ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 13' 36.9817"
6.2269393593433895
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 2' 3.6803"
102.03435563035963
เลขที่ : 147604
กะบับดักหนู
เสนอโดย นราธิวาส วันที่ 24 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย นราธิวาส วันที่ 26 ตุลาคม 2566
จังหวัด : นราธิวาส
0 4403
รายละเอียด

กะบับดักหนูเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดักหนูของชาวบ้านโดยมีภูมิปัญญาคือนายสวัสดิ์ ดำอินทร์ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๓๕ หมู่ที่ ๓ ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ ๙๖๑๑๐ "กะบับ" หรือภาษามาลายูเรียกว่า "ปรากะ" เป็นเครื่องมือใช้ดักหนูนา ที่ตัวกะบับนั้นจะเป็นร่องน้ำหนักที่รองน้ำหนักที่สำหรับทับหนูตาย ที่่ทำด้วยไม้ลวกหรือไม้ไผ่จะมีผูกหรือการสาน ที่สำหรับวางก้อนดินหรือหินในด้านบน ด้านหน้าจะมีบ่วงสำหรับที่เกี่ยวลิ้น โดยใช้ยกการบังคับไว้ข้างหนึ่ง ใต้กะบับมีไม้แบนไว้สำหรับทำเป็นคานและด้านหน้าคานมีเสา ๒ ต้น ใช้ยกคานเวลาดักหนูอีกเช่นกัน ระยะข้าวตั้งท้อง จะมีศัตรูทำลาย ทำให้มีปัญหาในนาข้าว ศัตรู คือ หนู ใช้ยาเบื่อก็ไม่สามารถกำจัดได้ จะต้องใช้กับดัก ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ฟ้าครอบ หรือกาำรทำกะบับดักหนู ที่นำไม้ใผ่มาเป็นที่ดักหนู ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมใช้กัน

วิธีการทำ
๑. เลื่อยไม้ไผ่ออกเป็นท่อนๆ
๒. ผ่าไม้ไผ่เป็นซี่ๆ มีขนาดความยาว ๔๐ เซนติเมตร
๓. นำไม้ไผ่ที่ฝาเป็นซี่ๆ นำมาเหลาไม้ไผ่เพื่อลบเหลี่ยมความคมของไม้ไผ่ทุกๆ ด้าน
๔. นำ้ไม้ไผ่ตากขนาดที่เตรียมไว้ มาวางตามแนวนอน ระยะห่าง ๑ เซนติเมตร
๕. นำเถาวัลย์ีที่เตรียมไว้มาสานสลับขึ้นบนลงล่างระหว่างซี่ของไม้ไผ่ ทั้ง ๒ ด้าน ซ้ายขวา สานสลับไปเรื่อยๆ ให้ครบ ๘ ชิ้น
๖. สานสลับขึ้นลงตามรอยเดิมทั้ง ๒ ด้าน ซ้ายขวา
๗. นำเถาลำเทง มาสานสลับขึ้นบนลงล่างบริเวณตรงกลางของไม้ไผ่ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง
๘. นำไม้ไผ่ขนาเท่าเดิมมาวางตามขวางทั้งสองด้าน ทั้งซ้ายขวา และนำเถาลำเทงมาสานหรือผูกเป็นเส้นแทยง ส่วนอีกด้านหนึ่งก็รัดให้เหมือนเดิม แต่ขนาดความยาวของปลายไม้ไผ่จะต้องยาวกว่าไม้ไผ่อีกด้านหนึ่ง สานเป็นเส้นทแยงมุมเหมือนเดิมจนเสร็จสิ้นทั้งสองด้าน
๙. นำเถาลำเทงมาผูกกับปลายของด้านหน้าทั้งสองด้าน (เรียกว่าบ่วงเกี่ยวลิ้น)
๑๐. ตัดไม้ขนาดความยาว ๑ เมตร ๒๐ เซนติเมตร เพื่อเป็นแกนยึดตัวกะบับดักหนู
๑๑. นำเถาลำเทงมาผูกกับด้านปลายของไม่ที่เตรียมไว้ความยาว ๑ เมตร ๒๐ เซนติเมตร
๑๒. ตัดไม้ไผ่ขนาดความยาว ๒๕ เซนติเมตร ด้านหนึ่งเหลาให้ปลายแหลม ส่วนอีกด้านหนึ่งเหลาให้ปลายมน (เรียกว่า ลิ้น)
๑๓. เหลาไม้ไผขนาดเท่าเิดิมเจาะรูทั้งสองด้าน ด้านหนึ่งไว้สำหรับยึดกับพื้นดิน โดยทำสลักไม้ไผ่ ขนาด ๒ นิ้ว อีกด้านหนึ่งไว้สำหรับยึดกับแกนไม้ไผ่ (เรียกว่าคานวางอาหาร)

วิธีการดัก/วิธีการใช้
๑. การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ที่มีลักษณะขันนาแห้งเป็นเส้นทางหนูผ่าน หรือบริเวณที่หนูนาลงมากินต้นข้าว
๒. นำไม้ที่เตรียมไว้ ขนาดความยาว ๑ เมตร ๒๐ เซนติเมตร (ตามข้อ ๗) มาปักลงพื้นดิน หรือบนพื้นนาที่เลือกไว้ ให้มีความเอียง ประมาณ ๖๐ องศา
๓. นำเถาลำเทง มาผูกด้านปลายของไม้ที่เตรียมไว้ (ตามข้อ ๘) ส่วนปลายของเถาลำเทงมาผูกกับไม้ไผ่ที่เตรียมไว้
๔. นำไม้ไผ่ที่เจาะรู (ที่เรียกว่า คานวางอาหาร) มาวางด้านหน้าของไม่ที่ป้ก นำข้าวเปลือกมาโรยตามร่องของไม้ไผ่ สำหรับล่อหนู
๕. นำกะบับที่เตรียมไว้มาวางบนไม่ไผ่ที่ได้โรยข้าวเปลือกไว้
๖. นำ้ไม้ไผ่ที่เหลาปลายแหละ (ที่เรียกว่า ลิ้น) มาขัดกับรู้ด้านล่างของคานวางอาหาร
๗. นำดินหรือก้อนหิน มาวางทับบนกะบับ เพื่อให้มีน้ำหนัก ต้องวางอย่างเบาที่สุด เมื่อวางแล้วเวลาหนูมากินอาหารหรือข้าวเปลือก ไม้คานจะทำหน้าที่กระดก และหล่นทับหนูตาย
๘. เมื่อทำกระบับดักหนูเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำมาใช้ในการดักหนูและนำมาวางตามสถานที่ที่เลือกไว้ และเมื่อหนูติดกับ ชาวบ้านก็สามารถนำมาทำเป็นอาหาร และนำมาขายได้ีอีกด้วย

วัสดุ/อุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้
๑. ไม่ไผ่ จะต้องเป็นไม้ไผ่ที่มีความแห้ง สีน้ำตาล
๒. เถาวัลย์
๓. เถาลำเทงหรือย่านลิเภา
๔. มีดพร้า ไว้สำหรับผ่าซีกหรือเหลาไม้ไผ่
๕. ขวาน ไว้สำหรับผ่าซีกไม้ไผ่ออกเป็นซี่ๆ
๖. เลื่อย ไว้สำหรับเลื่อยไม้ไผ่ให้เป็นท่อนๆ

คุณสมบัติของไม้ไผ่ในการที่จะทำกะบับดักหนู
ไม้ไผ่ที่นำมาใช้จะต้องมีความแห้ง จะออกสีน้ำตาล เพราะเวลาทำกะบับดักหนูจะมีความคงทน และจะมีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน

ประโยชน์ของกะบับดักหนู
ชาวบ้านทำกะบับดักหนู เพื่อดักจับหนูนาที่จะมากินข้าวในช่วงระยะเวลาข้าวออกรวงข้าว

คำสำคัญ
กะบับดักหนู
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 135 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล พร่อน อำเภอ ตากใบ จังหวัด นราธิวาส
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสวัสดิ์ ดำอินทร์ อีเมล์ muntana_925@hotmail.com
เลขที่ 135 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล พร่อน อำเภอ ตากใบ จังหวัด นราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96110
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่