงกลางคล้ายอกไก่ทั้ง สองข้างตลอดทั้งเล่ม หากมองภาพหน้าตัดจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนเรียกชื่อกริซชนิดนี้ ตามภาษามลายูท้องถิ่นว่า “ปะแนซาฆะห์” หากเป็นหน้าตัดของแบบบูกิส จะเป็นรูปไข่ลักษณะแบน ผู้ผลิตจะผลิตทั้งแบบตาตรงและแบบตาคด จำนวนคดของตากริช คือ 5 คด 7 คด และ 9 คด โดยมากมักเป็นเลขคี่ ที่ เป็นเลขคู่ก็มีแต่มีน้อยมาก เนื้อเหล็กของกริชปัตตานีมีทั้งชนิดที่มีลวดลายที่เป็นระบบในเนื้อเหล็ก และไม่มีลาย หรือลายที่ไม่มีระบบ จับเค้ารูปลายไม่ได้เรียกว่าลายขนแมว หรือลายเสี้ยนไม้ จะมีลักษณะเป็นเส้นยาวตามความยาวของตากริช ลักษณะเช่นนี้ทางโลหะวิทยาถือว่าเกิดจากเนื้อเหล็กไม่บริสุทธิ์ แต่ทางนักเลงกริชถือว่าเกิดจากการผสมของโลหะทาง ไสยศาสตร์ เพราะเวลาจะหลอมเหล็กตีกริชจะมีตำราบอกว่า หากจะให้กริชมีความขลังมาก ๆ ต้องใช้เหล็ก 20 ชนิด มา หลอมรวมกัน เมื่อนานวันเข้าเกิดการกัดกร่อนในเนื้อเหล็กที่ผสมจากเหล็กหลายชนิดไม่เท่ากัน ทำให้เกิดร่องขึ้นสวยงาม ไปอีกแบบ ลายบนตากริชแต่ละลาย จะมีทั้งให้คุณทางด้านความเจริญงอกงาม มีเกียรติ ยศ มีบรรดาศักดิ์ การค้าขาย รวมถึงตะบะ และชัยชนะในการต่อสู้ป้องกันตัวอีกด้วย ดังนั้นช่างตีกริชแต่ละคนจึงมีกรรมวิธีในการตีกริชเฉพาะตนในการลง คาถาอาคม ด้านไสยเวทย์ หรือเทคนิควิธีในการผสมเนื้อเหล็กและการตีกริช ความนิยมของลูกค้าจึงขึ้นอยู่กับฝีมือของ ช่าง และคำล่ำลือของกริชที่นำไปใช้แล้ว ได้ผลตามต้องการ ช่างตีกริชสมัยก่อนจะแบ่งเป็น 2 พวก คือ ช่างที่รับจ้างตีกริชทั่วไปและช่างอุปถัมภ์ที่บรรดาเจ้าเมืองชุบเลี้ยงไว้ ช่างอุปถัมภ์จะตีกริชได้ประณีตสวยงามกว่าพวกแรก เพราะไม่ต้องห่วงใยในเรื่องปากท้องของครอบครัว จึงสามารถใช้ เวลาในการประดิดประดอยได้เต็มที่ ได้มากกว่าเพราะเมื่อพิจารณาหัวกริชบางอันนอกจากจะประณีตสวยงามแล้ว จะต้องใช้เวลาในการแกะสลักนานเป็นปีเลยทีเดียว หัวกริชพังกะ นอกจากแกะสลักที่ประณีตสวยงามแล้ว ยังมีการประดับตกแต่งเพื่อเพิ่มคุณค่าให้อลังการณ์มาก ขึ้นไปอีก คือช่างจะประดับด้วยการเลียมทอง นาก เงิน ตามส่วนต่าง ๆ ของด้าม เช่น ส่วนจมูก เขี้ยว ลูกตา หงอน และ แก้ม เป็นต้น จากสีเข้มของเนื้อไม้จะตัดกับความเงาวาวของโลหะเพิ่มความงดงามความน่าเกรงขามยิ่งขึ้น ด้ามกริชปัตตานีจะเป็นส่วนที่เป็นจุดเด่นที่สุดของอาวุธ เพราะเมื่อเราพบเห็นกริชทั่วไป ตากริชจะถูกเก็บอยู่ใน ฟัก ดังนั้นส่วนที่สะดุดตาก็ต้องเป็นส่วนของด้ามกริช ชาวใต้เรียก “หัวกริช” โดยเฉพาะหัวกริชแบบปัตตานีที่รู้จักกัน ทั่วไปว่า “หัวนกพังกะ” ซึ่งเป็นนกกระเต็นพันธุ์หนึ่ง หากเรียกรวมทั้งเล่ม เรียกว่า กริชพังกะ ซึ่งเป็นแบบยอดนิยมตั้งแต่จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี ตลอดไปจนถึงรัฐกลันตันของมาเลเซีย และเป็นเอก ลักษณะเฉพาะท้องถิ่น จนถือเป็นสกุลช่างทำหัวกริชสกุลหนึ่งในวงการทำกริชที่มีฝืมือในการแกะสลักหัวกริชวิจิตร พิสดาร เป็นเลิศสกุลหนึ่งเลยทีเดียว รูปแบบของหัวกริชนกพังกะ นิยมทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปหัวนกในเทพนิยายมีจมูกยื่นยาวงอนขึ้นข้างบน ดวงตาถลนดุดันมาก ปากแสยะยิ้มจนเห็นไรฟันรูฟัน เหมือนฟันคนเรียงเป็นแถว มีเขี้ยวยาวแนบติดกับส่วนแก้ม ที่บน หัวมีหงอนคลายผมหยิกเป็นลวดลายรุ่นแรกๆจะไม่มีเคราใต้คาง เรียกว่า ตัวเมีย ส่วนรุ่นหลังเรียกตัวผู้ใต้คางมีเคราที่ ประดิษฐ์เป็นลวดลายสวยงามลงตัว ดังนั้นเมื่อมองโครงสร้างที่เป็นภาพรวมของรูปร่าง แล้วจะคล้ายนกกระเต็นมากแต่ในปัจจุบันมีผู้วิจารณ์ว่าไม่ใช่นก กระเต็น ไม้ที่นิยมนำมาแกะสลักเป็นไม้แก้วชนิดหนึ่ง ชาวใต้เรียกแก้วลูกเล็กหรือแก้วดีปลี ภาษามลายูเรียกไม้ “แกมู นิง” เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติดีมากไม้เนื้อแข็ง ละเอียดยึดกันแน่น มีน้ำหนักและเส้นลายในเนื้อไม้สวยงาม เมื่อแกะสลัก เนื้อไม้จะคงสภาพได้ดีไม่ฉีกหัก หรือตกเสี้ยน สามารถควบคุมการแกะลวดลายได้ดี และเมื่อทำการขัดเงาก็จะขึ้นเงาดี มาก ดังนี้จะเห็นได้ว่าหัวกริชพังกะ จะมีการประดิษฐ์ลวดลายที่วิจิตรพิสดารมาก ลวดลายที่แกะแต่ละตัวจะมีขนาดเล็ก ๆ มาก จนไม่น่าเชื่อว่าจะใช้เครื่องมือชนิดใดแกะได้ มีการฉะลุทะลุเป็นช่องแสงตามส่วนต่าง ๆ มากมาย บางรูปเอาเข็ม สอดเข้าไปไม่ได้ แต่ก็มีรูทะลุลวดลายที่ใช้ส่วนมากจะเป็นลายพรรณพฤกษา เป็นรูปใบไม้ส่วนใหญ่ผูกลายคล้ายลายก้าน ขดของไทย ผสมกับลายเลขาคณิต ฝีมือการแกะสลักบางหัวจะแกะสลักได้ประณีตละเอียดมาก จนมีผู้กล่าวว่าน่าจะเป็น เทวดาแกะ ช่างแกะสลักหัวกริชในรูปแบบปัตตานีจะเป็นคนละคนกับช่างตีตากริชการได้มาซึ่งกริชเล่มหนึ่ง ๆ จะต้อง เสาะแสวงหาทั้งช่างตีกริชและช่างแกะหัวกริช ช่างแกะสลักหัวกริชจะเหมือนกับช่างตีกริชตรงที่มีทั้งช่างรับจ้างทั่วไป ฝักกริช ฝักกริชในรูปแบบปัตตานี จะทำปีกฝักเป็นปากฝัก มีรูปร่างคล้ายเรือกอและ โดยทำส่วนบนของปีกฝัก ทั้งสองข้างบางและงอนเข้าหาข้างใน ข้างหนึ่งต่ำ ข้างหนึ่งสูงรับกับหัวกริชพังกะ เป็นส่วนเสริมความสง่างามของส่วน หัว ส่วนตัวฝักจะยื่นยาวตรง มีความยาวเกือบหนึ่งเท่าของตากริช ที่ใช้กับฝักนั้น ๆ ซึ่งแตกต่างกับกริชในสกุลอื่นที่มี ฝักยาวกว่าตากริชไม่มากนัก ฝักกริชปัตตานีจะมี 2 รุ่น คือ ฝักรุ่นเก่า ช่างจะทำปีกฝักและตัวฝักเป็นไม้ชิ้นเดียวกันไม่แยกส่วน โดยใช้เครื่องมือเจาทะลวง คว้านแต่งให้มี ขนาดพอดีกับตากริช ทั้งส่วนลึกและส่วนกว้าง ปีกฝักจะมีความยาวประมาณ 12-14 เซนติเมตร ตัวฝักจะทำยื่นตรงลงไป จากส่วนปีกในลักษณะโค้งและเรียวเล็กน้อย ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร ไม้ที่นิยมใช้ทำฝักคือ ไม้ประดู่ ภาษามลายู ถิ่นเรียกว่า “กะยูสะนอ” เป็นไม้ที่มีลวดลายเนื้อไม้สวยงามอีกชนิดหนึ่ง ฝักรุ่นหลัง มีรูปร่างเหมือนกับรุ่นเก่า ต่างกันตรงที่ฝักรุ่นนี้สามารถถอดแยกชิ้นได้ 2-3 ชิ้น คือปีกฝักชิ้นหนึ่ง ตัวฟักชิ้นหนึ่ง ถ้าเป็นประเภท 2 ชิ้น ก็คือจะไม่มีส่วนก้นฟัก ปีกฝักจะยาวประมาณ 12-14 เซนติเมตร ตัวฟักจะยาว ประมาณ 40-50 เซนติเมตร ปีกฝักและตัวฝักจะใช้ไม้ต่างชนิดกันคือ ปีกฝักนิยมทำด้วยไม้แก้วเป็นไม้ชนิดเดียวกันกับไม้ ทำหัวกริช ตัวฝักยังนิยมใช้ไม้ประดู่เช่นเดียวกับฝักรุ่นเก่า ฝักทั้งสองชนิด เมื่อทำได้รูปตามต้องการแล้ว จะมีการจาร หรือจารึกที่ใต้ฐานปีกทั้งสองด้าน เป็นรอยจารคล้าย ตัวเลข ๙ แบบไทย บางคนว่าเป็นอักษรโบราณ ที่เกี่ยวกับคาถาอาคม เมื่อจารเรียบร้อยแล้วก็จะนำไปเคลือบเงา สมัยก่อนไม่มีน้ำมันชักเงา ช่างจะชักเงาด้วยยางไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า “ยางชะนวน” ผสมกับน้ำมันมะพร้าวและ ปูนกินหมาก เมื่อแห้งสนิทจะขึ้นเงาสวยงามคงทนมาก กริชที่ดีมีความขลัง มีพลัง และมีอำนาจลึกลับสูง กริชเล่มนั้น ๆ จะต้องผ่านกรรมวิธีหรือพิธีกรรมทางไสย ศาสตร์ที่ค่อนข้างจะยุ่งยากและซับซ้อน ยิ่งพิธีการยุ่งยากและซับซ้อนมากเพียงใดก็จะเชื่อว่ากริชเล่มนั้นเป็นกริชที่ดีเลิศ หาค่ามิได้ จึงมีกริชเพียงบางเล่มเท่านั้นที่ผ่านขั้นตอนดังที่กล่าวมาก ซึ่งมักจะเป็นกริชประจำตัวของชนชั้นสูง หรือผู้มี ฐานะเท่านั้น เมื่อได้กริชที่ผ่านขั้นตอนและพิธีกรรมต่าง ๆ มาแล้ว กริชเล่มนั้นก็จะเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจของเจ้าของ ผู้เป็น เจ้าของจะหวงแหนยิ่งนัก เป็นกริชที่มีค่าเกินที่จะตีค่าได้วยเงินหรือทองเจ้าของจะเก็บไว้เป็นกริชประจำตัว ต่อมา กลายเป็นมรดกตกทอดประจำตระกูล มีการสั่งห้ามมิให้มีการซื้อขายแม้ว่าเจ้าของรุ่นต่อ ๆ มาจะตกทุกข์ได้ยากสัก เพียงใด ปัจจุบันกริชจะไปอยู่ตามบ้านของนักสะสมที่ยังชื่นชอบและหลงใหลในความวิจิตรพิสดาร ในการทำกริชแต่ละเล่ม กริชจึงเปลี่ยนสภาพจากศาสตราวุธสูงส่งเพียบพร้อมด้วยพลังอำนาจลึกลับ เหน็บอยู่ข้างกายของเจ้าของอย่างภาคภูมิ ไปแขวนอยู่ในตู้ประดับฝาบ้าน และพิพิธภัณฑ์อย่างสงบ รอผู้คนมาชะโงกดูบางเวลาเท่านั้น