อิสลาม ได้บัญญัติเรื่องการแต่งงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีการสืบพันธุ์และรักษาเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ และเพื่อให้แต่ละฝ่าย ได้สร้างความสนิทสนม แน่นแฟ้น และผูกพัน และเพื่อให้แต่ละฝ่ายมีที่พังพิง และปรึกษา หารือในขณะที่ เหน็ดเหนื่อย และ ทุกข์ยากกับการดำเนินชีวิต จนกระทั่งทั้งสองได้บรรลุ ถึงความรักใคร่และความเมตตา ดังที่ อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า ความว่า: และบางสัญลักษณ์ของอัลลอฮฺ คือ การที่พระองค์ทรงสร้างคู่ครองแก่พวกเจ้ามาจากตัวของพวกเจ้าเอง ทั้งนี้เพื่อ พวกเจ้าจะได้สงบอยู่กับนาง และพระองค์ทรงบันดาลความรักและความเมตตาให้มีขึ้นระหว่างพวกเจ้า
อัลลอฮฺ ได้บัญญัติการแต่งงาน และถือว่าการแต่งงานเป็นรัฐธรรมนูญที่มั่นคงต่อการดำเนินชีวิตแห่ง มนุษยชาติ โดยมี เป้าหมาย อันประเสริฐที่สอดคล้องกับการเป็นมนุษย์ที่อัลลอฮฺทรงยกย่อง และได้วาง บทบัญญัติให้เขายึดถือปฏิบัติ เพื่อเขาจะได้มีชีวิตที่ดีและออกห่างจากความต่ำช้า และไม่ออกจากแนวทาง แห่งพระองค์ และเมื่อเราปรารถนาที่จะ อธิบาย ถึงเป้าหมาย ของการแต่งงานในอิสลาม เราจะพบว่ามันไม่ได้หยุดอยู่ที่ความต้องการทางเพศเท่านั้น แต่มันมีเป้าหมายอื่นอีก เช่น ทางด้านสังคม จิตใจ และศาสนา
นิกะห์
นิกะห์เป็นพิธีแต่งงานของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เริ่มต้นเมื่อชายหญิงตกลงใจกันและฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอเรียกว่า มาโซะมินตะ หรือมนีแน การสู่ขอนี้จะตกลงกันระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกับเรื่องมะฮัว สินสอดทองหมั้น และตกลงเรื่อง กำหนดวันแต่งงาน (นิกะห์) การทำพิธีนิกะห์ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
๑. ผู้ปกครองของฝ่ายเจ้าสาว เรียกว่า วะลี คือชายที่มีสิทธิในการประกอบพิธีนิกะห์ให้แก่หญิง ซึ่งจะต้องเป็นชายที่นับถือศาสนาอิสลามที่ไม่เป็นคนวิกลจริต และไม่อยู่ในระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์
๒. ผู้ทำพิธีนิกะห์ ผู้ปกครองอาจทำพิธีนิกะห์เอง หรือมอบให้โต๊ะอิหม่าม โต๊ะครู ก็ได้
๓. เจ้าบ่าว
๔. พยาน ๒ คน ต้องเป็นชายมุสลิมที่เชื่อถือได้
๕. ผู้อบรมหรืออ่านคุฎะฮ์นิกะห์
๖. มะฮัร คือ สินสอดทองหมั้นที่จะมอบแก่เจ้าสาว
ขั้นตอนการทำพิธีนิกะห์
วันทำพิธีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะเชิญโต๊ะอิหม่ามหรือโต๊ะครูเป็นประธาน และต้องมีองค์ประกอบให้ครบ 6ประการ ตามหลักศาสนาที่กล่าวมาข้างต้นด้วย การทำพิธีนิยมทำที่บ้านเจ้าสาว เมื่อเจ้าบ่าวและผู้ใหญ่มาถึงบ้านเจ้าสาว บิดาของเจ้าสาวก็จะไปขอความยินยอมจากเจ้าสาว (ขณะนั้นเจ้าสาว อยู่ในห้อง) โดยบิดาเจ้าสาวกล่าวว่า “ข้าจะแต่งงานเจ้ากับ(ออกชื่อเจ้าบ่าว) เจ้าจะยินยอมหรือไม่” เจ้าสาวจะให้คำตอบ ถ้าไม่ยินยอมพิธี จะดำเนินไปไม่ได้ถือว่าผิดหลักศาสนา จากนั้นบิดาฝ่ายเจ้าสาวก็มอบภารกิจ (วอเก) การแต่งงานให้กับโต๊ะอิหม่าม โดยกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอมอบให้ท่านอิหม่ามทำพิธีแต่งงานลูกสาวข้าพเจ้าชื่อ…(ออกชื่อเจ้าสาว) กับ ...(ออกชื่อเจ้าบ่าว) ” เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามก็จะตอบว่า “ข้าพเจ้าขอรับวอเก” แล้วเรียกเจ้าบ่าวเจ้าสาวและพยาน 2คน พร้อมด้วยผู้จดบันทึกหลักฐาน จากนั้นโต๊ะอิหม่ามหรือผู้ทำพิธีนิกะห์ จะสอนเจ้าบ่าวเจ้าสาวเกี่ยวกับการครองชีวิตคู่ ย้ำถึงเจ้าบ่าวเจ้าสาว พยาน เงินสินสอด เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะจับมือ เจ้าบ่าวพร้อมกับกล่าวว่า “โอ้..(ออกชื่อเจ้าบ่าว) ที่แต่งงานกับ…(ออกชื่อเจ้าสาว) โดยได้รับ การมอบฉันทะจากบิดาฝ่ายหญิง แก่ข้า
โดยมีค่าสินสอด..(บอกจำนวนสินสอด)” เมื่อโต๊ะอิหม่ามกล่าวจบแล้วเจ้าบ่าวจะกล่าว รับว่า “ข้าพเจ้ายอมรับการแต่งงานนี้ โดยมีสินสอดจำนวนดังกล่าวนี้” จากนั้นโต๊ะอิหม่ามจะอ่านดูอาเพื่อให้พระอัลลอฮ์ ทรงประธานพรแก่คู่บ่าวสาวโต๊ะอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็นสามีภรรยาแก่เจ้าบ่าวว่า ตามหลักศาสนาจากนั้นผู้เป็นสามีต้องดูแลภรรยาและอยู่ร่วมกันตามหน้าที่ของ สามี ภรรยา หากไม่เป็นเช่นนี้ผู้เป็นภรรยาก็มีสิทธิ์จะฟ้องร้องสามี ต่อคณะกรรมการอิสลามหรือดาโต๊ะยุติธรรมได้ดังนี้จากนั้นโต๊ะ อิหม่ามจะอ่านดูอา เพื่อให้พระอัลลอฮ์ ทรงประธานพรแก่คู่บ่าวสาวเสร็จแล้ว โต๊ะอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็น สามี ภรรยา แก่เจ้าบ่าวว่า ตามหลักศาสนา นั้นผู้เป็นสามีต้องดูแลภรรยาและอยู่ร่วม กันตามหน้าที่ของ สามี ภรรยา หากไม่เป็นเช่นนี้ผู้เป็นภรรยาก็มีสิทธิ์จะฟ้องร้องสามี ต่อคณะกรรมการอิสลามหรือดาโต๊ะยุติธรรมได้ ดังนี้
๑.สามีออกจากบ้านเกิน 3 วัน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา หากภรรยาฟ้องร้องต่อคณะกรรมการอิสลามก็จะต้อง มีการพิจารณา และสามีต้องให้เงินค่าเลี้ยงดู
๒. สามีออกจากบ้านเกิน 6 เดือน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากภรรยา ถือว่าหมดสภาพการเป็นสามี ภรรยา ขั้นตอนสุดท้ายมีการลงชื่อ โต๊ะอิหม่าม เจ้าบ่าว เจ้าสาว บิดาฝ่ายหญิงและพยาน ในหนังสือสำคัญเพื่อเป็น หลักฐานการสมรสเป็นอันว่าเสร็จพิธีโดยสมบูรณ์แล้วจึงจัดพิธีฉลองการสมรส เชิญแขกเหรื่อ มาร่วมกัน เลี้ยงในงาน “มาแกปูโละ” ภายหลังซึ่งอาจจะจัดหรือไม่จัดก็ได้
วาลีมะห์ (การเลี้ยงฉลองการแต่งงาน)
หลังแต่งงานสามารถจัดงานเลี้ยงฉลองได้ เรียกว่า "วะลีมะฮ" ซึ่งจัดเลี้ยงที่บ้าน สโมสร หรือโรงแรมก็ได้ ตามสะดวก การเลี้ยงฉลองอาจไม่ต้องทำในวันเดียวกับวันนิกาหก็ได้ แต่การเลี้ยงฉลองนั้นต้องไม่เกิน 2วัน เพราะอิสลามเคร่งครัด ในเรื่องของงานเลี้ยงที่ฟุ่มเฟือย โดยมีคำกล่าวไว้ว่า "งานเลี้ยงที่เลวที่สุดคือ งานเลี้ยงพิธีนิกะห์ และเลี้ยงเฉพาะคนรวย" เพราะศาสนาอิสลามเชื่อว่าทุกคนเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ