ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 9° 5' 6.3215"
9.0850893
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 16' 55.6295"
98.2821193
เลขที่ : 136615
ชาติพันธุ์มอแกน
เสนอโดย อ้อย วันที่ 25 พฤษภาคม 2555
อนุมัติโดย พังงา วันที่ 8 มิถุนายน 2555
จังหวัด : พังงา
0 373
รายละเอียด

มอแกนเป็นชาวเลกลุ่มหนึ่งที่ใช้ชีวิตและเดินทางอยู่ตามเกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน มีวิถีชีวิต มีภาษาและวัฒนธรรมที่ต่างจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ในภาษาอังกฤษเรารู้จักชาวเลในนามของยิปซีทะเล (sea gypsies หรือ sea nomads) ปัจจุบันชาวเลส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ไม่อพยพโยกย้ายบ่อยครั้งเหมือนในอดีต แต่ก็ยังมีการเดินทางไปทำมาหากินทางทะเลอยู่เสมอในประเทศไทย มีชาวเลอยู่ 3 กลุ่ม คือ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ทั้งสามกลุ่มพูดภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน แต่ทว่าแต่ละกลุ่มก็มีภาษาย่อยของตนเองซึ่งเป็นภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน และต่างก็มีวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง แต่มีประเพณีบางอย่างที่คล้ายคลึงกันเช่น พิธีฉลองวิญญาณบรรพบุรุษและพิธีลอยเรือ ชาวเลมอแกลน มีประชากรประมาณ 2,500 คน กระจายตัวอยู่ตามหมู่บ้านในจังหวัดพังงาและภูเก็ต มีภาษาที่คล้ายคลึงกับภาษามอแกน จึงสามารถสื่อสารกับมอแกนได้ มอแกลนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวรมานานกว่าร้อยปีทำให้ผสมผสานภาษาและวัฒนธรรมไทยค่อนข้างมาก มีสถานะเป็นพลเมืองไทย บางครั้ง จึงเรียกว่า “ไทยใหม่” เด็กๆ เข้าศึกษาในโรงเรียนในท้องถิ่น หลายคนนับถือศาสนาพุทธ แต่ยังคงเชื่อในวิญญาณบรรพบุรุษและมีงานฉลองใหญ่ในอำเภอ ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทุกปี ประชากรมอแกนในหมู่เกาะสุรินทร์มีจำนวนขึ้นลงอยู่ระหว่าง 150-200คน เนื่องจากบางครอบครัวยังอพยพโยกย้ายไปมา และมีการเดินทางไปมาเพื่อเยี่ยมเยียนเพื่อนฝูงญาติพี่น้องอยู่เสมอ อัตราการเกิดค่อนข้างสูง แต่อัตราการตายของเด็กทารกก็สูงด้วยเช่นเดียวกัน มอแกนส่วนใหญ่มีอายุขัยไม่ยืนยาวนัก การติดสาร เสพติด เช่น ยาเส้น เหล้าขาว และสารกระตุ้นอื่นๆ ซึ่งต้องเพิ่มปริมาณการใช้มากขึ้นๆ เพื่อให้ทำงานหนักและอดทนได้ยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ชายมอแกนซึ่งต้องออกทำมาหากินทางทะเลเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก และ ทำให้จำนวนประชากรหญิงชายมอแกนมีสัดส่วนที่ไม่ สมดุล นอกจากนั้น ยังทำให้หญิงหม้ายมีภาระต้อง เลี้ยงดูสมาชิกในครัวเรือนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ทางทำมา หากินจำกัดลง

หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
ชุมชนมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล เกาะพระทอง อำเภอ คุระบุรี จังหวัด พังงา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ชุมชนมอแกนหมู่เกาะสุรินทร์
ตำบล เกาะพระทอง อำเภอ คุระบุรี จังหวัด พังงา รหัสไปรษณีย์ 82150
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่