ความเป็นมา
สวิงตักปลา เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาช้านานชั่วอายุคน โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนคนเฒ่าคนแก่ได้ใช้ภูมิปัญญาของตนเองในการสานสวิง โดยสวิงจะมีความถี่หรือห่างขึ้นอยู่กับผู้สานเอง คนเฒ่าคนแก่ในสมัยก่อนจับวงนั่งพูดคุยกันเล่าเรื่องราวต่าง ๆ นา ๆ ในอดีต แต่ในมือนั้นยังสานสวิงอยู่ ซึ่งใช้เชือกไนล่อนเส้นเล็กในการสานสลับกันไปมา เพราะถ้าไม่มีความชำนาญหรือไม่มีประสบการณ์แล้ว จะทำไม่ได้ในบ้านแต่ละหลังในชนบทห่างไกล จะมีสวิงแขวนไว้ข้างบ้านตนเองเกือบทุกหลังค่าเรือน เพราะเป็นเครื่องมือในการหากุ้ง,หอย,ปู,ปลา
ประโยชน์จากสวิง
1. นำไปดักปลา,กุ้ง,หอย,ปู ตามท้องทุ่งนาทั่วไป
2. สวิงความถี่ห่างขึ้นอยู่กับเราต้องการกุ้งหรือปลา ตัวใหญ่ตัวเล็ก
ความสำคัญของสวิง
ใช้ดักกุ้ง,หอย,ปู,ปลา ตามทุ่งนาหรือห้วย,หนอง,คลอง,บึง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอีกชิ้นหนึ่ง หาได้โดยทั่วไปตามร้านค้าของชำ
วัสดุที่ใช้ในการประกอบ
ประกอบด้วย เชือกไนล่อนเส้นเล็ก,ลวด และไม้ที่ใช้ทำขอบสวิง ซึ่งในสมัยก่อนคนเฒ่าคนแก่ใช้ไม้เนื้อเหนียวและขดเป็นวงกลมได้สะดวก แล้วนำสวิงที่เราสานเสร็จเรียบร้อยแล้ว มาประกอบใส่ขอบวงลวด หรือเถาวัลย์ที่เหนียวทำเป็นวงกลมขอบสวิง อีกครั้งหนึ่ง ขั้นตอนของสวิงก็จะเสร็จสมบูรณ์
แหล่งที่มาของสวิงตักปลา :นายบุญมี อินทร์นอก บ้านเลขที่ 119 หมู่ 1 บ้านวังเพิ่ม ตำบล วังเพิ่ม อำเภอ สีชมพู จังหวัด ขอนแก่น 40220 (ประธานกลุ่ม)