ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 12' 13"
14.2036111
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 13' 1.9999"
101.2172222
เลขที่ : 143746
วัดใหญ่ทักขิณาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
เสนอโดย นครนายก วันที่ 6 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย นครนายก วันที่ 6 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : นครนายก
1 5200
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา(เช่นความเป็นมา,สถานที่ค้นพบ,ตำนานที่ค้นพบ) เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดนครนายก (จากหนังสืออ้างอิงพระพุทธศาสนาในเอเชียโดยพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) และบันทึกสยามท้าวสุรนารี โดยพลาดิสัย สิทธิธัญกิจ) กล่าวไว้ว่า กรุงศรีสัตนาคนหุตหรืออาณาจักรล้านช้างได้แก่ประเทศลาวขณะนั้นมีนครหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง ต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาสร้างใหม่อยู่ที่นครเวียงจันทน์ ทั้งสองเมืองมีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง เมืองหลวงพระบางได้แก่พระเจ้าสุริยวงศาเป็นผู้ปกครอง ส่วนนครเวียงจันทน์นั้นได้แก่พระเจ้าศิริบุญสารเป็นผู้ปกครอง ทั้งสองเมืองนี้ต่างก็ระแวงซึ่งกันและกันและคอยจ้องหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกัน ต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาได้ยกกองทัพมาตีนครเวียงจันทน์และล้อมเมืองอยู่ประมาณ ๒ เดือนเศษ กองทัพนครเวียงจันทน์ไม่สามารถต้านทานได้พระเจ้าศิริบุญสารจึงมีหนังสือไปขอพม่ามาช่วยรบ กองทัพหลวงพระบางไม่สามารถตีนครเวียงจันทน์ให้สำเร็จได้ จึงถอยทัพกลับไปยังหลวงพระบาง ต่อมาความนี้ได้ทราบถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๐ พระองค์ทรงพิโรธพระเจ้าศิริบุญสารโดยถือว่าเป็นการดูหมิ่นไม่ปฏิบัติตามราชประเพณีจึงรับสั่งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพใหญ่พร้อมด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ นำกองทัพขึ้นไปชุมพลอยู่ที่เมืองนครราชสีมา แล้วให้พระยาสุรสีห์แยกไปทางกัมพูชาเพื่อเกณฑ์พลเขมรให้ช่วยกันต่อเรือรบเพื่อให้ล่องไปตามลำน้ำโขงแล้วเกณฑ์พลลาวพลเขมรช่วยกันขุดคลองอ้อมแก่งลี่ผี เสร็จแล้วยกทัพเรือมาตามลำคลองมาถึงนครจำปาศักดิ์ แล้วทำการตีเอาเมืองนครพนมและเมืองหนองคายได้ทั้งสองเมืองแล้วมุ่งหน้าสู่นครเวียงจันทน์

ขณะนั้นเจ้าสุริยวงศาเมื่อรู้ข่าวว่ากองทัพไทยยกมาตีนครเวียงจันทน์จึงให้แม่ทัพยกกำลังมาช่วยไทยตีนครเวียงจันทน์โดยเข้าตีทางด้านเหนือเจ้าพระยาสุรสีห์เข้าตีเอาเมืองพะโคและเมืองเวียงคุกได้ในที่สุดสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพใหญ่มาตีเอาเมืองพรานพร้าวได้แล้วตั้งค่ายล้อมนครเวียงจันทน์เอาไว้ ๔ เดือนเศษ จึงตีเอานครเวียงจันทน์ไว้ในอำนาจได้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๑

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกจึงมีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า ได้ตีเอากรุงศรีสัตนาคนหุตได้แล้ว และได้อันเชิญพระแก้วมรกตและพระบางพระพุทธรูปสำคัญกลับคืนมา ส่วนพระเจ้าศิริบุญสารนั้นหนีรอดการจับกุมไปได้โดยนำเจ้าพรหมวงศ์โอรสองค์ที่สี่หนีไปยังเมืองคำเกิด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้กองทัพไทยรีบกลับพระนคร

การชนะศึกครั้งนี้กองทัพไทยได้ยึดเอาทรัพย์สมบัติ ศัสตราวุธช้างม้าได้เป็นอย่างมาก ตลอดจนครอบครัวชาวเมืองและพระวงศานุวงศ์ได้แก่พระโอรสพระธิดาของพระเจ้าศิริบุญสาร คือ เจ้านันทเสน เจ้าอินทร์วงศ์ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าแก้วยอดฟ้าหรือเจ้าหญิงเขียวค่อม ได้ถูกนำตัวมายังกรุงเทพพร้อมกับเชลยศึก

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้กวาดต้อนประชาชนชาวลาวมายังประเทศไทยแล้วส่วนหนึ่งได้นำมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่จังหวัดนครนายกเรียกว่า “บ้านใหญ่ลาว”ประมาณ ๓ – ๔ ร้อยหลังคาเรือน เมื่อตั้งหลักแหล่งแล้วก็ช่วยกันสร้างวัด เรียกว่า “วัดใหญ่ลาว”(จากหนังสือรับรองสภาพการสร้างวัดของกรมการศาสนา) เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๓

พ.ศ. ๒๔๘๔ วัดได้เปลี่ยนชื่อเป็นทางราชการว่า “วัดใหญ่ทักขิณาราม” ตำบลบ้านใหญ่ วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๙ กรมศิลปากรได้จดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานและกรมศิลปากรร่วมกับทางวัดได้ทำการบูรณะอุโบสถให้มีสภาพเหมือนเดิม เมื่อวันที่ ๘ เมษายน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๖

ความสำคัญ เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนครนายก

เอกสารอ้างอิง

บูรณะและพัฒนาวัด กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา, ฝ่ายการประชุมเจ้าอาวาสที่จัดอุธยานการศึกษาในวัด

วัดพัฒนาตัวอย่าง วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นประจำปี ๒๕๔๕ , ๒๕๔๕ (เอกสารอัดสำเนา)

พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย กรุงเทพ : ธรรมสภา ๒๕๔๐

พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ. ท้าวสุรนารีวีรสตีโคราช. กรุงเทพ :บันทึกสยาม, ๒๕๔๕

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดใหญ่ทักขินาราม
เลขที่ ๓๙๕ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านใหญ่
ตำบล บ้านใหญ่ อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พระครูโอภาสญาณคุณ
ชื่อที่ทำงาน วัดใหญ่ทักขินาราม
เลขที่ ๓๙๕ หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านใหญ่
ตำบล บ้านใหญ่ อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่