ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 2' 49.9999"
15.0472222
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 9' 42.0001"
100.1616667
เลขที่ : 139678
อนุสาวรีย์ขุนสรรค์
เสนอโดย pimnipa วันที่ 17 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย ชัยนาท วันที่ 23 สิงหาคม 2563
จังหวัด : ชัยนาท
0 1912
รายละเอียด

ชื่อสถานที่: อนุสาวรีย์ขุนสรรค์

รายละเอียดการสร้าง: เททองหล่อรูป เมื่อวันศุกร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ ประกอบพิธีเปิดและสมโภช เมื่อวันพุธที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๒๖ เวลา ๐๙.๔๙ น.

สถานที่ตั้ง: หน้าที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี หมู่ที่ ๘ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ประวัติความเป็นมา ตำนานที่เกี่ยวข้อง :ขุนสรรค์ เป็นชาวเมืองสรรคบุรี เดิมมีตำแหน่งเป็นกำนันอยู่ในตำบล ใดตำบลหนึ่งในเมืองสรรคบุรี เป็นผู้มีฝีมือในอาวุธเพลงดาบและมีความสามารถในการยิงปืนแม่น เป็นคนกล้าหาญ ยอมเสียสละชีวิตเพื่อต่อสู้กับข้าศึกจนได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าคนไทยคนหนึ่งของค่ายบางระจัน ต่อสู้กับพม่า ในสงครามก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒

สมเด็จกรมพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพิมพ์ไว้ในหนังสือ “ไทยรบพม่า” ไว้ตอนหนึ่งว่า “ชาวบ้านรวบรวมชายฉกรรจ์ไว้ได้ ๔๐๐ คน มีหัวหน้าชื่อขุนสรรค์ นายพันเรืองเป็นกำนัน นายทองเหม็น นายจัน นายเขี้ยว นายทอง แสงใหญ่ ช่วยกันตั้งค่ายขึ้น ได้นิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้รู้วิทยาคม มาเป็นกำลังใจ อนุสรณ์แห่งความหลังยังปรากฏอยู่คือ ซากโบสถ์ วิหาร และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เวลาชาวบ้านบางระจันจะออกรบ พระอาจารย์ธรรมโชติได้ให้ทุกคน ลงอาบน้ำในสระนี้ถือว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และมหัศจรรย์ ปรากฏว่าชาวบ้านบางระจันสามารถต่อสู้พม่าเอาชนะได้ถึง ๗ ครั้ง ๗ หน จนพม่าหวั่นไหวดกรงกลัวฝีมือคนไทยในการรบพุ่งของชาวบ้านบางระจัน”

ชาวบ้านบางระจันสามารถต่อสู้ชนะพม่าได้ถึง ๗ ครั้ง เนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่ามีความหนักใจมากที่คนไทยเพียง ๔๐๐ คน ชนะพม่าที่มีกำลังฝีมือและกำลังพลที่เหนือกว่าหลายเท่า จึงได้เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่เพียงตั้งรับฝ่ายเดียว ใช้ปืนใหญ่ระดมยิงชาวบ้านค่ายบางระจันล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้นำชาวบ้านชั้นหัวหน้าออกรบถูกพม่าฆ่าตายไปทีละคนสองคน เหลือเพียงขุนสรรค์ที่ยังยืนหยัดต่อสู้พม่าและได้นำชาวบ้านที่เหลืออยู่ปีนค่ายพม่าบุกเข้าไปถึงภายในค่าย ตกอยู่ในวงล้อมที่แน่นหนา และถูกพม่าฆ่าตายในที่สุด เมื่อสิ้นขุนสรรค์ต่อมาไม่นานค่ายบางระจันก็เสียแก่พม่า เมื่อเดือน ๗ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙

ความสำคัญ: ขุนสรรค์ได้พยายามต่อสู้กับทัพพม่าอย่างห้าวหาญ แม้จะทำการไม่สำเร็จแต่ก็ได้ฝากชื่อเสียงไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจ ชาวชัยนาททุกคนโดยเฉพาะชาวอำเภอสรรคบุรี ไม่เคยลืมวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของขุนสรรค์และให้การยกย่องว่าเป็นไทยอาสาป้องกันชาติคนแรกของอำเภอสรรคบุรี

หลวงพ่อพิมพ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอสรรค์บุรี และนายอุทัย อนันตสมบรูณ์ อดีตนายอำเภอสรรค์บุรี ในสมัยนั้น พร้อมชาวสรรคบุรีทุกหมู่เหล่า ได้บริจาคทรัพย์เพื่อจัดสร้างอนุสาวรีย์ขุนสรรค์บุรี ซึ่งได้ประดิษฐานอยู่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี โดยได้เททองหล่อรูปเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 โดยเชิญนายมนตรี ตระหง่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท เป็นประธานเททองหล่อรูปจำลอง ณ วัดวิหารทอง ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี ซึ่งอยู่ระหว่างการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เสร็จแล้วนำมาประดิษฐานบนแท่นยืน ณ หน้าที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่อนุชนรุ่นหลัง จากนั้นเป็นต้นมาในวันที่ ๑๙ มกราคม ของทุกปี อำเภอสรรคบุรี ได้จัดงานเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อเป็นการบวงสรวงดวงวิญญาณขุนสรรค์

สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของขุนสรรค์ วีรบุรุษแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย ชาวชัยนาททุกคนโดยเฉพาะชาวอำเภอสรรคบุรีไม่เคยลืม

สถานที่ตั้ง
อนุสาวรีย์ขุนสรรค์
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 8 ถนน เจ้ายี่พระยา
ตำบล แพรกศรีราชา อำเภอ สรรคบุรี จังหวัด ชัยนาท
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอสรรคบุรี
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชัยนาท อีเมล์ cntculture@gmail.com
ถนน พรหมประเสริฐ
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองชัยนาท จังหวัด ชัยนาท รหัสไปรษณีย์ 17000
โทรศัพท์ 056416575 โทรสาร 056416576
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/chainat/
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่