ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 27' 11.2662"
16.4531295
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 38' 17.7054"
102.6382515
เลขที่ : 146846
ประเพณีลงแขกดำนา: ตำบลป่าหวายนั่ง
เสนอโดย kamon วันที่ 19 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 19 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 491
รายละเอียด

ลงแขกเป็นวัฒนธรรมประเพณีแห่งความเอื้อเฟื้อและเกื้อกูลกันของสังคมคนอีสานในอดีต ที่นับวันจะสูญหายไปเนื่องจากระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราเป็นตัวกำหนด คนไทยในสมัยนี้รู้จักคำว่าลงแขกในความหมายที่จะนำไปสู่คุกตะรางเพราะหมายถึงการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา แต่สำหรับฅนอีสานแล้วลงแขกมีความหมายถึงน้ำใจที่ผู้คนในชุมชนมอบให้กัน ในการช่วยเหลือกิจการงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว เนื่องจากชีวิตของคนอีสานเกี่ยวพันกับอาชีพด้านเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็น การทำนา การทำไร่ ทำสวน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาของฟ้าและฝน จะต้องเร่งรีบในการเพาะปลูก ปักดำ เก็บเกี่ยว ในครอบครัวใดมีแรงงานมากก็จะทำได้เร็วและทันเวลา แต่ครอบครัวที่มีคนน้อยก็จะทำสำเร็จได้ยาก ณ จุดนี่เองที่ก่อให้เกิดประเพณีลงแขกเพื่อช่วยเหลือกันด้านแรงงาน ไม่มีค่าจ้างตอบแทนมีเพียงน้ำใจเลี้ยงอาหารข้าวปลาตามแต่จะหาได้ในท้องถิ่น หมุนเวียนกันไปจากครอบครัวหนึ่งสู่อีกครอบครัวหนึ่ง ทำให้กิจการงานสำเร็จลุล่วงมีอาหารเพียงพอไม่ขาดแคลน เมื่อ ควายเหล็กเข้ามาสู่ชุมชนพร้อมกับการส่งเสริมให้มีการปลูกเพื่อขาย ยุคเศรษฐกิจเงินตราเป็นใหญ่จึงทำให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันในอดีต กลายมาเป็นการว่าจ้างแรงงานแทน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามอย่างการลงแขกจึงพลอยสูญหายไปด้วย และยิ่งมาถึงยุคสมัยที่ลูกหลานวัยรุ่น หนุ่ม-สาวของเราหนีความแห้งแล้งไปขายแรงงานในเมืองใหญ่ การทำไร่ไถนาของบรรพบุรุษก็ยิ่งขาดแคลนแรงงานหนัก ก็ได้อาศัยเงินทองที่ลูกหลานส่งมาให้มาจ้างแรงงานในหมู่บ้านใกล้เคียงมาช่วย เหลือ ก็ยิ่งทำให้การลงแขกถูกลืมเลือนเด็ดขาดไปเลย เพราะการช่วยงานต้องมีค่าจ้างตอบแทน เลี้ยงข้าวปลาอาหารอีก นี่จึงต้องมีการฟื้นฟูและกล่าวถึงวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม

ประเพณีลงแขกดำนา : ตำบลป่าหวายนั่งประเพณี ลงแขกดํานา หรือ การหา ,การวาน,เพื่อมาช่วยกันดํานา โดยไม่มีค่าจ้าง ลักษณะเป็นการแสดงน้ำใจ ในการช่วยเหลือกัน ซึ่งชาวนาอีสาน จะหมุนเวียนช่วยกันไปเรื่อยๆ หลังจากช่วยคนหนึ่งเสร็จ วันต่อไปก็ไปช่วยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเจ้าของที่นาหลังจากเพื่อนบ้านมาช่วยแล้วก็สิแต่งสําหรับ กับข้าว เหล้าไห ไก่ตัว ออกมาเลี้ยงแขกเป็นการตอบแทน ที่มาช่วยเหลือ ซึ่งการกระทําในลักษณะนี้ ยุควัตถุนิยมสิหาดูยากมาก ทุกวันนี้สิมีแต่การจ้าง ใช้เงินเป็นหลัก บ่อคือรุ่นก่อน สิช่วยกันการลงแขกดำนาตำบลป่าหวายนั่งได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่งอย่างในภาพประกอบนั่นก็เป็นภาพของชาวบ้านตำบลป่าหวายนั่ง ร่วมกับส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น นับร้อยชีวิตที่มารอร่วมลงแขกดำนาบนที่ดินของ นายดิเรก เลิศฤทธิ์ เกิดขึ้นมาจากความคิดริเริ่มของหลาย ๆ คน หลายๆหน่วยงาน หลายองค์กร ที่มองเห็นว่าประเพณีดั้งเดิมของชาวไทยเรากำลังจะสูญหายไป เพราะต่างคนต่างทำ ความสัมพันธ์ในชุมชนมันจึงเริ่มถดถอย ส่งผลถึงผลผลิตของชาวนาบางคนลดน้อยและด้อยคุณภาพ ต่างไปจากคนที่มีกำลังคนและทุนทรัพย์อย่างลิบลับ หากไม่นำประเพณีนี้กลับคืนมา เชื่อได้แน่ว่าถามเด็กๆ ก็คงจะบอกไม่ถูกว่าประเพณีลงแขกเขาทำอย่างไรกัน เพราะทุกวันนี้พวกเขาเข้าใจแค่คำว่า "ลงแขก" ที่ลงเอยต้องกลายเป็นผู้ต้องหาเป็นแน่แท้ ดังนั้น เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีลงแขกดำนา ให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ทราบถึงประเพณีที่ดีงามที่บรรพบุรุษเคยทำมา ชาวตำบลป่าหวายนั่ง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น จึงได้ร่วมจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีลงแขกดำนา ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้

2. เพื่อให้เกิดความสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ

3. เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดรายจ่ายในการทำนา

สถานที่ตั้ง
บ้านหนองเซียงซุย
หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านฝาง อำเภอ บ้านฝาง จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น
บุคคลอ้างอิง กมนรัตน์ สิมมาคำ อีเมล์ kamon2507@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
เลขที่ ที่ว่าการอ หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 บ้านฝาง ซอย - ถนน มลิวรรณ
ตำบล บ้านฝาง อำเภอ บ้านฝาง จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40270
โทรศัพท์ 081-8747096
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่