ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 38' 11.738"
16.6365939
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 54' 56.263"
101.9156286
เลขที่ : 147832
"แอก" เครื่องมือประกอบในการไถนา
เสนอโดย Songrit วันที่ 26 กรกฎาคม 2555
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 26 กรกฎาคม 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
0 442
รายละเอียด

"แอก" แอกเครื่องมือประกอบในการไถนา :เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือในการไถนาในสมัยโบราณ แอกใช้สำหรับเป็นอุปกรณ์ในการคล้องคอวัว และควาย ในการไถนา โดยใช้บังคับควายและวัวไม่ให้เดินออกนอกทางเวลาเราทำการไถนา แต่บางครั้งสัตว์เลี้ยงของเราก็เกิดการหงุดหงิดขึ้นมาได้เพราะความเหนื่อยล้า เพราะว่าเราใช้แรงวัว ควาย มากเกินไป โดยวัว ควาย วิ่งในขณะที่ยังมีอุปกรณ์ในการไถนาอยู่ก็มีให้เห็นในสมัยโบราณ

ลักษณะของแอกในการไถนา :ทำมาจากไม้เนื้อแข็ง ที่มีความโค้งงอเล็กน้อย เตาะรูข้างละ 2 รู เพื่อใส่ไม้เพลาข้างละ 2 ซี่ สำหรับครอบลงบนคอวัว ควาย ใช้ประโยชน์ในการบังคับวัว ควาย ไม่ให้เดินออกนอกทางและเป็นต้นแรงที่วัว ควาย จะลากคันไถให้พลิกดินที่ไถ และใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างหางยามกับแอกเป็นตัวกลางที่จะลากหัวหมูให้เดินหน้าตามแรงเดินของวัว ควายที่ใช้เทียมนั้นเอง

วัสดุอุปกรณ์ในการทำแอกไถนา :ใช้ไม้เนื้อแข็ง ที่มีความโค้ง งอเล็กน้อย,หรือไม้ต้นขนุน, ตะปู

แหล่งที่มาของแอกไถนา :ลานวัฒนธรรม ตลาดกกเกลือ บ้านเซินใต้ หมู่ที่ 3 ตำบล โนนคอม อำเภอ ภูผาม่าน จังหวัด ขอนแก่น

สถานที่ตั้ง
ลานวัฒนธรรม ตลาดกกเกลือ อำเภอภูผาม่าน
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านเซินใต้ ซอย - ถนน หนองเขียด-วังสวาบ
ตำบล โนนคอม อำเภอ ภูผาม่าน จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
อ้างอิงบางส่วนมาจาก ภูมิปัญญาชาวบ้าน จากณัฐกิจ/ลานวัฒนธรรม ตลาดกกเกลือ บ้านเซินใต้
บุคคลอ้างอิง ทรงฤทธิ์ แซงวุฒิ อีเมล์ Songrit94@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอภูผาม่าน อีเมล์ songrit94@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน หนองเขียด-วังสวาบ
อำเภอ ภูผาม่าน จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40220
โทรศัพท์ 08-1874-7083 โทรสาร -
เว็บไซต์ สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอภูผาม่าน
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่