ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 8' 10.6246"
16.1362846
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 13' 51.6173"
100.2310048
เลขที่ : 139688
การจักสานกระเช้าจากใบมะพร้าว
เสนอโดย วัฒนธรรมอำเภอโพทะเล วันที่ 17 มิถุนายน 2555
อนุมัติโดย พิจิตร วันที่ 27 มิถุนายน 2555
จังหวัด : พิจิตร
0 9622
รายละเอียด

การจักสานกระเช้าใบมะพร้าว
ประเภทและลักษณะภูมิปัญญาด้านการจักสาน
ประวัติความเป็นมา
มะพร้าวเป็นพันธุ์ไม้ซึ่งอยู่ในตระกูลปาล์ม ตระกูลเดียวกับตาลโตนด หมาก ลาน อินทผลัม จาก และสาคู ลักษณะของใบเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีสีเขียวเข้ม เรียงติดเป็นแผงอยู่สองข้างของทางมะพร้าว มีลำต้นเป็นรูปทรงกระบอกสีน้ำตาลเทา ส่วนโคนต้นจะใหญ่กว่าลำต้น มีลักษณะเป็นรูปกรวยคว่ำ สูงพ้นจากดิน 1 เมตร เรียกว่า สะโพก ส่วนนี้เป็นส่วนที่ผลิตราก ชอบขึ้นในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศอบอุ่น หรือค่อนข้างร้อน และมีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอ มะพร้าว เป็นต้นไม้ ที่มีความผูกพันกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน
คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือ ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รากมะพร้าว กาบมะพร้าว เช่น รากใช้สานตะกร้า ลำต้นใช้ในการก่อสร้าง ก้านใบสานเป็นกระจาดผลไม้ ผลมะพร้าวประดิษฐ์เป็นตุ๊กตา กะลามะพร้าวประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ ใบมะพร้าวใช้สานเป็นภาชนะใส่ของชั่วคราวห่อขนม สานหมวกกันแดด สานเป็นเครื่องเล่นเด็กและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปสัตว์ต่าง ๆ ของที่ระลึกประดับตกแต่ง
วัสดุที่ใช้
1.ใบมะพร้าว (สด)
2.เครื่องเย็บกระดาษ
3.ลวดเย็บกระดาษ
4.ลวด
5.มีด
วิธีการทำ
ขั้นเตรียมการ
1.เลือกก้านมะพร้าวที่มีใบยาวพอสมควร ขนาดเท่า ๆ กัน
2.ตัดก้านมะพร้าวจากต้น
3.ผ่าก้านมะพร้าวออกเป็น 2 ซีก
4.นับจำนวนใบมะพร้าวให้เป็นจำนวนคู่ส่วนใบที่เกินให้ตัดทิ้ง ให้เหลือก้านมะพร้าวอีกประมาณ 20-25ซม. สำหรับประกบกันเป็นวงกลม
5.เหลาก้านมะพร้าวให้บางพอสมควร เพื่อให้สามารถดัดเป็นวงกลมได้
6.ตัดลวดตามขนาด สำหรับมัดก้านมะพร้าว
ขั้นตอนการผลิต
1.เริ่มทำโครงร่างกระเช้าเมื่อผ่าก้านมะพร้าวและเหลาให้บางพอสมควรแล้ว นำมาประกบกันเป็นวงกลม ให้ก้านมะพร้าวส่วนที่ไม่มีใบมะพร้าวอยู่ด้านใน มัดด้วยลวดที่เตรียมไว้ให้แน่นและสวยงามจำนวน 2 อัน ให้มีขนาดต่างกันเล็กน้อย
2.นำก้านมะพร้าวที่ประกบกันเป็นวงกลม จำนวน 2 อัน มาวางซ้อนกัน โดยให้ใบมะพร้าวสลับกันระหว่างวงนอกและวงในแล้วมัดด้วยลวดให้แน่น
3.การสานตัวกระเช้านำก้านมะพร้าวที่ประกบกันเป็นวงกลมเรียบร้อยแล้ว มาสานตัวกระเช้า เริ่มจากใบมะพร้าวของก้านที่อยู่วงกลมด้านใน โดยสานสลับกันระหว่างก้านมะพร้าววงในและวงนอกโดยใช้ลายขัดธรรมดาลงและขึ้นระหว่างใบมะพร้าว จำนวน 2 ใบ จากนั้นสอดปลายเข้าไปในวงกลมด้านใน ทำแบบนี้จนถึงใบมะพร้าวใบสุดท้าย
4.นำใบมะพร้าวที่อยู่ด้านในวงกลมใบล่างสุด สอดลงไปในช่องที่อยู่ด้านล่างตามลายของกระเช้าและสอดเข้าไปภายในวงกลม เพื่อเป็นการสิ้นสุดลายของกระเช้า
5.นำปลายใบมะพร้าวที่เหลือที่อยู่ภายในวงกลม สอดลงไปที่ช่องว่างของขอบกระเช้า แล้วดึงให้แน่นพอสมควร ทำแบบนี้ไปจนหมดใบมะพร้าวที่อยู่ภายในวงกลมของก้านมะพร้าว จะได้ก้นของกระเช้า
6.นำใบมะพร้าวที่สอดออกไปรอบนอกวงกลมประกบกับใบมะพร้าวที่อยู่ด้านนอกเย็บรวมกันด้วยเครื่องเย็บกระดาษให้เรียบร้อยทุกใบ
7.แบ่งใบมะพร้าวที่เย็บรวมกันเรียบร้อยแล้ว เป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน
8.การสานหูกระเช้านำใบมะพร้าวที่เย็บรวมกันและแบ่งเป็น 2 ส่วนเรียบร้อยแล้วมาสานเป็นหูกระเช้า โดยกะระยะความยาวของหูกระเช้าพอประมาณพันปลายของใบมะพร้าวที่แบ่งส่วนเป็น 2 ส่วน สลับกันไปมาแล้วมัดด้วยลวด เก็บรายละเอียดให้เรียบร้อย
วิธีการเรียนการสอนศึกษาเรียนรู้ด้วนตนเองจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และถ่ายทอดให้กับคนในหมู่บ้าน ลูกหลานภายในครัวเรือนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภายในชุมชน
ประโยชน์ของภูมิปัญญาใช้ใส่ผลไม้ตามฤดูกาล สำหรับเป็นของฝากตามเทศกาล
ต่าง ๆ ภายในชุมชน

สถานที่หมู่ที่ 5 บ้านหนองบัว ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองบัว
เลขที่ 105 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 5
ตำบล ท้ายน้ำ อำเภอ โพทะเล จังหวัด พิจิตร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางจิรารัตน์ มงคลหิรัญเกษม
บุคคลอ้างอิง นางสาวปรีชญา นิลนารถ อีเมล์ p.nilnart@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
ถนน บุษบา
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองพิจิตร จังหวัด พิจิตร รหัสไปรษณีย์ 66000
โทรศัพท์ 056-612675-6 โทรสาร 056-612676
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่