ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 35' 53.9999"
18.5983333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 44' 24"
100.7400000
เลขที่ : 142337
ประวัติหมู่บ้าน บ้านดอนแท่น อำเภอเวียงสา
เสนอโดย jahriya วันที่ 1 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย สนง.วัฒนธรรม จ.น่าน วันที่ 2 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : น่าน
1 2218
รายละเอียด

บ้านดอนแท่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 14 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน บ้านดอนแท่น ความหมายคำว่า “ดอน” หมายถึง ที่ลุ่มน้ำท่วมถึงและเกิดตะกอนทับถมจนเป็นที่ราบ ดินอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ ปลูกพืชได้ดี คำว่า “แท่น” หมายถึง เป็นที่สูงเคารพบูชา เป็นแท่นฐานชุกชี พระพุทธรูปพระประธาน มีความเป็นมาตามหลักฐานดังนี้ เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน (พ.ศ.2134 – 2140) หนังสือพงศาวดารเมืองน่าน ฉบับราชวงษ์ปกรณ์ กล่าวว่า “เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เสวยเมืองได้ 6 ปี เถิงปี กาบชง้า จุลศักราช 958 ตัว เดือน 8 ลง 3 ค่ำ ท่านก็เสด็จลงไปอยู่เมืองพ้อ ไปสร้างวัดศรีดอนท่น ได้อภิเษกสามีเจ้าขวานแขวน หื้อเป็นสังฆราช

บ้านดอนแท่นมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และหลักฐานที่เป็นต้นไม้มงคลไม้ยืนต้นที่มักถูกลืมไปคือ ต้นผึ้ง เป็นต้นไม้ที่ปลูกโดยผู้ครองนครน่าน มีลักษณะผิวเรียบ อวบ รากใหญ่ ลำต้นสูง แมลงผึ้งป่ามักจะมาอาศัยอยู่ ปัจจุบันผู้คนขึ้นเอาน้ำผึ้งและถูกตัดไปหมด

พ่ออุ้ยทองคำ พุฒวงศ์ อายุ 80 ปี เล่าว่า ในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นได้มาตั้งฐานทัพอยู่ที่โรงเรียนบ้านดอนแท่น เพื่อจะเดินทางต่อไปประเทศฝรั่งเศส ประเทศลาว ในช่วงนั้นได้มีเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตรมาทิ้งระเบิดที่โรงเรียนบ้านดอนแท่นและสะพานข้ามลำน้ำสา แต่ทั้งสองสถานที่ไม่ได้รับความเสียหาย

ปัจจุบัน บ้านดอนแท่นได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 หมู่ คือ หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 14 แต่ชื่อหมู่บ้านยังคงใช้ชื่อว่า บ้านดอนแท่น เหมือนเดิม

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
บ้านดอนแท่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2,14/บ้านดอนแท่น
ตำบล กลางเวียง อำเภอ เวียงสา จังหวัด น่าน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านดอนแท่น
บุคคลอ้างอิง นายสมเกียรติ เทพสิทธิ์์
ชื่อที่ทำงาน บ้านดอนแท่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2,14/บ้านดอนแท่น
ตำบล กลางเวียง อำเภอ เวียงสา จังหวัด น่าน รหัสไปรษณีย์ 55110
โทรศัพท์ 08-9632-0823
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่