ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 150280
ประวัติอำเภอองครักษ์
เสนอโดย นครนายก วันที่ 12 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย mculture วันที่ 22 มีนาคม 2559
จังหวัด : นครนายก
1 2543
รายละเอียด

ประวัติอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ชื่ออำเภอองครักษ์มีตำนานว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต้นแถบนี้ และได้พักประทับแรม ณ บริเวณริมแม่น้ำนครนายกซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อองครักษ์ในปัจจุบัน ระหว่างประทับแรมอยู่นั้นนายทหารราชองครักษ์ได้ป่วยและเสียชีวิตลง จึงโปรดฯ ให้ตั้งศาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ ต่อมาได้นำมาตั้งเป็นชื่อของอำเภอจึงได้รับการเรียนขานว่าอำเภอองครักษ์

เมื่อประมาณปีพ.ศ. ๒๔๓๒พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรม
ราชานุญาตพิเศษให้แก่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามซึ่งมีหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์เป็นผู้รับมอบ ให้จัดการขุดคลองซอยตัดท้องทุ่งระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำนครนายก โดยให้สิทธิ์แก่บริษัทฯ ในการขายที่ดินทั้งสองฝั่งคลองเพื่อจัดเป็นที่นาได้ บริษัทฯ ได้ขุดคลองสายกลางขึ้นสายหนึ่งจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทะลุแม่น้ำนครนายกพร้อมตัดคลองซอยจากทั้งสองฝั่งคลองสายกลางนี้ โดยได้รับพระราชทานนามว่า "คลองรังสิตประยูรศักดิ์" ประตูน้ำปิด-เปิดด้านแม่น้ำเจ้าพระยาได้พระราชทานนามว่า "ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์" ส่วนประตูน้ำทางด้านแม่น้ำนครนายกนั้นพระราชทานนามว่า "ประตูน้ำเสาวภาผ่องศรี"

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอำเภอองครักษ์ อยู่ในเขตการปกครองของ
เมืองนครนายก มณฑลปราจีนบุรี (จากเอกสารที่ปรากฏ ระบุว่า “ใน พ.ศ.๒๔๔๗ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ เป็นข้าหลวงพิเศษ เสด็จตรวจราชการในเมืองนครนายก ได้รายงานการตรวจราชการครั้งนั้น ซึ่งแสดงถึงการจัดการปกครองเมืองในนครนายกเป็นอย่างดีว่า “การเดินทางจะต้องไปทางคลองรังสฤษดิ์ฯ ผ่านเขตเมืองนครนายก แลเมืองปาจิณ ควรเลยตรวจราชการท้องที่เสียด้วย จะได้เปนทางดำริห์จัดการสะดวกจึงได้เดินทางต่อไป พบหลวงโยธาสงคราม ผู้รั้งราชการเมืองนครนายกมาคอยรับอยู่ที่โรงพักตำรวจภูธรคลองที่ ๑๔ ได้ตกลงว่าจะไปเมืองนครนายกก่อน”ส่วนการตรวจราชการฉภาะท้องที่ เมืองนครนายก แบ่งเขตรเมืองเปน ๔ อำเภอ คือ อำเภอองครักษ์ อำเภอท่าช้าง อำเภอเมือง อำเภอหนองโพ / ที่มา : หนังสือวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดนครนายก ,กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่, พิมพ์ครั้งที่๑ พ.ศ.๒๕๔๔ หน้า๔๐)

อำเภอองครักษ์ เดิมตั้งที่ว่าการที่บ้านบางอ้อ มีนายอำเภอชื่อตาบ

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบการบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๔๗๖ ซึ่งมีตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดแทนผู้ว่าราชการจังหวัด
คณะกรมการจังหวัด สภาจังหวัด เป็นผลให้ยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลไป ส่วนระเบียบการบริหารส่วนภูมิภาคแบ่งเป็น จังหวัด และอำเภอ เท่านั้น

ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ รัฐบาล ได้ออกพระราชบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร เรียกว่า พระราชบัญญัติยุบและรวมการปกครองบางจังหวัด พ.ศ.๒๔๘๕ ให้ยุบและรวมการปกครองจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครนายก จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้ในมาตรา ๔ ได้ระบุถึงจังหวัดนครนายก ความว่า “ให้ยุบจังหวัดนครนายกและให้รวมท้องที่ของจังหวัดที่ยุบเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี เว้นแต่ท้องที่อำเภอบ้านนาให้รวมเข้าไว้ในการปกครองของจังหวัดสระบุรี”ซึ่งการยุบและรวมการปกครองดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จึงทำให้อำเภอองครักษ์ ขึ้นอยู่กับเขตการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี

ต่อมากระทรวงมหาดไทย ได้สอบถามจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระบุรีแล้ว เสนอร่างหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติสถาปนาจังหวัดนครนายก พ.ศ.๒๔๘๕ ว่า การติดต่อดูแลทุกข์สุขของประชาชน และการปกครองราษฎร์ไม่เป็นผลดี ราษฎร์ได้รับความยุ่งยาก มากลำบาก

- ๒ -

พ.ศ. ๒๔๘๙ รัฐบาลได้ยกฐานะเมืองนครนายก ขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งหนึ่งด้วยเหตุผลว่า การยุบจังหวัดก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ การปกครองนั้นเจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง การค้าหรืออุตสาหกรรม ไม่สามารถติดต่อกับจังหวัดได้ เพราะระยะทางไกล ขนส่งไม่สะดวก ในที่สุดรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๔๘๙ โดยระบุ ในมาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติว่า “ให้แยกอำเภอนครนายก อำเภอองครักษ์ และอำเภอปากพลี ออกจากการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี กับให้ยกอำเภอบ้านนาออกจากการปกครองของจังหวัดสระบุรี จัดตั้งเป็นจังหวัดขึ้น เรียกว่า จังหวัดนครนายก

ปัจจุบัน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตั้งอยู่ที่ตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครนายก มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอหนองเสือ(จังหวัดปทุมธานี) และอำเภอบ้านนา

ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอบ้านนาและอำเภอเมืองนครนายก

ทิศใต้ติดต่อกับอำเภอบ้านสร้าง(จังหวัดปราจีนบุรี) และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว(จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ทิศตะวันตกติดต่อกับอำเภอลำลูกกาอำเภอธัญบุรีและอำเภอหนองเสือ (จังหวัดปทุมธานี)

การปกครอง

รายนามและประวัติผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอองครักษ์

ลำดับที่

ชื่อ - สกุล

ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่

ถึง

๑.

นายตาบ

๒.

หลวงเจนประจำกิจ

๑ เมษายน ๒๔๔๘

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๕๑

๓.

พระวุฒิภาคภัคดี

๑๔ กรกฎาคม ๒๔๕๑

๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒

๔.

ขุนเกษตรวิลัยรัฐ

๑๐ สิงหาคม ๒๔๕๒

๑ เมษายน ๒๔๕๓

๕.

พระบริษัทสิทธิเดช

๗ เมษายน ๒๔๕๓

๑๐ มิถุนายน ๒๔๕๕

๖.

หลวงชลัมพิสารักษ์

๑๖ มิถุนายน ๒๔๕๕

๒๙ ตุลาคม ๒๔๕๗

๗.

พระเกษตรสรรพกิจ

๑๔ มิถุนายน ๒๔๕๗

๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๖

๘.

หลวงศรีคณาภิบาล

๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๖

๒๑ เมษายน ๒๔๖๙

๙.

ขุนอุทัยทิศพิทักษ์

๒๒ เมษายน ๒๔๖๙

๒๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๑

๑๐.

หลวงพิเศษ สารภูมิ

๒๙ มกราคม ๒๔๗๒

๒๕ สิงหาคม ๒๔๗๓

๑๑.

หลวงบัญชา พิชิตราษฎร์

๓ กันยายน ๒๓๗๓

๓๑ มีนาคม ๒๔๗๖

๑๒

หลวงสนิท อนุรักษ์

๓๑ มีนาคม ๒๔๗๖

๓ พฤษภาคม ๒๔๘๒

๑๓.

นายนวน มีชำนาญ

๙ พฤษภาคม ๒๔๘๒

๑๕ ธันวาคม ๒๔๘๒

๑๔.

ขุนเกษม ประศาสตร์

๑๙ ธันวาคม ๒๔๘๒

๒๔ มกราคม ๒๔๘๗

๑๕.

นายรัตน์ โอสทานนท์

๑๕ มีนาคม ๒๔๘๗

๒๓ เมษายน ๒๔๙๐

๑๖.

นายวิจิตร อินทรตุล

๑๘ พฤษภาคม ๒๔๙๐

๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๔

ลำดับที่

ชื่อ - สกุล

ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง

ตั้งแต่

ถึง

๑๗.

นายเนิน มิลินทานุช

๒๒ พฤษภาคม ๒๔๙๔

๘ ธันวาคม ๒๔๙๕

๑๘.

นายโกษิต สุคนธชาติ

๘ ธันวาคม ๒๔๙๕

๒๑ มีนาคม ๒๔๙๖

๑๙.

นายวรจันทร์ อินทรกฤษณ์

๓๑ มีนาคม ๒๔๙๖

๑๐ มีนาคม ๒๔๙๗

๒๐.

นายขำ ทูลศิริ

๒๘ พฤษภาคม ๒๔๙๗

๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑

๒๑.

นายพิเชฎฐ์ ฤดีชื่น

๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๑

๓ กรกฎาคม ๒๕๐๙

๒๒.

นายโอภาส พลศิลป

๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙

๖ พฤศจิกายน ๒๕๑๒

๒๓.

นายจำรัส พรรังสฤษฏ์

๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๒

๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๖

๒๔.

นายอมร อนันตชัย

๑๗ กรกฎาคม ๒๕๑๖

๑๐ มกราคม ๒๕๑๙

๒๕.

นายสุนทร อวยพร

๑๘ มกราคม ๒๕๑๙

๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๒

๒๖.

เรืออากาศตรีเอื้อน ภาระบุญ

๑ ธันวาคม ๒๕๒๒

๒๖ ตุลาคม ๒๕๒๕

๒๗.

นายสมคิด ซื่อวาจา

๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๕

๓๐ กันยายน ๒๕๒๘

๒๘.

นายสุวิช อุยยานนท์

๗ ตุลาคม ๒๕๒๘

๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๑

๒๙.

นายพรหมกฤษณุศ ภาตะนันท์

๑๗ ตุลาคม ๒๕๓๑

๒ ธันวาคม ๒๕๓๓

๓๐.

นายธีระพันธ์ สมานวรวงศ์

๓ ธันวาคม ๒๕๓๓

๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๕

๓๑.

นายสมบูรณ์ศักดิ์ ปริยานนท์

๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๕

๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๘

๓๒.

นายปัทมศักดิ์ อัศวานุวัตร

๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๘

๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๙

๓๓.

นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน

๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๙

๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

๓๔.

นายคำรณ ปริยานนท์

๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

๓๐ กันยายน ๒๕๔๒

๓๕.

นายนภดล พุทธการัตน์

๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

๓๖.

นายนิพนธ์ สกลวารี

๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๕

๕ ตุลาคม ๒๕๔๖

๓๗.

นายจิตตวีร์ ภูมิวุฒิสาร

๖ ตุลาคม ๒๕๔๖

๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔

๓๘.

นายสะอาด สิงห์งาม

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔

๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

๓๙.

นายจำเริญ สวนทอง

๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๔

๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕

๔๐.

นายรณรงค์ นครจินดา

๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕

ปัจจุบัน

แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๑๑ตำบล๑๑๖หมู่บ้านได้แก่

ที่

ตำบล

จำนวนหมู่บ้าน

พระอาจารย์

๑๓ หมู่บ้าน

๒.

บึงศาล

๙ หมู่บ้าน

๓.

ศีรษะกระบือ

๑๓ หมู่บ้าน

๔.

โพธิ์แทน

๙ หมู่บ้าน

๕.

บางสมบูรณ์

๑๓ หมู่บ้าน

๖.

ทรายมูล

๑๑ หมู่บ้าน

๗.

บางปลากด

๑๑ หมู่บ้าน

๘.

บางลูกเสือ

๑๒ หมู่บ้าน

๙.

องครักษ์

๗ หมู่บ้าน

๑๐.

ชุมพล

๘ หมู่บ้าน

๑๑.

คลองใหญ่

๑๐ หมู่บ้าน

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ที่ว่าการอำเภอองครักษ์
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล องค์รักษ์ อำเภอ องครักษ์ จังหวัด นครนายก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครนายก
บุคคลอ้างอิง คุณกนกกาญน์ ลอยพงศ์ศรี
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก
เลขที่ ศาลากลางจั ถนน สุวรรณศร
ตำบล ท่าช้าง อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
โทรศัพท์ 037-315050
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่