ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 21' 7.9999"
14.3522222
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 34' 36.0001"
100.5766667
เลขที่ : 139592
กาน้ำเบญจรงค์
เสนอโดย chaosam วันที่ 16 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย พระนครศรีอยุธยา วันที่ 16 มิถุนายน 2555
จังหวัด : พระนครศรีอยุธยา
0 885
รายละเอียด

กาน้ำเบญจรงค์

กาน้ำเบญจรงค์ ลายก้านขดบนพื้นสีน้ำตาลแดง ลายช่องกระจกบนพื้นสีคราม พวยการเขียน

เป็นรูปสัตว์ มีหูหิ้ว ก้นกาด้านนอกมีอักษรจีน ๔ ตัว

เครื่องเบญจรงค์

“เครื่องเบญจรงค์”แปลว่า เครื่องถ้วยห้าสี แต่ข้อเท็จจริงจะมีตั้งแต่สามสีขึ้นไปจนถึง

แปดสีหรือมากกว่านั้น ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีขาว สีดำ สีเขียว สีน้ำเงิน สีชมพู สีม่วง สีแสดและ

สีน้ำตาล ลวดลายที่เขียน บางสีเขียนในเคลือบ บางสีเขียนบนเคลือบ มีลวดลายนูนเด่น การเกิดขึ้น

ของเครื่องเบญจรงค์เป็นอิทธิพลของเครื่องถ้วยจีนในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นปรากฏมีเครื่อง

ถ้วยชามสีของจีน

สมัยราชวงศ์เหม็งที่เรียกว่าซาไซ้ และวูไซ้ ซึ่งแปลว่า สามสีและห้าสี แต่เครื่องถ้วยสีของจีน

ที่เป็นเครื่องถ้วยเขียนสีบนกระเบื้องขาว จะเขียนสีไม่ผสมเคลือบแต่เครื่องถ้วยเบญจรงค์นั้นจะเป็น

เครื่องถ้วยที่ใช้สีจำนวนมากและเขียนสีผสมเคลือบ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ สันนิษฐานว่ามีการสั่งทำ

ขึ้นในราวสมัยอยุธยาตอนกลาง

การผลิตเครื่องปั้นดินเผาของแหล่งผลิตต่าง ๆ ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมานั้น เมื่อถึง

พุทธศตวรรษที่ ๒๒ก็ได้เริ่มเสื่อมลง สาเหตุสำคัญเกิดจากการศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่า

ขณะเดียวกันเครื่องปั้นดินเผาของจีนโดยเฉพาะเครื่องลายครามหรือเครื่องเคลือบสีน้ำเงินขาว

ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ประชาชนทั่วไปสามารถซื้อหาเป็นสมบัติของตนได้ เครื่อง

เคลือบจากจีนดังกล่าวก็เข้ามาแทนที่เครื่องเคลือบดินเผาของไทย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้

การผลิตและการค้าสังคโลกของไทยสิ้นสุดลง

นับตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นต้นมา กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเมืองที่มีความเจริญ

มั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางทางการปกครอง การเมือง การเศรษฐกิจ และเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งใน

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นศูนย์กลางของการค้าขายแลกเปลี่ยนเครื่องปั้นดินเผาที่

มาจากจีนและบ้านเมืองต่าง ๆ ความนิยมในเครื่องถ้วยจีนในสมัยอยุธยาตอนปลายได้ก่อให้เกิด

เครื่องถ้วยเขียนสีชนิดหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “เครื่องเบญจรงค์”ที่ไทยสั่งทำจากจีน ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้ปรากฏมี “เครื่องถ้วยลายน้ำทอง”ที่ถูกสั่งทำจากจีนเข้ามาในราชสำนัก

เครื่องเบญจรงค์และเครื่องถ้วยลายน้ำทองนี้ถือได้ว่าเป็นเครื่องถ้วยจีน-ไทย เนื่องด้วย

เป็นเครื่องถ้วยที่ไทยสั่งทำจากจีน โดยจะเป็นผู้กำหนดและออกแบบลวดลาย รูปทรง และสีสัน

แต่ฝีมือและเทคนิคการเผาเป็นกรรมวิธีของจีน ดังนั้นเครื่องเบญจรงค์และเครื่องลายน้ำทอง

จึงเป็นเครื่องถ้วยชั้นสูงที่มีคุณค่าทางประณีตศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ของไทย

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
ตำบล ประตูชัย อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางวิไลวรรณ ไกรสกุล อีเมล์ aoywilai@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 ซอย - ถนน -
จังหวัด พระนครศรีอยุธยา รหัสไปรษณีย์ 13000
โทรศัพท์ 089-0537664 โทรสาร 035-241587 ,03524457
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่