ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 48' 49.6897"
13.8138027
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 52' 15.3811"
99.8709392
เลขที่ : 142538
วัดบ้านโป่ง
เสนอโดย ราชบุรี วันที่ 2 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ราชบุรี วันที่ 26 ตุลาคม 2564
จังหวัด : ราชบุรี
0 604
รายละเอียด

วัดบ้านโป่ง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ถนนราษฏร์ร่วมใจ ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง สังกัดมหานิกาย เป็นวัดราษฏร์ อยู่ในเขตปกครองของคณะสงฆ์ตำบล สวนกล้วย – ปากแรต อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี คณะสงฆ์ภาค ๑๕ มีอาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับโรงเรียนรัตนราษฏร์บำรุง ทิศใต้จดถนนสายบ้านไร่ห้วยลึก ทิศตะวันออกจดถนนเทศบาลและหมู่บ้านหลังวัด ทิศตะวันตกจดถนนริมทางรถไฟและหมู่บ้านหน้าวัดชายแม่น้ำแม่กลอง วัดบ้านโป่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๔๔

ประวัติความเป็นมาของวัดบ้านโป่ง

คำว่า “โป่ง” มาจากคำว่า “ดินโป่ง” ซึ่งเป็นดินที่มีรสเค็มและเป็นอาหารมีรสอันโอชะของสัตว์นานาชนิด เดิมเขตอำเภอบ้านโป่ง เป็นป่าใหญ่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด เป็นที่อยู่ของสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายและยังมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน จึงนับได้ว่าดินแดนแถบนี้อุดมสมบูรณ์ เมื่อมีคนมาอาศัยดินแดนแถบนี้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นหมู่บ้าน หมู่บ้านนี้จึงเรียกชื่อตามลักษณะดินในแถบนี้ว่า “บ้านโป่ง” และเมื่อมีวัดเกิดขึ้นก็เรียกชื่อวัดตามหมู่บ้านนั้นว่า “วัดบ้านโป่ง”

วัดบ้านโป่ง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง ซึ่งมีอายุประมาณ๒๑๐ ปีมีผู้เฒ่าได้เล่าสืบต่อ ๆ กันมาพอจับใจความได้ดังนี้

เดิมทีได้มีพระภิกษุลาวรูปหนึ่ง ได้มาสร้างกระท่อมมุงด้วยแฝกและได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นหากแต่ที่วัดบ้านโป่ง นั้นเต็มไปด้วยป่าไม้ใบหนาเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด เต็มไปด้วยภัยอันตรายมาก จึงไม่มีผู้ใดอาศัยอยู่ ต่อมาจึงเสื่อมโทรมลงและไม่มีผู้ใดทราบว่าพระภิกษุลาวรูปนั้นไปไหนและที่ใด

ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ เมืองหงสาวดีเกิดความปั่นป่วนขึ้น เนื่องจากภัยทางสงครามซึ่งเกิดขึ้นระหว่างพม่ากับอังกฤษ เป็นเหตุให้ชาวรามัญพากันอพยพหลบภัยแล้วข้ามมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย โดยเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์บ้าง ด่านสิงขรบ้าง และได้เข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินกันเป็นหมู่ ๆ ตามแถบฝั่งแม่น้ำแม่กลองในครั้งกระนั้นก็ได้มีพระภิกษุชาวรามัญรูปหนึ่งที่ได้อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาในเมืองไทยด้วย พระภิกษุรามัญรูปนั้นชื่อว่า “พระภิกษุด่าง” หลวงพ่อด่างได้เข้ามาในสภาพที่เป็นพระสงฆ์ จึงไม่อาจจะอยู่ในหมู่บ้านรามัญร่วมกับเขาได้ จึงได้มาหาที่พำนักใหม่และได้มาปลูกกระท่อมมุงแฝก ณ ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเดิมเป็นสำนักสงฆ์เก่าที่รกร้างไปแล้วนั้น หลวงพ่อด่างได้นำพระธาตุจากเมืองย่างกุ้งติดตัวมาด้วย และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความหลังให้ระลึกถึงมาตุภูมิเดิมหลวงพ่อด่างจึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นองค์หนึ่งมี ๕ ยอด คล้ายกับเจดีย์ชะเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง เจดีย์นี้ประชาชนทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “เจดีย์ ๕ ยอด” มีผู้คนชาวรามัญและชาวบ้านโป่ง มาทำการสักการบูชาอยู่เสมอ นับได้ว่าหลวงพ่อด่างพระภิกษุรามัญรูปนี้เป็นผู้ให้กำเนิดวัดบ้านโป่ง และเจดีย์ ๕ ยอด อันเป็นปูชนีสถานอันศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของวัดบ้านโป่งนี้ด้วย วัดบ้านโป่งได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และเป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ และปี พ.ศ.๒๕๓๖ ปัจจุบันพระครูสุธีปริยัติวิธานเป็นเจ้าอาวาส

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดบ้านโป่ง
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ถนนราษฎร์ร่วมใจ
ตำบล บ้านโป่ง อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมอำเภอบ้านโป่ง
บุคคลอ้างอิง -
ชื่อที่ทำงาน -
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ถนนราษฎร์ร่วมใจ
ตำบล บ้านโป่ง อำเภอ บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70110
โทรศัพท์ ๐๓๒ – ๒๑๑๒๐๑
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่