ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 1' 32.5891"
13.0257192
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 53' 44.8087"
99.8957802
เลขที่ : 136553
วัดศาลาเขื่อน
เสนอโดย อรอนงค์ เพชรบุรี วันที่ 24 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย เพชรบุรี วันที่ 24 พฤษภาคม 2555
จังหวัด : เพชรบุรี
2 2042
รายละเอียด

วัดศาลาเขื่อน ตั้งอยู่หมู่ที่1 บ้านศาลาเขื่อน ตำบลตำหรุ ตามทะเบียนวัดสำนักงานศึกษาธิการอำเภอบ้านลาด มีวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2200 เป็นวัดเก่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ไม่ปรากฏปีที่สร้าง ตามทะเบียนวัด ภาค 15 หน้า 509 ระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2350 สมัยรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ พ.ศ. 2380 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา สมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สมัยสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 5 (ด่วน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์มีการบูรซ่อมแซม มีป้ายชื่อผู้บริจาคซ่อม สร้างอุโบสถติดไว้ชื่อโบสถ์เป็นเงิน 7 ชั่ง เมื่อ พ.ศ. 2354

รายนามเจ้าอาวาสมีดังนี้

1. หลวงตาด้วง
2. หลวงพ่อสระ
3. พระครูญาณวิมล (พระมหาพ่วง ปธ.4)
4. พระครูญาณเพชรรัตน์ (ปลั่ง) พ.ศ. 2407 – 2485
5. พระสมุห์สตางค์ เปมสีโล (ลาสิกขาบท)
6. พระอธิการมนต์ (ลาสิกขาบท)
7. พระครูโสตพิพัชรคุณ เจ้าอาวาสปัจจุบัน

พระเกจิอาจารย์แห่งวัดศาลาเขื่อน

1. พระครูญาณเพชรรัตน์(ปลั่ง ปุณ.ณจน.โท) เป็นผู้ทรงคุณธรรม มีวิทยาคุณ เดิมท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระครูญาณวิมล ตามเจ้าอาวาสองค์ก่อน นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความขลังทางเวทย์มนต์คาถาแล้ว ยังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงและรองเจ้าคณะจังหวัด ท่านเป็นพระผู้ทรงคุณธรรมสูง พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ 5) ทรงโปรดและชมเชย ดังมีเรื่องเล่าว่า

พ.ศ. 2453 รัชกาลที่ 5 เสด็จเพชรบุรี ในงานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวังบ้านปืน ครั้งหนึ่งท่านพระครูญาณเพชรรัตน์ (ปลั่ง) ได้ถวายเจ็ดตำนานสวดมนต์และเทศน์เป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับเคยตบพระหัตถ์ชมเชยว่า วิเศษเหลือเกิน เอาสุ้มเสียงมาแต่ไหนกัน ช่างไพเราะเหลือเกิน ว่าได้ทั้งทำนองหลวง ทำนองราษฎร์หัดมาแต่ที่ไหนท่านได้ถวายพระพรให้ทรงทราบว่า“ขอถวายพระพรสมเด็จพระมหาบพิตรสมภารเจ้าฝึกมาจากวัดในท้องถิ่นนี้เอง ขอถวายพระพร”

และอีกครั้งหนึ่ง รัชกาลที่ 5 ได้ทรงจัดงานพระราชพิธีขอฝนหรือที่เรียกว่า พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ เริ่มพิธีวันที่ 23 สิงหาคม รัตนโกสินทร์ ศก 129 ใช้เวลา 7 วัน โดยเฉพาะในวันที่ 27 สิงหาคม พระญาณเพชรรัตน์เป็นผู้นำ ทรงถวายปัจจัยพระสงฆ์ร่วมพิธีนี้ รูปละ 2 บาท และบันทึกไว้ว่า

ตอนเริ่มพิธีท้องฟ้าแจ่มใสปราศจากเมฆ พอพิธีเริ่มไม่นานนักก็เกิดพายุด้านตะวันตก มีฉากของเมฆสีดำทะมึน ชั่วครู่เดียวได้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก เสด็จในกรมพระสมมติอมรพันธ์ ซึ่งเป็นฝ่ายอุปถัมภ์สังฆการีอยู่ที่นั่น ถึงกับตบพระหัตถ์ร้องเสียงดังด้วยความปิติว่า“ฝนตกแล้ว ฝนตกได้จริง ๆ” จึงนับว่าพระครูญาณเพชรรัตน์ท่านมีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นอย่างมาก

ต่อมาวันที่8 กันยายน ศก129 นี้ รัชกาลที่ 5 ได้นิมนต์พระครูญาณเพชรรัตน์วัดศาลาเขื่อนและพระสงฆ์ที่สวดในงานพิรุณศาสตร์ รวม 23 รูป มาในงานพระราชกุศลตรงกับวันสิ้นพระชนม์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ซึ่งพระครูญาณเพชรรัตน์ได้ถวายพระธรรมเทศนา อลัมยานียฐานสูตรด้วย

2. พระครูญาณวิมล (มหาพ่วง ปธ. 4) เป็นผู้มีอุปการคุณแก่ชาวบ้านลาดมาก ก็คือ ต้นชมพู่ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอบ้านลาดในปัจจุบัน ชมพู่ต้นแรก ท่านพระครูญาณวิมลได้รับการถวายมาจากสมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ นำมาปลูกที่วัดศาลาเขื่อนพร้อมกับส้มโออีก 1 ต้น เป็นพันธ์ชมพู่ผลใหญ่ รสหวานกรอบสีสวย จึงได้มีการขยายพันธุ์แพร่หลายไปในหมู่ประชาชน ขณะนี้ต้นเดิมตายไปแล้ว แต่ยังมีต้นชมพู่ที่ขยายพันธุ์จากต้นเดิมไว้เป็นอนุสรณ์อยู่ที่วัดศาลาเขื่อน

กิจกรรมที่จัดภายในวัด

1. กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา เป็นต้น

2. กิจกรรมเนื่องในวันสำคัญของชาติ อาทิ วันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ เป็นต้น

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดศาลาเขื่อน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านศาลาเขื่อน
ตำบล ตำหรุ อำเภอ บ้านลาด จังหวัด เพชรบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดศาลาเขื่่อน
บุคคลอ้างอิง นางสุรางศรี พวงมะลิ
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี อีเมล์ petburi_culture@hotmail.com
ตำบล คลองกระแชง อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัด เพชรบุรี รหัสไปรษณีย์ 76000
โทรศัพท์ 032 424324 โทรสาร 032 424325
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/petchaburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่