"ขันโตก" ขันโตกใส่สำรับอาหาร" :ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า " ภาชนะทำด้วยไม้กลึง ลักษณะคล้ายถาดกลมมีขาเป็นซี่ ๆ ตั้งขึ้นมาแต่เชิง ไว้ใส่สำรับอาหาร" ขันโตก หรือ โตก ภาชนะสำหรับวางสำรับอาหารของชาวล้านนาบ้างเรียก สะโตก มีรูปทรงกลม มีความกว้างมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ขึ้นไป มีเชิงสูงประมาณ 1 ฟุต มีทั้งขันโตกไม้และขันโตกหวาย ลักษณะประเพณีการเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีของชาวเหนือ ที่นิยม ปฎิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณ การเลี้ยงแขกโดยการกินข้าวขันโตก ซึ่งอาจมีหลายชื่อที่เรียกขานเช่น กิ๋นข้าวแลงขันโตก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ประเพณี"ขันโตก"หรือ"สะโตก"
ลักษณะของขันโตก :เป็นภาชนะสำหรับวางรองสำรับอาหาร มีความกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง ตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ขึ้นไป มีเชิงสูงประมาณ 1 ฟุต มีทั้งขันโตกไม้และขันโตกหวาย ตัวโครงขันโตกทำจากหวายและที่วางสำรับอาหารใช้เส้นหวายเรียงกันลักษณะถาดวงกลม และมีขอบของถาดขันโตกยกขึ้นมาพอประมาณป้องกันสำรับอาหารไหลตกลงพื้น
วัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบ :ทำจากหวายหรือไม้่,ตะปู,ค้อน
แหล่งที่มาของขันโตก :เก็บไว้ที่โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน วัดศรีสว่าง บ้านสี่แยกโนนหัวนา หมู่ที่ 4 ตำบลนาจาน อำเภอสีชมพู จังหวัด ขอนแก่น