หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด เกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน4 ปีมะโรง พ.ศ.2125 ณ บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา มีชื่อว่า “ ปู่ ” หรือ “ ปู ” บิดามีนามว่า (ตาหู) มารดามีนามว่า (นางจันทร์) มีฐานะยากจนปลูกบ้านอาศัยที่ดินเศรษฐีผู้หนึ่งไว้ชื่อ “ปาน” ตาหูและนางจันทร์เป็นข้าทาสของเศรษฐีปาน แห่งเมืองสทิงพระ ระยะที่หลวงพ่อทวดเกิด เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ข้าวในนา ในระหว่างที่พ่อแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ ได้ผูกเปลให้ลูกน้อยนอน ทำงานไปก็คอยเหลียวดูลูกน้อยเป็นระยะ แล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น คือนางจันทร์ได้เห็นงูตัวใหญ่มาพันที่เปลลูกน้อยแล้วชูคอแผ่แม่เบี้ย นายหู-นางจันทร์ได้พนมมือบอกเจ้าที่เจ้าทาง อย่าให้ลูกน้อยได้รับอันตรายใดๆเลย ด้วยอำนาจบารมีของเด็กน้อยเจ้าปู่ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปู่ยังคงนอนหลับปุ๋ยสบายดีอยู่เป็นปกติ แถมมีลูกแก้วกลมใส ขนาดย่อมกว่าลูกหมากเล็กน้อยส่องเป็นประกายอยู่ข้างตัวเด็ก ตาหู นางจันทร์ มีความเชื่อว่าเทวดาแปลงกายเป็นงูใหญ่นำดวงแก้ววิเศษมามอบให้กับลูกของตน เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่อง จึงไปพบตาหู-นางจันทร์แล้วเอ่ยปากขอดวงแก้วนั้นซึ่งตาหู-นางจันทร์ ไม่อาจปฏิเสธได้เศรษฐีปานจึงได้ลูกแก้วไปครอบครอง แต่ไม่นานนักเกิดเหตุวิบัติต่างๆกับครอบครัวของเศรษฐีบ่อยๆ พอหาสาเหตุไม่ได้เลยนึกได้ว่าอาจจะเกิดจากดวงแก้วนี้ จึงนำไปคืนให้ ตาหู-นางจันทร์เจ้าของเดิม ส่วนตาหู-นางจันทร์เมื่อได้ดวงแก้วกลับคืนมาจึงเก็บรักษาไว้อย่างดี นับแต่นั้นมาฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัว ก็ดีขึ้นเป็นเรื่อยๆ
พออายุได้ประมาณ 7ขวบ บิดามารดาพาไปฝากไว้กับ สมภารจวง วัดดีหลวง เพื่อให้เรียนหนังสือ เมื่ออายุได้ 14ปี สมภารจวง วัดดีหลวง จึงบวชเณรให้แล้วพาไปฝากไว้กับพระครูสัทธรรมรังสี วัดสีหยง เพื่อเรียนมูลกัจจายน์
ท่านพระครูสัทธรรมรังสี องค์นี้ทางคณะสงฆ์ของแผ่นดินจากกรุงศรีอยุธยาได้ส่งท่านมาเผยแพร่ศาสนาและสั่งสอยธรรมทางภาคใต้ เมื่อ “สามเณรปู่” เรียนอยู่ได้จนอาจารย์ไม่มีอะไรจะสอนแล้วจึงได้แนะนำให้สามเณรปู่ ไปเรียนต่อที่ สำนักพระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อสามเณรปู่ อายุครบ 20ปี พระครูกาเดิม วัดเสมาเมือง ได้อุปสมบทตามเจตนารมณ์ของสามเณรปู่ และทำญัตติอุปสมบทตั้งฉายาว่า “ สามีราโม” โดยเอาเรือ 4ลำ มาเทียบขนานเข้าเป็นแพ ทำญัตติ ณ คลองเงียบแห่งหนึ่ง ต่อมาก็เรียกคลองนี้ว่า “คลองท่าแพ” มาจนทุกวันนี้ ซึ่งเป็นชื่อจากพิธีกรรมในครั้งอดีต
ที่มาของคำว่า หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
พระภิกษุปู่ เรียนวิชาหลายอย่างในสำนักพระครูกาเดิม 3 พรรษาอาจารย์ก็ไม่มีอะไรจะสอนให้อีกจึงปรึกษากับพระครูกาเดิม ท่านก็บอกถ้าจะศึกษาอีกคงต้องเข้าเมืองหลวงคือกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นที่รวมของสรรพวิชาต่างๆ ก้เลยนำนำให้ไปขอโดยสารเรือสำเภาของนายอิน ที่จะนำสินค้าไปขายในเมืองหลวง เรือสำเภาของนายอินบรรทุกสินค้าหลายอย่างเคยไปมาค้าขายแบบนี้หลายครั้งแล้ว ครั้งนี้เรือสำเภาแล่นไปได้ 3 วัน 3คืน เป็นปกติอยู่ดีๆวันหนึ่ง ไม่ใช่ฤดูมรสุม แต่เกิดพายุพัดจัดลมแรงมากท้องทำเลปั่นป่วน จึงจำเป็นต้องลดใบเรือลงรอคลื่นลมสงบ เลยทำให้อาหารไม่พอ น้ำดื่มไม่มีจะกินกัน โดยเฉพาะน้ำจืดสำคัญที่สุด บรรดาลูกเรือไม่เคยพบเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนและอารมณ์เสียทุกคนลงความเห็นว่า เกิดจาอาเพศที่มีพระภิกษุโดยสารมาด้วย จึงตกลงใจให้ไปส่งพระภิกษุปู่(หลวงปู่ทวด)ขึ้นฝั่ง โดยลงเรือเล็กซึ่งมีพระภิกษุปู่และลูกน้องนายอิน 2 คนลงมาด้วยเพื่อพายไปส่งฝั่งขณะที่นั่งอยู่ในเรือนั้น พระภิกษุปู่จึงบริกรรมคาถาและอธิษฐานจิต แล้วยื่นเท้าออกไปข้างกาบเรือลำเล็ก แล้วแกว่งน้ำให้เป็นวง ขณะนั้นเอง ท่านจึงบอกให้ลูกเรือทั้ง 2คนเอามือกวักชิมน้ำดู ปรากฏว่าน้ำทะเลกลับกลายเป็นน้ำจืด ทุกคนต่างดีใจรีบตักน้ำใส่โอ่งใส่ไห ลูกเรือทุกคนหายโกรธพระภิกษุปู่ โดยเฉพาะนายอิน จึงนิมนต์ให้ท่านร่วมเดินทางต่อจนถึงกรุงศรีอยุธยา
เมื่อถึงเมืองหลวงสมัยนั้นกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของไทยเจริญรุ่งเรืองมากมีวัดวาอารามใหญ่ๆโตๆ นายอินได้นิมนต์ พระภิกษุปู่ให้เข้าจำวัดในเมืองหลวงแต่ท่านถือสันโดษ ท่านจึงไปจำพรรษาอยู่ที่วัดแค เขตทุ่งลุมพลีทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ตามประวัติเก่าแก่ กล่าวไว้ว่า หลวงพ่อทวด ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงศรีอยุธยานานถึง 9ปี คือระหว่าง พ.ศ.2148 -2157 ตอนนั้นพระภิกษุปู่หรือ หลวงพ่อทวด มีอายุแค่ 32 ปี
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
พระหลวงปู่ทวด แม้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ทวดไม่ได้ปลุกเสกในความขลังศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงปู่ทวดนั้น คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ นับจากพระพิมพ์นี้ มีปฐมบทมาแต่ครั้งปี พ.ศ.2497 ได้มีการจัดสร้างขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ ที่ออกในนามวัดช้างให้ วัดทรายขาว วัดเมือง วัดพะโคะ เป็นต้น
ความเป็นอมตะในตำนานหลวงปู่ทวด พระหลวงปู่ทวด สิ่งที่ไม่อาจลืมเลือนควบคู่กับตำนานดังกล่าวนั้น นามที่จะเคียงคู่ตลอดไปคือ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ท่านเป็นพระผู้สร้างตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดช้างให้ ที่คนส่วนใหญ่ยังระลึกถึงท่านเสมอในฐานะ ผู้ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริ