ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 41' 50.1187"
18.6972552
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 6' 13.0108"
99.1036141
เลขที่ : 153705
วิหารแฝด วัดบวกค้าง สันกำแพง
เสนอโดย phan วันที่ 28 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 12 กันยายน 2565
จังหวัด : เชียงใหม่
0 737
รายละเอียด

สร้างในสมัย เจ้ากระหม่อมสุริยะวงศ์ศา เจ้าเมืองยอง องค์ที่ 34 ที่พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้เทครัวลงมาตั้งถิ่นฐานที่วัดบวกค้าง ยุคสมัย “เก็บผัดใส่ส้า เก็บข้าใส่เมือง” ได้สร้างวิหารที่มีลักษณะพิเศษ คือมีหลังคาแฝดขึ้น เมือพ.ศ. 2410 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ครอบ พระนอนหล้า และกระเจดีกู่ดำ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ยุคสมัยพระยามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่

วัดบวกค้าง เดิมชื่อวัดบวกค่าง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 125 หมู่ที่ 1 ตำบลบวกค้าง สร้างขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 1912 - 1914 ในสมัยพระเจ้ากือนาเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ทรงอาราธนาพระมหาสุมณเถระจากกรุงสุโขทัยและพระเถระชาวรามัญอีก 10 รูป เข้ามาเผยแพร่ พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ โดยตั้งสำนักครั้งแรกที่วัดพระยืน (จ.ลำพูน) ทำการบรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวล้านนาและสร้างวัดตามชุมชนต่างๆเรื่อยมาจนถึงชุมชนบ้านบวกค่าง ได้สร้างวัดตรงที่ฝูงค่างมาขุดบวก(สระน้ำ)ไว้ จึงได้ชื่อว่า “วัดบวกค่าง” เป็นวัดเก่าแก่ มีวัตถุโบราณ เช่น บ่อด่าง พระนอนหล้า พระธาตุกู่ดำและเครื่องแห่ธรรม ตั้งอยู่บ้านหมู่ที่ 2ตำบลบวกค้าง ห่างจากอำเภอสันกำแพงประมาณ 5 กิโลเมตร

บ้านบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรกว่าครึ่งมีเชื้อสายยอง ที่มีภาษาพูดและวัฒนธรรมประเพณีบางอย่างเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

โทรศัพท์ 053- 446896

คำสำคัญ
วิหารแฝด
สถานที่ตั้ง
วัดบวกค้าง
เลขที่ 125 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ซอย - ถนน -
ตำบล บวกค้าง อำเภอ สันกำแพง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดบวกค้าง
บุคคลอ้างอิง phan chenutdarin อีเมล์ suphan_thong@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน culture office sankamphaeng
ตำบล บวกค้าง อำเภอ สันกำแพง จังหวัด เชียงใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่