องค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
ประวัติความเป็นมา
ตำบลนางามแต่ก่อนเป็นหมู่บ้านนางาม ขึ้นกับตำบลโพนทอง อำเภอธาตุพนมมีอายุประมาณ 200 ปีเศษ และได้จัดตั้งเป็นตำบลนางามเมื่อปี พ.ศ.2513 โดยมีราษฎรอพยพมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมืองวังอ่างคำมาตั้งถิ่นฐานมีเมืองเว (เรณูครปัจจุบัน) และต่อมาราษฎรได้อพยพแยกออกมาตั้งถิ่นฐานอยู่ใหม่ที่บริเวณกว้างขวาง อุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกพืชพันธ์ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารและข้าวงาม จึงตั้งชื่อว่าบ้านนางามจนถึงปัจจุบันและได้ยกระดับเป็นตำบลนางามเมื่อปี พ.ศ.2513 โดยมีนายมา แสวงโคตรเป็นกำนันคนแรก ตำบลนางาม มีเขตปกครองจำนวน 14 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านโนนสวรรค์ , บ้านนายอน้อย , บ้านนางามเหนือ , บ้านนางามใต้,บ้านสร้างแป้น , บ้านนายอ , บ้านดอนกกโพธิ์ , บ้านโนนคำ,บ้านค่ายเสรี , บ้านดอนสวัสดิ์ , บ้านสร้างแป้น , บ้านน้อยพัฒนา,บ้านนางามเหนือ , บ้านนายอน้อย
สภาพทั่วไปของตำบล
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มอุดมสมบูรณ์เหมาะ กับการเพาะปลูก ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ไม่มีภูเขา ไม่อยู่ในเขตป่าสงวน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 767 กิโลเมตร
อาณาเขตตำบล
ทิศเหนือ ติดกับ ต.หนองฮี อ.ปลาปาก และต.คำเตย อ.เมือง จ.นครพนม
ทิศใต้ ติดกับ ต.โพนทอง อ.เรณูนคร จ.นครพนม
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.โพนแพง และ ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.เรณู อ.เรณูนคร จ.นครพนม
จำนวนประชากรของตำบล
จำนวนประชากรในเขต อบต. 8,439 คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม ปลูกพริก ปลูกยาสูบ และค้าขาย
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล
1. วัดพุทธ 12 แห่ง
2. โรงเรียน 7 แห่ง
3. สถานีอนามัย 2 แห่ง
4. อบต. 1 แห่ง
เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางถนนวิภาวดีรังสิต ถึงสระบุรีเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพสู่อีสาน ระยะทางถึงตัวจังหวัดนครพนม740 กิโลเมตร ระยะทางจากตัวจังหวัดถึงอำเภอเรณูนคร 50 กิโลเมตร ตำบลนางามตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางนครพนม-หนองญาติ และหนองญาติ-หนองฮี ระหว่างกิโลเมตรที่ 40 และห่างจากอำเภอ 8 กิโลเมตร
สภาพพื้นที่และระบบสาธารณูปโภค
จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 8,420 ครัวเรือน จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 4,250 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 52.00 ของจำนวนหลังคาเรือน
ความสำคัญ
เป็นเครือข่ายทางวัฒนธรรมของอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม โดยให้การส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมของคนในชุมชน ให้มีความรักและห่วงแหนในศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนตนเอง รวมไปถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนให้คงอยู่ต่อไปด้วย โดยจะเห็นได้จากการจัดให้มีโครงการ/กิจกรรมทางด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม งานประเพณีงานบุญต่างๆ ของชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุก ๆ ปี