ประวัติอำเภอภักดีชุมพล
อำเภอภักดีชุมพลตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดชัยภูมิ บนถนนทางหลวงหมายเลข 2359 ห่างจากจังหวัดชัยภูมิ 90 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 320 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 626 ตารางกิโลเมตร หรือ 391,250 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี และ อำเภอวิเชียรบุรี
จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอหนองไผ่
จังหวัดเพชรบูรณ์
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป ประกอบไปด้วยพื้นที่ป่าไม้และภูเขาร้อยละ 40 ของพื้นที่ มีเทือกเขาขนาบ 2 ด้าน ทิศตะวันตก ได้แก่ เทือกเขาพญาฝ่อ แบ่งเขตระหว่างจังหวัดชัยภูมิ กับ จังหวัดเพชรบูรณ์ทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาพังเหย มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ตรงกลางประมาณ ร้อยละ 60 ของพื้นที่ สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทรายและหิน / ดินลูกรัง จำนวนเนื้อที่ 391,250 ไร่
ลักษณะภูมิอากาศของอำเภอภักดีชุมพล เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึงเดือน กันยายน
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์
อำเภอภักดีชุมพล มีส่วนราชการ และหน่วยงานที่สังกัดส่วนกลาง รวม ๘ แห่ง ประกอบด้วย
๑. โรงพยาบาลภักดีชุมพล ๒. ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน ๓. โรงเรียนภักดีชุมพลวิทยา
๔. โรงเรียนเจียงทองพิทยาคม ๕. หน่วยรักษาพันธ์สัตว์ป่า ตะเบาะ –ห้วยใหญ่
๖. อุทยานแห่งชาติไทรทอง ๗. หน่วยจัดการต้นน้ำลำเจา ๘. ด่านกักสัตว์วังใหญ่
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคอำเภอภักดีชุมพล มีส่วนราชการ และหน่วยงานที่สังกัดส่วนภูมิภาค
ประกอบด้วย
๑. ที่ทำการปกครองอำเภอ ๖. สำนักงานท้องถิ่นอำเภอ
๒. สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ๗. สำนักงานสัสดีอำเภอ
๓. สำนักงานเกษตรอำเภอ ๘. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
๔. สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ๙. สถานีตำรวจภูธรภักดีชุมพล
๕. สำนักงานที่ดินอำเภอ ๑๐. สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ประกอบด้วย มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง คือ
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเจียง - องค์การบริหารส่วนตำบลเจาทอง
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง - องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมทอง
การปกครองท้องที่
อำเภอภักดีชุมพล มีเขตการปกครอง 4 ตำบล รวม 47 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
- ตำบลบ้านเจียง จำนวน 11 หมู่บ้าน
- ตำบลเจาทอง จำนวน 14 หมู่บ้าน
- ตำบลวังทอง จำนวน 13 หมู่บ้าน
- ตำบลแหลมทอง จำนวน 9 หมู่บ้าน
การศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
การศึกษา
- โรงเรียน จำนวน 23 แห่ง
- ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน235 คน
- นักเรียน จำนวน 5,134 คน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 6 แห่ง
- ครูพี่เลี้ยง จำนวน 16 คน
- เด็ก จำนวน 295 คน
ศาสนาและวัฒนธรรม
- ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99
- วัด จำนวน 6 แห่ง
- ที่พัก สำนักสงฆ์ จำนวน 46 แห่ง
ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม
- ประเพณี ถวายทองเจ้าพ่อพญาแลจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม - 1 มกราคม เป็นงานรวมใจชาวอำเภอภักดีชุมพล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของเจ้าพ่อพญาแล มีพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อ ชาวบ้านจะนำผลผลิตที่ได้จากการเกษตรมาถวายเป็นเครื่องสักการบูชา มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ ของกลุ่มอาชีพ การออกร้านกาชาดของสมาชิกเหล่ากาชาด
- ประเพณีรำโทนของตำบลบ้านเจียง
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงระหว่างวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เชื่อกันว่าเป็นประเพณีที่จัดทำขึ้นเพื่อบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธ์ของถ้ำวัวแดงและขอขมาผู้สูงอายุภายในหมู่บ้าน
ประเพณีบุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ)
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ช่วงเดือนมิถุนายน ของทุกปี ประเพณีบุญเดือนหกตามความเชื่อของชาวอีสานเชื่อกันว่าเป็นการขอฝนให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและเป็นประเพณีที่ถือสืบต่อกันมา
ด้านการท่องเที่ยว
อำเภอภักดีชุมพล มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่
- ถ้ำแก้ว –ถ้ำพระ ตั้งอยู่ในตำบลแหลมทอง
- พุทธอุทยานหินเหิบ-ซับภูทอง ตั้งอยู่ในตำบลแหลมทอง
- ถ้ำวัวแดง ถ้ำแสงจันทร์ น้ำตกคลองสวนหมู น้ำตกคลองไทร ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเจียง
- น้ำตกสายรุ้ง สวนมะขามหวาน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 บ้านซับประสิทธิ์ ตำบลเจาทอง
- น้ำตกผาทอง และถ้ำภูผาทอง ตั้งอยู่ในตำบลวังทอง
- จุดชมวิวเขาพังเหย ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 225 (ถนนสายชัยภูมิ-นครสวรรค์) รอยต่อ ตำบลเจาทอง อำเอภักดีชุมพล กับตำบลโป่งนก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ
นายอำเภอคนปัจจุบันนายสุรศิษฐ์ อินทรกรอุดม