ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 7.44"
13.7354
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 11' 39.48"
101.1943
เลขที่ : 146268
ประวัติบ้านเกาะลัด
เสนอโดย nujib วันที่ 16 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ฉะเชิงเทรา วันที่ 30 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ฉะเชิงเทรา
1 2164
รายละเอียด

เมื่อประมาณปี 2409 บ้านเกาะลัดยังคงเป็นผืนดินติดกับบ้านบางค้างคาว ตำบลบางตลาด มีลักษณะเป็นแหลมติ่งยื่นออกไปในแม่น้ำ เป็นป่า ต่อมาชาวบ้านได้ถากถางขุดคลองขึ้นสำหรับเป็นทางควายเดิน เพื่อลัดจากฝั่งหนึ่ีงไปอีกฝั่งหนึ่ง บริเวณที่เป็นคอแหลมยื่นออกไปพอดี เวลามีน้ำมาจะล้นเข้ามาในคลองนี้จะค่อยๆ เซาะดินพังลงจนสามารถทำเรือสัญจรไปมาได้แต่ไม่กว้างนัก ต่อมามีเรือหางยาวแล่นผ่านทำให้มีคลื่นใหญ่และมีเรือกระแซงลำใหญ่แล่นผ่านคลองจนคลองลึกและกว้างขึ้น ประกอบกับเป็นแนวตรงของลำน้ำบางปะกงด้วย ทำให้ทางน้ำใหญ่เท่ากัน และไหลเชี่ยว พื้นดินจึงถูกตัดขาดออกเป็นเกาะ เรียกว่า "เกาะลัด"

เกาะลัดถือว่าเป็นเกาะน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วย2หมู่บ้านคือหมู่ที่2บ้านเกาะลัดและหมู่ที่3บ้านเกาะลัดมีแม่น้ำบางปะกงล้อมรอบเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในการล่องเรือสำราญ เป็นแหล่งอารยธรรมและวิถีชีวิตชาวเลของลุ่มน้ำบางปะะกง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของตำบลและจังหวัดฉะชิงเทราอีกแห่งหนึ่งเกาะลัดมีเนื้อที่ประมาณ2,000ไร่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คงความสวยงามตามธรรมชาติไว้อย่างมากมายและในเกาะลัดยังมีกิจกรรมหลากหลายที่สามารถสัมผัสได้ ถึงวิถีชาวบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่นสินค้าพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษมะม่วงจากสวนลูกจากลอยแก้วมะพร้าวน้ำหอมกุ้งแม่น้ำปลากะพงขาวและผลิตภัณฑ์บนเกาะชมธรรมชาติป่าชายเลนและกิจกรรมขี่จักรยานบนเกาะล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำคืนตลอดจนที่พักโฮมสเตย์ที่ชาวบ้านเตรียมไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน

อาณาเขต ติดแม่น้ำบางปะกง อาชีพหลักของชาวบ้าน คือ การเกษตร ทำสวน อาชีพเสริม ทำประมง รับจ้าง

สถานที่สำคัญ ตลาดบ้านเกาะลัด การเดินทางจะเดินทางทางเรือ จากอำเภอคลองเขื่อน ลงเรือข้ามฟาก ณ ท่าเรือวัดคุ้งกร่าง ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ถ้าเดินทางจากอำเภอบางคล้า ลงเรือข้ามฟาก ณ หน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า

สถานที่ตั้ง
บ้านเกาะลัด
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 2 , หมูู่ที่ 3 บ้านเกาะลัด
ตำบล บางตลาด อำเภอ คลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
องค์การบริหารส่วนตำบลบางตลาด
บุคคลอ้างอิง -
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมูู่ที่ 6 บ้านบางตลาด ถนน บางตลาด-คุ้งกร่าง
ตำบล บางตลาด อำเภอ คลองเขื่อน จังหวัด ฉะเชิงเทรา รหัสไปรษณีย์ 24120
โทรศัพท์ 038-502154 โทรสาร 038-502154
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
Attapong 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 01:42
ข้อมูลการเข้าถึงสถานที่(ลายแทง)
เข้าไปสอบถามบ้านป้าสมศรี ที่ตลาดเก่าปากน้ำหรือไม่ลองไปสอบถามดูที่ท่าเรือวนภูติ เขาจะพาไปที่บ้านป้าสมศรีซึ่งอยู่ที่เกาะลัด โบราณวัตถุเบื้องต้นยังเก็บรักษาอยู่กับป้าสมศรีครับ และบริเวณใกล้เคียงกับบ้านป้าสมศรี ได้พบหลักฐานที่คล้ายๆกันอีกเป็นจำนวนมากโดยรอบ พื้นที่(ถ้าไม่เข้าใจก็ ถามเขาดูครับ)
ข้อมูลเสริมเพื่อความน่าสนใจ(ข้อสันนิษฐานบิ้องต้น)
1.บริเวณที่พบอาจเคยเป็นทางน้ำเก่าที่มีเรือ สัญจรผ่านไปมา
2.บริเวณที่พบอาจเคยเป็นบ้านของคนที่มีฐานะในสมัยก่อน
(ซึ่งบริเวณนี้เคย ถูกเรียกว่า ปากน้ำเจ้าโล้ เหมือนกัน จากหลักฐานที่พบในจารึกแผ่นเงินวัดพยัคฆ์อินทร์ ระบุว่าเมืองฉะเชิงเทรา เคยตั้งอยู่ ณ.ปากน้ำเจ้าโล้ (พม่าก็เคยตั้งทัพแถวนี้ด้วย)(เจ้าตากจะเคยมาหรือไม่ก็แล้วแต่ความเชื่อ)ย้ายไปตั้งแปดริ้ว เป็นไปได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำบางปะกง
สมัยก่อนปากน้ำเจ้าโล้คลุ่มพื้นที่ตอนเหนือของเกาะลัด ปากน้ำโจ้โล้ปัจจุบัน และบางคล้าบางส่วนเช่นโรงเรียนดาราจรัสด้วย(หลักฐานชัดเจนครับ)
แหลมพระสถูปปัจจุบัน(เดิมชื่อแหลมพระปรางค์)เคยยาวถึงเกือบๆวัดปากน้ำ
ส่วนแปดริ้วเก่า จะอยู่ระหว่างคลองมะกอก กับคลองวัดแจ้งและบางส่วนของตลาดบางคล้าปัจจุบัน
ส่วนวัดโพธิ์ อยู่ในเขตท่าทองหลาง (นคราท่าทองหลาง (นิราศปราจีนบุรี))
(ส่วนบ้านทองหลาง ในพงศาวดารจะเป็นต้นคลองท่าทองหลาง ที่ตัดกับแนวถนนโบราณ ปัจจุบันชื่อบ้านท่าเรือ หัวสำโรง(ไปเช็กในกูเกิลแม็ปได้ครับ)(ฉบับราชหัตถเลขา(ร.4) เรียกหัวทองหลาง)
นี้ข้อมูลคร่าวๆครับ เชื่อว่าทางกระทรวงคงมีเหมือนกัน เป็นไปได้ก็ช่วยส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจเพื่มเติมด้วยน่ะครับ ทางเจ้าของบ้านยินดีต้อนรับเป็นอย่างยิ่ง และจะได้มีข้อมูลทางวิชาการใหม่ๆ กับจังหวัดฉะเชิงเทราด้วยครับ



Attapong 2 พฤศจิกายน 2555 เวลา 00:39
บริเวณตรงกันข้ามกับวัดปากน้ำ มีการพบร่องรอยของเศษถ้วยชามเก่าๆ และมีจำนวนมาก น่าสนใจมากครับ อย่างไรก็ดีทางวัฒนธรรมจังหวัด ช่วยส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจ หน่อยครับ ผมได้ไปสำรวจเบื้องต้นมาแล้วได้พบโบราญวัตถุ อยู่จำนวนหนึ่ง(และได้มอบให้เจ้าของบ้านทั้งหมดไปแล้ว)
สิ่งที่พบเบื้องต้น บริเวณหน้าดิน
ส่วนใหญ่จะเป็นเศษชามลายคราม
ช้อนลายคราม
ตะคัน สมบูรณ์ 2ชิ้น(ถ้วยจุดไฟ แสงสว่าง)
ก้อนอิฐ มอญเก่าแบบเจาะ 2รู (เหมือนกับอิฐที่งมได้ จากพระเจดีย์(ทรงปรางค์?/สถูป?)ที่ได้พังจมน้ำไปบริเวณแถวๆนั้นครับ
(เท่าที่จำได้น่ะครับ)
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่