ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 143603
พระอุโบสถวัดท่าช้าง
เสนอโดย นครนายก วันที่ 5 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 22 มีนาคม 2559
จังหวัด : นครนายก
0 5209
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา(เช่นความเป็นมา,สถานที่ค้นพบ,ตำนานที่ค้นพบ) วัดท่าช้างเดิมชื่อวัดท่าคเชนทร์อยู่ในเขตตำบลย่านซื่อในครั้งนั้นมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์

สร้างโดยชาวจีนต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงินจำนวน80ชั่งเพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างพระอุโบสถพระอุโบสถหลังนี้มีลักษณะพิเศษคือเป็นพระอุโบสถ5เสา พระครูปลัดสงบจิตตฺสโมเจ้าอาวาสวัดท่าช้างและเจ้าคณะตำบลท่าช้างกล่าวว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสลำดับที่35ของวัดท่าช้างส่วนประวัติความเป็นมาของวัดนั้นไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ครั้นถึงพ.ศ.2462พระอุโบสถวัดท่าช้างได้รับการบูรณะโดยพ่อรอกและแม่เฉยคหบดีแห่งเมืองนครนายกซึ่งเป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้านายเมนูฤทธิ์แดงอายุ61ปีราษฎร์บ้านท่าช้างเล่าว่าการบูรณะพระอุโบสถในครั้งนั้นใช้ช่างชาวจีนโดยใช้ดินจากหนองโสนที่อยู่ไม่ไกลจากวัดท่าช้างมาปั้นอิฐและสร้างเตาเผาในบริเวณใกล้เคียงกันแล้วจึงนำอิฐที่ได้มาบูรณะพระอุโบสถดังกล่าว ปัจจุบันพระอุโบสถวัดท่าช้างอยู่ในสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก

ความสำคัญ เป็นพระอุโบสถที่เก่าแก่และสำคัญของจังหวัดนครนายก

ลักษณะการก่อสร้าง พระอุโบสถพระอุโบสถหลังนี้มีลักษณะพิเศษคือเป็นพระอุโบสถ5เสา หน้าบันมีลวดลายปูนปั้นรูปสัตว์ต่างๆ กว้าง ๙.๘ เมตร ยาว ๑๙.๓๐ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต

คำสำคัญ
วัดท่าช้าง
สถานที่ตั้ง
วัดท่าช้าง
เลขที่ ๖๐ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านย่านซื่อ
ตำบล ท่าช้าง อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พงศกร บุษรารัตน์ อีเมล์ pongsakorn.bud@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก
ตำบล ท่าช้าง อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
โทรศัพท์ 037-315050
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่