ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 48' 56.9999"
15.8158333
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 35' 55"
102.5986111
เลขที่ : 153936
ต้นรัก
เสนอโดย suwanna_ood วันที่ 29 สิงหาคม 2555
อนุมัติโดย วันที่ 2 กันยายน 2555
จังหวัด : ขอนแก่น
1 226
รายละเอียด

ต้นรัก(ชื่อวิทยาศาสตร์:Calotropis gigantea(Linn.) R.Br.ex Ait.) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์Apocynaceaeวงศ์ย่อยAsclepiadoideaeลำต้นสูง 1.5 – 3 เมตรดอกมีสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ เป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซียมาเลเซียฟิลิปปินส์ไทยศรีลังกาอินเดียและจีนดอกของพืชชนิดนี้เรียกว่าดอกรัก

สรรพคุณ
1. ดอก รักษาอาการไอ หอบหืด และหวัด ช่วยให้เจริญอาหาร
2. เปลือกและราก ใช้รักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลืองเสีย และทำให้อาเจียน
3. ยาง ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายสามารถอาการปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อน และใช้เป็นยาขับเลือด

ประเพณีและความเชื่อ

ดอกรักที่ร้อยเป็นมาลัย ในประเทศไทยนิยมนำดอกรักมาร้อยเป็นมาลัยร่วมกับดอกมะลิดาวเรืองจำปาหรือกุหลาบใช้ในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับความรักเพราะดอกรักสื่อความหมายถึงความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน ส่วนชาวฮาวายถือว่ามาลัยดอกรักที่ทำเป็นสร้อยคอ (lei) คือสัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์ตามประเพณีไทย มักจะใช้ดอกรักร่วมกับดอกไม้อื่นที่มีความหมายเป็นมงคลในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน เป็นต้น

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 1/69 หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ศุภสิทธิ์อุทิศ
ตำบล เมืองพล อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
th.wikipedia.org/wiki/รัก
บุคคลอ้างอิง สุวรรณา มานิตย์ศิริกุล อีเมล์ thiraphat2546@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วธ.อำเภอพล
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน พลรัตน์
ตำบล เมืองพล อำเภอ พล จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40120
โทรศัพท์ 081 - 8719462
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่