ประวัติความเป็นมา(เช่น ประวัติ,ความหมาย,คำจำกัดความ,หลักแหล่งดั้งเดิม,ขนบธรรมเนียมประเพณี,การประกอบอาชีพ) ชาวมอญนครนายก เหมือนกับชาวไทยในเขตภาคกลางโดยทั่วไปซึ่งมีความเชื่อที่ผสมกลมกลืนกันระหว่างการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ “การนับถือผี”กับพุทธศาสนา อย่างไรก็ตามชาวมอญนครนายกแตกต่างจาก “พวกมอญใหม่” ซึ่งอพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่ยังสามารถดำรงและสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของตน เช่น การพูดภาษามอญ รับประทานอาหาร หรือแต่งกายแบบมอญ ฯลฯ เอาไว้ได้ระดับหนึ่ง เนื่องจากชาวมอญนครนายกได้ผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับชาวไทยกลุ่มอื่นๆ จนยากที่จะแยกออก เอกลักษณ์ซึ่งสามารถชี้ความแตกต่างระหว่างชาวมอญกับผู้คนกลุ่มอื่นๆ คือ การนับถือผีบรรพบุรุษมอญหรือ “ผีมอญ” ซึ่งชาวมอญนครนายกยังคงสืบทอดอยู่
ความสำคัญ (ที่มีต่อการพัฒนาการทางวัฒนธรรม) เพื่อ
๑. การเลี้ยงผีประจำคุ้มบ้านตลอดจนผีที่ปกป้องคุ้มครองอาณาบริเวณแถบนั้นทั้งหมดหรือการรำผีโรง
๒.การเลี้ยงผีบรรพบุรุษหรือผีประจำตระกูล
๓. การเลี้ยงผีหลังจากที่สมประสงค์ตามที่บนบานไว้
รูปแบบความเชื่อ(ลักษณะการแสดงออก,เสื้อผ้าการแต่งกาย,เครื่องมือเครื่องใช้) การรำผีประกอบด้วยการรำชุดต่างๆ จำนวน ๑๕ ชุด เช่น รำดาบ รำกริช รำผีช้าง ผีม้า ผีควาย ฯลฯ เมื่อผีเข้า ผีแต่ละผีจะแต่งกายแตกต่างกันไป[1]แต่โดยทั่วไปจะแต่งกายแบบมอญคือ นุ่งผ้าโจงกระเบน มีผ้าแถบคล้องคอ เมื่อผีจะเข้า ร่างทรงจะโหนผ้าขาวม้าเพื่อให้ผีเข้า และรำตามจังหวะดนตรีที่บรรเลง ซึ่งขณะรำร่างทรงจะดื่มเหล้า รับประทานเครื่องเซ่น (ดื่มเหล้าเป็นส่วนใหญ่ รับประทานเครื่องเซ่นเพียงเล็กน้อย) และพูดคุยกับลูกหลาน[2]ในการเข้าประทับทรง ผีอาจจะเข้าทีละผีหรือเข้าพร้อมกันหลายๆ ผีก็ได้ ผีจะรำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้รำล้มลงกับพื้นแสดงว่าผีออกจากร่างทรงแล้ว
โอกาส ฤดูกาล ช่วงเวลาที่จัด เป็นพิธีกรรมสำคัญของชาวมอญ เฉพาะในเขตตำบลบ้านนา จังหวัด
นครนายก จัดขึ้นหลังเสร็จสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวจนกระทั่งก่อนเข้าพรรษา ไม่ประกอบพิธีในวันพระ